หลักฐานทางวิชาการชี้ชัด!! ขยายเวลาเปิดสถานบริการ ทำอัตราการเกิดอันตรายและอุบัติเหตุพุ่ง!!!
จากที่มีผลบังคับใช้ขยายเวลาเปิดสถานบริการถึงตีสี่ ในวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา พบว่ามีการเกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บ-เสียชีวิต เนื่องจากการเมาแล้วขับ รวมไปถึงการมึนเมาจนไม่ได้สติ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรืออันตรายขึ้นได้ ซึ่งได้มีหลักฐานทางวิชาการที่ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเวลาการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พบว่า
• จากการศึกษาพบหลักฐานวิชาการส่วนใหญ่สอดคล้องกันว่า การเปลี่ยนแปลงเวลาซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดอันตราย
• จากบทความวิชาการที่รวบรวมการศึกษาคุณภาพสูงจำนวน 22 ชิ้น (รวมถึงการศึกษาจำนวน 3 ชิ้นที่เกี่ยวกับเวลาขายของร้านไม่มีที่นั่งดื่ม) และสรุปว่า การขยายเวลาการซื้อขายส่งหรือขยายเวลาเปิดสถานบริการ ส่งผลให้เกิดอันตรายมากขึ้น อาทิเช่น การทำร้ายร่างกาย การบาดเจ็บ เมาแล้วขับ-drink driving ในขณะที่การจำกัดเวลาซื้อขายมักตามมาด้วยการลดลงของอันตรายในแง่ของขนาดของผลกระทบ (effect size)
• การศึกษาใน 18 เมืองของประเทศนอร์เวย์ที่ดำเนินการขยายและจำกัดเวลาซื้อขายช่วงดึกหลายครั้งต่อกัน พบว่าการขยายเวลาซื้อขายเพิ่มขึ้นทุกหนึ่งชั่วโมงมีความสัมพันธ์กับการทำร้ายร่างกายที่รายงานโดยตำรวจซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 16 (โดยลดลงใกล้เคียงกันหากจำนวนชั่วโมงซื้อขายลดลง)
• การศึกษาในรัฐนิวคาสเซิล ประเทศออสเตรเลีย พบว่าการการลดชั่วโมงการขายจาก 05.00 น. เป็น 03.30 น. ส่งผลให้การทำร้ายร่างกายลดลงประมาณร้อยละ 33 โดยมีผลต่อเนื่องยาวนานกว่า 5 ปี
ที่มา: หนังสือสุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา ฉบับปรับปรุงครั้งที่สาม (ฉบับแปลภาษาไทย)