บทความ, สาระน่ารู้

กฎหมายและนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างประเทศและข้อเสนอในการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551

บทความ-กฎหมายแอลตปท.-กันยา-2564ไพศาล-จุมพล

รายงานวิจัย, สื่อเผยแพร่

รายงานวิจัย โครงการศึกษากฎหมายและนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างประเทศเพื่อเสนอแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551”

รายงาน-final-สั่งพิมพ์

Infographic, News, ข่าวเด่น, สื่อเผยแพร่

ผลการสำรวจการรับรู้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่: กรณีศึกษาประชาชนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 15 จังหวัด (ครั้งที่ 1)

InfoGraphic_Alcohol-Control-Act

รายงานวิจัย, สื่อเผยแพร่

รายงานวิจัย การสำรวจการรับรู้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่: กรณีศึกษาประชาชนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 15 จังหวัด (ครั้งที่ 1)

Final-Report_Alcohol-Control-Act_1

Infographic, สื่อเผยแพร่

โครงการพัฒนาโปรแกรมออนไลน์เพื่อกำกับและติดตามผลการจัดการเรื่องร้องเรียนตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ของพื้นที่ในเขตสุขภาพที่ 5

Info

รายงานวิจัย, สื่อเผยแพร่

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาโปรแกรมออนไลน์เพื่อกำกับและติดตามผลการจัดการเรื่องร้องเรียนตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ของพื้นที่ในเขตสุขภาพที่ 5

รายงานฉบับสมบูรณ์-นรา

Fact Sheets, News, ข่าวเด่น, สาระที่น่าสนใจ, สาระน่ารู้, สื่อเผยแพร่

เอกสารข้อเท็จจริง เรื่อง ประสิทธิผลของมาตรการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551

เอกสารข้อเท็จจริง-fact-sheetOrange-Print-final

News, ข่าวเด่น, บทความ, สาระน่ารู้, เลือกโดยบรรณาธิการ

ทำไมจึงต้องมี “พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”

ทำไมจึงต้องมี “พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”

ตอบ เพราะ “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ใช่สินค้าธรรมดา” เนื่องด้วยเป็นสารที่มีฤทธิ์อันตรายอยู่ ๓ ประการด้วยกัน คือ

๑) เป็นสารพิษ สารก่อมะเร็ง และสารที่ก่อให้เกิดความพิการทั้งทางร่างกายและสมองในเด็กที่อยู่ในครรภ์มารดา

๒) เป็นสารที่ออกฤทธิ์กดประสาททำให้ขาดสติสัมปชัญญะและความยับยั้งชั่งใจ จึงก่ออาชญากรรมและความรุนแรงต่างๆ ได้ง่าย

๓) เป็นสารเสพติดหรือยาเสพติดประเภทหนึ่งนั่นเอง ที่แม้ฤทธิ์เสพติดอาจไม่รุนแรงเท่าเฮโรอีนแต่เนื่องจากเป็นสารเสพติดที่ถูกกฎหมายจึงมีผู้ใช้จำนวนมากส่งผลให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางมากกว่าผลกระทบจากยาเสพติดทุกตัวรวมกันเป็นร้อยเป็นพันเท่า (คล้ายกับโรคอีโบลาเป็นเฮโรอีน​ กับโรคโควิด-19 เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์)

จากสถิติทางสาธารณสุขของไทยเรา พบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของการสูญเสียคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยอันดับต้นๆ และมีแนวโน้มที่จะคุกคามคุณภาพชีวิตของคนไทยรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อลดภาวะคุกคามนี้

จากการศึกษาทั่วโลกพบว่าการที่จะหยุดยั้งภัยคุกคามนี้ที่มีประสิทธิภาพสูง ต้องใช้สามมาตรการดังต่อไปนี้

๑) การจำกัดการเข้าถึงทางกายภาพ (สถานที่/ วันเวลา/ บุคคล)

๒) การจำกัดการเข้าถึงทางเศรษฐศาสตร์ (ภาษี)

๓) การจำกัดการเข้าถึงทางใจ คือ การไม่ให้มีการโฆษณาสื่อสารการตลาด

ซึ่งจากรายงานวิจัยพบว่าไม่อาจจะทำเพียงมาตรการใดมาตรการหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้ แต่ต้องดำเนินการทุกมาตรการไปพร้อมๆ กัน จึงจะได้ผล แต่อย่างไรก็ดีมาตรการห้ามการโฆษณานี้สำคัญมากเพราะถ้าไม่ดำเนินการห้ามโฆษณาหรือปล่อยให้มีการสื่อสารการตลาดเชิญชวนเชิญเชื่อได้อิสระแล้ว มาตรการอื่นๆ แม้จะทำเต็มที่แล้วก็จะไม่ได้ผลสำเร็จ

จะเห็นได้ว่ามาตรการที่มีประสิทธิภาพเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของคนส่วนหนึ่งบ้าง เพื่อประโยชน์ของมหาชนส่วนรวม จึงมีความจำเป็นต้องตราออกมาเป็นกฎหมายนี้ขึ้น​มา

สำหรับประเด็นที่ขัดรัฐธรรมนูญนั้น ไม่เป็นการขัดรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน เพราะ

๑) กฎหมายฉบับนี้ร่างโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีศาสตราจารย์ทางกฎหมายมหาชน และกฎหมายอาญาระดับแนวหน้าของประเทศร่วมร่างอยู่ด้วย

๒) ร่างกฎหมายนี้ได้ผ่านการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนจากคณะกรรมการกฤษฎีกา

๓) ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้อย่างชัดเจนว่ามิได้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

๔) สำหรับกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ได้จำกัดสิทธิของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ขาย และผู้สูบบุหรี่ไว้มากกว่าที่กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้จำกัดไว้อย่างมาก

จึงขอย้ำว่ากฎหมายนี้ (พรบ​.ควบคุม​เครื่อง​ดื่มแอลกอฮ​อล์)​ ไม่ได้ขัดกับรัฐธรรมนูญ​และหลักสิทธิมนุษยชน​สากลแต่อย่างใด​ ตรงกันข้าม​กลับตรงตามเจตนารมณ์หรือจิตวิญญาณ​ที่แท้จริงอย่างเคร่งครัด​ ดังนี้​

๑) ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และช่วยสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน โดยให้ตระหนักถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งกำหนดมาตรการในการป้องกันเด็กและเยาวชนมิให้เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓๒ เป็นมาตรการหนึ่งในการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้กระทำได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ด้วยเหตุที่อิทธิพลจากการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน แม้ว่าการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะมีผลกระทบต่อการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ประกอบอาชีพดังกล่าว ซึ่งหากฝ่าฝืน มีความผิดและมีโทษทางอาญาอันเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพ อยู่บางส่วนก็ตาม แต่ก็เป็นการจำกัดเสรีภาพภายในขอบเขตตามที่รัฐธรรมนูญ ซึ่งให้อำนาจกระทำได้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นการจัดระเบียบการประกอบอาชีพ และเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค และบทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่จำกัดเสรีภาพเพียงเท่าที่จำเป็น เนื่องจากมิได้ห้ามการโฆษณาโดยเด็ดขาด หากการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์ย่อมสามารถกระทำได้ มิได้กระทบกระเทือน ต่อสาระสำคัญแห่งเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพของบุคคลแต่อย่างใด โดยมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปกับบุคคลที่ขายสินค้าประเภทนั้น และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง อันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ

๒) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนประกอบด้วยข้อความ ๓๐ ข้อ โดยขอยกเพียงสามข้อแรก ก็สนับสนุนกฎหมายนี้อย่างชัดเจน ข้อ ๑ ทุกคนมีศักดิ์ศรี สิทธิ และเสรีภาพเท่าเทียมกัน และต้องปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง ซึ่งถ้าเรามองประชาชนคนไทยเป็นพี่น้องของเรา คงจะไม่โฆษณาเชิญชวนให้ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นสารพิษ สารก่อมะเร็ง สารเสพติด มาดื่มอย่างแน่นอนใช่ไหม? ข้อ ๒ ทุกคนมีสิทธิ และเสรีภาพ อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ซึ่งจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็ชัดเจนแล้วว่ากฎหมายนี้มิได้มีการมุ่งหมายให้ใช้บังคับกับกรณีใดกรณีหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง คือมิได้มีการเลือกปฏิบัตินั่นเอง และ ข้อ ๓ ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิตอยู่ และมีความมั่นคง อันยิ่งชัดเจนว่าการโฆษณาส่งเสริมการขายสารทำลายสุขภาพและชีวิตแบบนี้ย่อมขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนอย่างชัดแจ้ง

1 2
Privacy Settings
We use cookies to enhance your experience while using our website. If you are using our Services via a browser you can restrict, block or remove cookies through your web browser settings. We also use content and scripts from third parties that may use tracking technologies. You can selectively provide your consent below to allow such third party embeds. For complete information about the cookies we use, data we collect and how we process them, please check our Privacy Policy
Youtube
Consent to display content from - Youtube
Vimeo
Consent to display content from - Vimeo
Google Maps
Consent to display content from - Google
Spotify
Consent to display content from - Spotify
Sound Cloud
Consent to display content from - Sound

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors