กำหนดการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้นโยบายควบคุมฯ




Mr. Dag Rekve เจ้าหน้าที่อาวุโส องค์การอนามัยโลกสำนักงานใหญ่ (World Health Organization) นำเสนอข้อมูลความท้าทายในจัดการปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับนานาชาติและระดับประเทศ และทิศทางในอนาคต ชี้ว่าคนทั่วโลกกว่าร้อยละ 56 ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการดื่มไม่ใช่เรื่องปกติของสังคม ร้อยละ 4.7 ของการเสียชีวิตเกี่ยวข้องกับการดื่มแอลกอฮอล์หรือกว่า 2.6 ล้านคน ในจำนวนนี้กว่าครึ่งหนึ่งเสียชีวิตก่อนวัยหกสิบซึ่งนับเป็นความสูญเสียมหาศาล ทั้งที่ป้องกันได้ด้วยนโยบายแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมราคา การจำกัดการเข้าถึงทางกายภาพ และควบคุมกิจกรรมการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามยุทธศาสตร์โลกและแผนปฏิบัติการระดับโลก แต่อุปสรรคที่สำคัญในบางประเทศที่ทำให้ไม่สามารถออกนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มุ่งเน้นการปกป้องสุขภาพของประชาชนได้ คือ อิทธิพลของกลุ่มธุรกิจในกระบวนการตัดสินทางนโยบาย การปรับแก้กฎหมายใดๆ ต้องไม่เปิดช่องให้ธุรกิจเข้ามาแทรกแซง ซึ่งตอนนี้องค์การอนามัยโลกกำลังเตรียมออกแนวปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อป้องกันปัญหานี้

“นโยบายควบคุมเหล้าไทยจัดว่าก้าวหน้า การแก้กฎหมายครั้งนี้ควรมองไปอนาคตระยะยาวเอาสวัสดิภาพและคุณภาพชีวิตประชากรเป็นตัวตั้ง ข้อมูลภาระโรคปี 2019 ร้อยละ 7.7 ของการเสียชีวิตของประชากรไทยเกิดจากแอลกอฮอล์ หรือกว่า 38,073 ราย รัฐควรตัดสินใจว่าจะลดความสูญเสียนี้อย่างไรต่อไป การจัดการปัญหาแอลกอฮอล์ต้องร่วมกันหลายภาคส่วนและทำในทุกระดับ การลดหย่อนความเข้มข้นของกฎหมายควบคุมเหล้าเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวควรต้องทบทวนให้ดี นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาไทยไม่ได้มาเพื่อดื่มในประเทศสวยงามทั้งสถานที่ วัฒนธรรม และผู้คน”


Professor Thomas F. Babor จาก University of Connecticut School of Medicine สหรัฐอเมริกา นักวิชาการอาวุโสระดับโลกและหัวหน้าบรรณาธิการวารสารวิชาการชั้นนำด้านการเสพติดหลายสำนักและบรรณาธิการหนังสือ “สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา” ให้ข้อมูลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลประโยชน์และต้นทุนผลกระทบของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจยามราตรีด้วยการส่งเสริมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากต่างประเทศ ที่เนเธอแลนด์พบผลจากขยายเวลาขายเพิ่ม 1 ชั่วโมงในช่วงกลางคืนทำให้มีการเรียกรถพยาบาลจากเหตุการณ์บาดเจ็บจากแอลกอฮอล์มากขึ้นถึง 34% ที่นอร์เวย์ขยายเวลาขายเพิ่ม 1-2 ชั่วโมงทำให้อุบัติการณ์การทำร้ายร่างกายเพิ่มขึ้น 25% การท่องเที่ยวสายปาร์ตี้ (party tourisms) นี้ผลประโยชน์อาจไม่ได้สูงเพราะนักท่องเที่ยวกลุ่มวัยรุ่นกำลังซื้อไม่สูงและอยู่มาเพียงระยะสั้น ในขณะที่สร้างต้นทุนทางสังคมที่เพิ่มขึ้นต่อห้องฉุกเฉินและสถานีตำรวจ และอาจมีความเสี่ยงปัญหายาเสพติดเพิ่มขึ้นด้วย หากไทยจะกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจควรเน้นไปที่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (wellness tourism) และวัฒนธรรมมากกว่า ซึ่งเป็นที่นิยม ไม่สร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดี และสร้างมูลค่าสูงกว่าจากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่กำลังซื้อสูงกว่า

Privacy Settings
We use cookies to enhance your experience while using our website. If you are using our Services via a browser you can restrict, block or remove cookies through your web browser settings. We also use content and scripts from third parties that may use tracking technologies. You can selectively provide your consent below to allow such third party embeds. For complete information about the cookies we use, data we collect and how we process them, please check our Privacy Policy
Youtube
Consent to display content from - Youtube
Vimeo
Consent to display content from - Vimeo
Google Maps
Consent to display content from - Google
Spotify
Consent to display content from - Spotify
Sound Cloud
Consent to display content from - Sound

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors