News, ข่าวเด่น, บทความ

ไหวไหมประเทศไทย กับการเปิดผับบาร์ถึงตี 4 !?


ไหวไหมประเทศไทย กับการเปิดผับบาร์ถึงตี 4 ⁉️

ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ
นักวิชาการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา
อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

_____
เช้านี้ดูข่าวที่น่าหดหู่ใจ กับการเสียชีวิตของหนุ่มนักเที่ยวคนหนึ่ง ที่จังหวัดภูเก็ต เหตุเกิดในช่วงเวลา ตี 4 พอดีเป๊ะ ผู้เสียชีวิตที่เมาหมดสตินอนกลิ้งบนถนน และถูกรถยนต์ที่ขับด้วยความเร็วชนจนเสียชีวิต ทั้ง ๆ ที่รอบข้างนั้นมีเพื่อน ๆ รายล้อมอยู่หลายคน

การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรไม่ว่าด้วยสาเหตุใดล้วนเป็นเรื่องน่าเสียใจ ยิ่งกรณีเช่นนี้ที่มีเพื่อนอยู่ในเหตุการณ์หลายคนคงน่าสะเทือนมากยิ่งขึ้น

การขยายเวลาปิดสถานบันเทิงในไทย ทำให้นักเที่ยวดื่มได้มากขึ้น มีโอกาสเมาเพิ่มขึ้น ยิ่งดึกร่างกายยิ่งเหนื่อยล้า บวกกับฤทธิ์แอลกอฮอล์ โอกาสของอุบัติเหตุและเหตุไม่คาดฝันเพิ่มขึ้นเสมอ ตัวเลขจากการวิจัยในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น ประเทศออสเตรเลีย ไอซ์แลนด์ แคนาดา นอร์เวย์ และเนเธอแลนด์ ล้วนไปในทางเดียวกันว่าการผ่อนคลายให้มีการเพิ่มเวลาในการดื่มแบบนั่งดื่มที่ร้าน มีผลเสียด้านอุบัติเหตุ ความรุนแรง อาชญากรรม เพิ่มขึ้น ไม่รู้ว่าส่วนที่ได้มานั้นคุ้มค่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือไม่

อย่างกรณีที่เอามาเล่าประกอบข่าวนั้น คนขับรถที่ขับรถมาอย่างถูกต้องอย่างน้อยก็ต้องเป็นผู้เสียหาย ในฐานะที่ขับรถชนผู้เสียชีวิตที่เมาหมดสติกลางถนนไปแล้ว เหล้าที่เข้าปากคนหนึ่งคนจึงส่งผลกระทบทั้งต่อคนที่ดื่มและไม่ดื่ม

ถ้าสถานการณ์กลับกัน เป็นคนดื่มเหล้าจนเมามายหมดสติเป็นคนขับรถเสียเอง และไล่ชนชาวบ้านชาวช่องที่ทำมาหากินสุจริตในช่วงเช้าของวัน เรื่องน่าเศร้าจะเศร้าแบบทวีคูณเลยครับ อย่าปล่อยให้ถึงขั้นนั้นเลย สำรวจความพร้อมของบ้านเมืองก่อนได้ไหม ก่อนจะปล่อยให้ผับเปิดถึงตีสี่ทั่วประเทศ


News, ข่าวเด่น, บทความ

นักวิชาการต่างประเทศชี้ ยิ่งลดระดับความเข้มข้นของ กม. เสี่ยงดื่มเพิ่ม เจ็บตายเพิ่ม สูญเสียทางเศรษฐกิจเพิ่ม แนะ!! ไทยควรมีกฎในการปกป้องผู้เยาว์ และกลุ่มเปราะบาง




นักวิชาการต่างประเทศชี้ ยิ่งลดระดับความเข้มข้นของ กม. เสี่ยงดื่มเพิ่ม เจ็บตายเพิ่ม สูญเสียทางเศรษฐกิจเพิ่ม แนะ‼️ ไทยควรมีกฎในการปกป้องผู้เยาว์ และกลุ่มเปราะบาง

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ Professor Jϋrgen Rehm ที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลกด้านแอลกอฮอล์ นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยนโยบายสุขภาพจิต มหาวิทยาลัยโตรอนโต ประเทศแคนาดา ให้สัมภาษณ์กับศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) ในกรณีที่ว่า “จะเกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย หากลดการควบคุมการตลาดและการขายแอลกอฮอล์?”

Professor Jϋrgen กล่าวว่า ผมขออ้างถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล ได้แก่ Angus Deaton ที่ศึกษาว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้สังคมมีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร ซึ่งเป็นการศึกษาในอังกฤษและในยุโรป และในหนังสือเล่มนี้มีข้อความในหน้าหนึ่ง เขียนว่า “เหตุผลหนึ่งที่สหภาพโซเวียตล่มสลายเพราะขาดการควบคุมแอลกอฮอล์ ทำให้เศรษฐกิจชะลอการเติบโต และลดประโยชน์ที่สังคมพึงได้รับจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ” สิ่งที่กล่าวถึงนี้ค่อนข้างสุดโต่ง เพราะว่าตอนที่ Deaton ศึกษาและเขียนหนังสือเล่มนั้น สหภาพโซเวียตมีระดับการบริโภคแอลกอฮอล์ค่อนข้างสูง และเป็นประเทศที่มีอัตราโรคติดสุราสูงที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง แต่ในอีกแง่หนึ่ง การไม่ควบคุมแอลกอฮอล์ก็เป็นเรื่องสุดโต่งเช่นกัน นั่นแปลว่า เราจำเป็นต้องมีการควบคุมแอลกอฮอล์บ้าง ไม่มีประเทศใดในโลกไม่เก็บภาษีแอลกอฮอล์ และมีแค่ไม่กี่ประเทศในโลกที่ไม่มีการจำกัดอายุผู้ซื้อแอลกอฮอล์ หรือให้เด็กอายุ 10 ขวบสามารถดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยเสรีเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นผมคิดว่า การควบคุมในตอนนี้ของประเทศไทยก็ไม่ได้เป็นการควบคุมที่เข้มงวดจนกลายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ในทางกลับกันการลดระดับความเข้มงวดของการควบคุมแอลกอฮอล์ในประเทศไทย จะยิ่งเสี่ยงต่อการที่ประชาชนบริโภคแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น และนำไปสู่การเสียชีวิต เจ็บป่วย ภาระโรคเพิ่มขึ้น รวมถึงคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่จะส่งผลกระทบตามมา และส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจจากการสูญเสียอำนาจการผลิต การมีกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เป็นการปกป้องประชาชน และการปกป้องประชาชนที่เกี่ยวกับแอลกอฮอล์นั้นมีพื้นฐานทางชีววิทยา เนื่องจากสมองมนุษย์จะไม่หยุดมีพัฒนาการจนกว่าจะอายุเกิน 20 ปี และสมองนั้นมีโอกาสได้รับผลกระทบจากแอลกอฮอล์ค่อนข้างมากในช่วงที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ดังนั้น ประเด็นหลักคือ ประเทศควรมีกฎ และควรมีการปกป้องผู้เยาว์ และปกป้องประชากรกลุ่มเปราะบาง นี่คือหน้าที่ของสังคม Professor Jϋrgen กล่าว

News, ข่าวเด่น, บทความ, สาระน่ารู้

บทความวิชาการ เรื่อง แนวโน้มสถานการณ์การเจ็บป่วยและเสียชีวิต อันมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยปี 2558-2562

News, ข่าวเด่น, บทความ

เมื่อรัฐบาล จะลดภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์!?


“ความวัว” ยังไม่ทันจะจางหายไป แล้ว “ความควาย” กำลังจะเข้ามาทับถม เริ่มจากรัฐบาลปัจจุบัน ได้ประกาศปลดล็อค ให้สถานบริการในโรงแรม และนอกโรงแรมของ 5 พื้นที่นำร่อง สามารถขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้ถึงเวลาตี 4 แล้วถัดมาไม่กี่วัน กรมสรรพสามิตเผยว่าอยู่ในระหว่างปรับโครงสร้างภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มีความเหมาะสม เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ จึงเสนอให้รัฐบาลลดภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเน้นการลดภาษีไวน์ และสุราชุมชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวให้กระจายทั่วไทย

ในทางวิชาการนั้น หลักการเก็บภาษีจากผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็น “ทำนบกั้น” มิให้ปัญหา ต่าง ๆ ลุกลาม ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกประเทศล้วนต้องจำกัดปัญหาต่อสังคมจากการขายและการดื่ม ถ้ารัฐบาลจะลดทำนบนั้นลง โดยลดภาษีให้แก่ผู้ผลิต ประชาชนเราทั่วไป เดาได้ไม่ยากเลยว่า ราคาขายปลีก ย่อมลดลง แล้วผลลัพธ์อันไม่พึงประสงค์จะมีตามมา อย่างไรบ้าง

ผลการศึกษาในต่างประเทศ เช่น ฟินแลนด์ กับ เดนมาร์ก ภายหลังปรับลดภาษีเหล้า เบียร์ ไวน์ 45% ปรากฏว่า ราคาขายได้ลดลงไป 25% คนในประเทศฟินแลนด์ มีการดื่มเพิ่มขึ้น 10% เพราะราคาขายปลีกถูกลง ส่วนคนในประเทศเดนมาร์ก มีการดื่มเท่าเดิม ซึ่งดูเหมือนว่า จะมีการอิ่มตัวของการบริโภคในเดนมาร์ก แต่ถ้าเราตีความจากผลการศึกษาในเดนมาร์ก ให้พึงนึกถึงบริบทวัฒนธรรมการกินดื่มในยุโรปหลายประเทศนั้น ต่างจากในไทยเราอย่างสิ้นเชิง

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในรอบ 4 ปีมานี้ พบว่า คนไทยมีผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 30% อีก 70% ไม่ได้ดื่ม คือ อาจเคยดื่มและเลิกแล้ว หรือไม่ดื่มเลย ที่น่าสนใจคือ ไทยเรามีนักดื่มหน้าใหม่ ที่อายุ 15 ปีขึ้นไปมากขึ้น อย่างในปี 2564 มีราว ๆ 1.4 ล้านคน ที่น่าตกใจกว่านั้น วัยรุ่นหญิงที่ดื่มในปัจจุบัน มีจำนวนเพิ่มขึ้น

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นเป็นสิ่งที่ผู้ซื้อ ไม่ได้สนใจราคามาก คือ ยามต้องการจะดื่ม แม้ราคาสูงขึ้น ก็ยินดีซื้อกินดื่ม แล้วถ้ายิ่งรัฐบาลจะลดภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยแล้ว ราคาขายปลีกจะถูกลง ย่อมมีผลจูงใจผู้ซื้ออย่างเยาวชน และผู้มีรายได้น้อย ให้ซื้อดื่มมากขึ้นไปอีก

ทำไมรัฐจึงไม่ห่วงใยสุขภาพและความปลอดภัยแก่สาธารณชนโดยรวมเลย แล้วไทยเรายังมีกรอบใหญ่อีกอันรออยู่ คือ กลุ่มประเทศยุโรป (EU) กำลังขอเจรจาเปิดเสรีการค้ากับไทย ซึ่งถ้าผลการเจรจาตกลงแล้วเสร็จ โดยไม่มีการยกเว้นสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ออกจากกรอบข้อตกลงการค้าเสรี สินค้าผ่านแดนเข้า-ออก ระหว่างไทยกับยุโรป อัตราภาษีจะเป็น 0% หรือ บางรายการเก็บในอัตราที่ต่ำมากในอนาคต รวมถึงไวน์กับเหล้า ที่รอหลากทะลัก เข้ามายังไทยอีกมากมาย

ที่น่ากังวลในทางสาธารณสุข คือ สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจมีผู้ท้วงว่า การลดภาษีลง ราคาขายปลีกลดลง แล้วถ้าไม่ได้มีอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น ก็จะไม่เป็นปัญหาอันใด ซึ่งก็จริง แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นเล่า ผลจะเป็นอย่างไร ไทยเรามีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ปีละ 2 หมื่นคน แล้ว 1 ในสาเหตุนั้น เกิดจากการเมาแล้วขับ มีคนตายประมาณ 1,000–2,000 คน และได้รับบาดเจ็บอีกหลายพันคนต่อปี แล้วยังต้องสูญเสียทรัพย์สิน และสร้างภาระต่อเนื่องไปยังสมาชิกครอบครัวผู้อยู่ข้างหลังในระยะยาว

ดูผิวเผิน รัฐบาลมีเจตนาต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มการจ้างงานและรายได้ ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์นั้น มีอยู่หลายวิธี แต่ครั้นดูจากรายงานข่าว น่าประหลาดที่รัฐบาลจะเลือกวิธีกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวกินดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยมากขึ้น และ แน่นอนว่าคนไทยเราเอง ย่อมดื่มเพิ่มขึ้นด้วย เพราะราคาถูกลง แล้วเช่นนั้น สังคมไทยจะต้องแลกอะไรบ้างกับนโยบายนี้ อย่างแรก รัฐจะเสียรายได้บางส่วนอันควรได้จากภาษี ต่อมา ถ้ามีผู้มึนเมาแล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น มีผู้ได้รับความเสียหาย ย่อมเกิดภาระยุ่งยากแก่หลายฝ่ายตามมา

คนไทยเราได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนประกันสังคม และสิทธิ์เบิกจ่ายข้าราชการ กลุ่มนี้มีจำนวนรวม 28% เท่านั้น อีก 70% ได้รับสิทธิ์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือได้รักษาฟรี 16 อาการ ซึ่ง 1 ในนั้น เป็นการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เหตุเกิดที่ใด ให้เข้ารักษาโรงพยาบาลใกล้จุดนั้น เพื่อเยียวยาเบื้องต้น แต่ท้ายที่สุดแล้ว ผู้ประสบเหตุจะถูกส่งไปรักษาต่อ ในโรงพยาบาลที่ผู้นั้นได้ลงทะเบียนไว้แต่แรก โดยรัฐออกค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้ มีบางรายการที่ผู้ประสบเหตุต้องจ่ายเอง เช่น ค่าสแกนสมอง แล้วยังต้องแบกรับภาระการรักษาต่อเนื่อง การกายภาพบำบัด ความพิการ การสูญเสียหน้าที่การงาน หรือ แม้กระทั่งเสียชีวิต ซึ่งเป็นต้นทุนที่ต้องสูญไปไม่น้อยแก่ครอบครัวเลย

ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา รัฐบาลในอดีตเน้นการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยต่อสาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนาคตของเยาวชนและการป้องกันปัญหาดื่มเมาแล้วขับ การตัดสินใจของรัฐบาลปัจจุบัน ด้วยการหย่อนการควบคุมลง ย่อมนำพาให้เกิดการสูญเสียทางสังคมเพิ่มมากขึ้นไปอีก ประชาชนชาวบ้านอาจเกิดคำถามในใจว่า โดยเนื้อในหวังเพียงเพิ่มพูนรายได้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจเหล่านี้ โดยห่อหุ้มด้วยคำว่า “เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวไทย” รัฐบาลควรทบทวนว่า ประชาชนไทยส่วนใหญ่ คิดเห็นกันอย่างไร และสนับสนุนนโยบายลดทอนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ทยอยออกมากันเช่นนี้ จริงหรือไม่

____________
โดย…
ผศ.ดร.สมัย โกรทินธาคม
ดร.นัฐพร โรจนหัสดิน
คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะทำงาน ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

News, ข่าวเด่น, สาระที่น่าสนใจ, สาระน่ารู้, สื่อเผยแพร่

เรื่องเหล้ากับหมอโภชนาการ “แอลกอฮอล์ดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่?”

“แอลกอฮอล์ไม่ได้ดีต่อสุขภาพไม่ว่าอายุเท่าไหร่
เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ก็ไม่มีอายุไหนที่ดื่มแอลกอฮอล์แล้วดีต่อสุขภาพ”
______

นพ.กิตติธัช แต้มแก้ว
อาจารย์ประจำหน่วยโภชนศาสตร์คลินิคและโรคอ้วน
สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
News, ข่าวเด่น, สาระที่น่าสนใจ, สาระน่ารู้

ระบบการคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด


ท่านสามารถเข้าใช้งานระบบการคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดโดยการสแกนคิวอาร์โคด หรือเข้าใช้งานผ่านทางลิงก์ดังนี้
https://www.calconic.com/calculator-widgets/-version-1-1/654bca0be31ac90029ae4a3c?layouts=true

News, ข่าวเด่น, สาระที่น่าสนใจ, สาระน่ารู้, เลือกโดยบรรณาธิการ

งานวิจัยชี้ชัด ขยายเวลาเปิดผับ บาร์ สถานบันเทิง เพิ่มนักดื่ม แนะ!! รัฐควรพิจารณาต้นทุนที่เกิดขึ้นต่อสังคมอย่างจริงจัง

สัมภาษณ์พิเศษ ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หัวหน้าทีมนักวิจัยโครงการการประเมินผลทางเศรษฐกิจ สุขภาพ และสังคม หากมีการอนุญาตให้ผู้ผลิตรายย่อยสามารถผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ หากมีการยกเลิกการกำหนดเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และหากมีการกำหนดพื้นที่พิเศษเพื่อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สำหรับการท่องเที่ยวยามค่ำคืน

1 2 3 4 21 22
Privacy Settings
We use cookies to enhance your experience while using our website. If you are using our Services via a browser you can restrict, block or remove cookies through your web browser settings. We also use content and scripts from third parties that may use tracking technologies. You can selectively provide your consent below to allow such third party embeds. For complete information about the cookies we use, data we collect and how we process them, please check our Privacy Policy
Youtube
Consent to display content from - Youtube
Vimeo
Consent to display content from - Vimeo
Google Maps
Consent to display content from - Google
Spotify
Consent to display content from - Spotify
Sound Cloud
Consent to display content from - Sound

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors