รู้จักกับนิยามของการโฆษณาหรือการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียง “การกระทำเพื่อให้คนเห็น ได้ยิน หรือรู้จักสินค้านั้น เพื่อประโยชน์ทางการค้า” เท่านั้น องค์การอนามัยโลก ได้แนะนำคำนิยามใหม่ของ การโฆษณาหรือการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้หมายรวมถึง
“การสื่อสารเพื่อการค้าหรือการกระทําในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการโฆษณา การส่งเสริมการขาย และการให้ทุนอุปถัมภ์ ซึ่งออกแบบเพื่อหวังผล/ส่งผล หรือมีแนวโน้มว่าจะส่งผล ในการเพิ่มการจดจำและความดึงดูดของสินค้า และ/หรือการเพิ่มการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์/ยี่ห้อที่อยู่ในท้องตลาดหรือผลิตภัณฑ์/ยี่ห้อใหม่”
ซึ่งหมายรวมถึง การออกแบบผลิตภัณฑ์ การใช้ตราเสมือนของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สำหรับสินค้าอื่นที่ไม่ใช่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Brand stretching) การรวมตราสินค้า (Co-branding) (การนำเอาตราสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปรวมกับตราสินค้ายี่ห้ออื่น) การแสดงรูปภาพผลิตภัณฑ์หรือตราสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสื่อบันเทิงและการถ่ายทอดสดของสื่อรายการต่าง ๆ การทำกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate social responsibility activities) และการขายหรือให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่สถานศึกษาหรือสถานบริการสุขภาพ ทั้งนี้ยังรวมถึง การใช้เครื่องหมายการค้า (Trade mark) และเครื่องหมายรูปลักษณ์ (Trade Dress) (ได้แก่ ฉลาก บรรจุภัณฑ์ หีบห่อ รูปร่างของสินค้า เป็นต้น) ที่ออกแบบมาเพื่อให้ทำหน้าที่หลายอย่าง และใช้ในการสื่อสารเพื่อการค้าหรือการกระทำดังระบุไว้ข้างต้น”
นอกจากนี้ การโฆษณา ตามนิยามสมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (AMA : American Marketing Association) คือ การจ่ายเงินในรูปแบบต่างๆ ของผู้อุปถัมภ์ (Sponsor) เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าบริการหรือสนับสนุนแนวความคิด โดยระบุผู้อุปถัมภ์
ในด้านการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การโฆษณา ตามนิยามของ (AANA: The Australian Association of National Advertisers) Code of Ethics แห่งประเทศออสเตรเลีย คือ สารใดที่เผยแพร่ ออกอากาศ ตีพิมพ์โดยผ่านสื่อใดหรือกิจกรรมใดที่กระทำโดย หรือ เป็นตัวแทนของผู้โฆษณาหรือนักการตลาด โดยผู้โฆษณาหรือนักการตลาดสามารถควบคุมได้ และสารนั้นๆ สามารถดึงดูดความสนใจของสาธารณชนในลักษณาการที่ส่งเสริมสินค้า การบริการ บุคคล องค์กร หรือพฤติกรรมใด ทั้งทางตรงและทางอ้อม
นิยามนี้ มีองค์ประกอบหลักในการพิจารณาว่าเข้าข่ายการโฆษณาอยู่ 4 ประการ ดังนี้
เอกสารอ้างอิง:
Pan American Health Organization (2017) Technical note: Background on alcohol marketing regulation and monitoring for the protection of public health. PAHO/NMH/17-003. Washington, DC: PAHO.
ภาระโรคที่เกิดจากมะเร็งที่สัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วโลกในปี 2563
“ดื่มน้อย ดื่มปานกลาง ก็ยังทำให้เกิดมะเร็งได้”
องค์กรนานาชาติเพื่อการวิจัยด้านมะเร็ง (International Agency for Research on Cancer (IARC)) เปิดเผยผลการศึกษาล่าสุด ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ The Lancet Oncology ซึ่งพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณ 741,000 คนทั่วโลก ในปี 2563 มีสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา สามในสี่รายเป็นผู้ชาย ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าการดื่มแบบเสี่ยง และการดื่มหนัก (มากกว่าสองหน่วยดื่มมาตรฐานต่อวัน) จะเป็นสัดส่วนหลักที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง (ร้อยละ 86 ของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) การดื่มปริมาณน้อยถึงปานกลาง (ไม่เกินสองหน่วยดื่มมาตรฐานต่อวัน) ก็เป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราเช่นกัน นั่นคือ ประมาณหนึ่งในเจ็ดของผู้ป่วยมะเร็งที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นผู้ดื่มปริมาณน้อยหรือปานกลาง ซึ่งคิดเป็นจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณมากกว่า 100,000 รายต่อปี
ในจำนวนผู้ป่วยมะเร็ง 741,000 คนทั่วโลก ในปี 2563 นี้ ร้อยละ 26 เป็นมะเร็งหลอดอาหาร ร้อยละ 21 เป็นมะเร็งตับ และร้อยละ 13 เป็นมะเร็งเต้านม ส่วนที่เหลือเป็นมะเร็งลำไส้ ช่องปาก ทวารหนัก คอหอย และกล่องเสียง ร้อยละ 12, ร้อยละ 10, ร้อยละ 9, ร้อยละ 5 และร้อยละ 4 ตามลำดับ
(ปริมาณการดื่ม 2 หน่วยดื่มมาตรฐาน เทียบได้เท่ากับ ไวน์ที่มีดีกรีแอลกอฮอล์ 12-13% ประมาณ 2 แก้ว ๆ ละ 100 มล. เบียร์ที่มีดีกรีแอลกอฮอล์ 4.5-5% ประมาณ 2 กระป๋องหรือหนึ่งขวดใหญ่ เหล้าสี/เหล้าขาวที่มีดีกรีแอลกอฮอล์ 35-40 % ประมาณ 2 เป็ก ๆ ละ 30 มล.)
______
ที่มา: องค์กรนานาชาติเพื่อการวิจัยด้านมะเร็ง (International Agency for Research on Cancer (IARC) https://www.iarc.who.int/infographics/latest-global-data-on-cancer-burden-and-alcohol-consumption/?fbclid=IwAR0L49zmNpW5awIF60S9mC4-1oVd2jWCGNNqcADYtG1K8nwzo916x5c3D_g
สาขาวิชาระบาดวิทยา อาคารบริหาร ชั้น 6 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทรศัพท์ : 083-5775533 (เวลาราชการ 08.30 - 16.30 น.)
Copyright © 2019 CAS All rights reserved.