การดื่มเหล้าแบบรวดเดียวและการแข่งดื่ม คนดื่มเสี่ยง คนเชียร์สนุก⁉️

จากกระแสข่าวเด็กหญิงอายุ 13 ปี ถูกจ้างกระดกเหล้าเพียวๆ ในงานแห่นาค แลกกับเงิน 1 พันบาท น็อกเข้าไอซียู โดยญาติของน้องเล่าว่า เหตุการณ์เกิดจากกลุ่มชายวัยกลางคนหลายคนว่าจ้างและส่งเสียงเชียร์อย่างสนุกสนาน ให้เด็กหญิงวัย 13 ปีและเพื่อน ซึ่งเป็นเด็กชายวัย 13 ปีเช่นเดียวกัน ดื่มสุราเพียวๆ คนละครึ่งขวด หากดื่มหมดจะให้เงินค่าจ้าง 1,000 บาท จนเป็นเหตุให้เด็กหญิงเกิดอาการช็อก หมดสติ และถูกหามส่งโรงพยาบาลในเวลาต่อมา

อาการช็อกหมดสติที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ (alcohol intoxication) ต่อร่างกาย และปริมาณน้ำในร่างกายที่เพิ่มขึ้นมามากก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำเป็นพิษ (water intoxication) ซึ่งส่งผลให้เกิดสมองบวมและระดับเกลือแร่ในเลือดเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นสารที่ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง คล้ายยากดประสาท ซึ่งฤทธิ์นี้จะขึ้นโดยตรงกับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ได้รับ ยกตัวอย่างเช่น การดื่มเหล้าหมดทีเดียว 1 ขวด จะทำให้แอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้นได้ถึง 250 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้เสี่ยงต่อการสำลัก อาเจียน หายใจไม่ออก หยุดหายใจ หมดสติ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตจากการได้รับแอลกอฮอล์เกินขนาด ซึ่งโดยทั่วไป นักดื่มมักจะค่อยๆ ดื่ม จะเป็นการเปิดโอกาสให้ร่างกายได้ค่อยๆ ทำลาย และขับแอลกอฮอล์ออกจากกระแสเลือด ทำให้แอลกอฮอล์ไม่คั่งอยู่ในร่างกายของผู้ที่ดื่มมากนัก

แต่ในกรณีการดื่มแบบรวดเดียวในเวลาจำกัดนี้ อย่างกรณีของเด็กหญิงที่นอนอาการโคม่าอยู่นั้น จะมีลักษณะเหมือนเทแอลกอฮอล์พรวดเข้าไปในกระแสเลือดโดยไม่เว้นช่วงเวลาให้ร่างกายขับแอลกอฮอล์ออกมา กอปรกับน้องอายุเพียง 13 ปี นับเป็นเยาวชนที่องค์การอนามัยโลกจัดอยู่ในกลุ่มเปราะบางและแนะนำว่าไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้น้องจะดื่มเพียงครึ่งขวด แต่ส่งผลอันตรายจนทำให้น้องช็อกหมดสติ

จากพยานหลักฐาน พบว่า เหตุการณ์ในคลิปวีดีโอสอดคล้องกับคำบอกเล่าของพยาน โดยชายผู้ว่าจ้างเข้ามามอบตัวด้วยตนเอง และให้การภาคเสธ ยอมรับว่า อยู่ในขบวนแห่นาค จ่ายเงินให้เด็กหลังดื่มสุราจริง แต่ไม่ได้บังคับให้เด็กดื่มหมดขวด พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา บังคับขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร ว่าจ้างให้เด็กดื่มสุรา จนเป็นอันตรายต่อร่างกาย โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 หมวด 2 มาตรา 26 (3) นอกจากนี้ พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก ครั้งแรก มีการห้ามขายเหล้าให้เด็กต่ำกว่า 18 ปี เพื่อมุ่งหวังที่จะรักษาผลประโยชน์ ปกป้อง สวัสดิภาพเด็ก และสร้างบรรทัดฐานในการคุ้มครองชีวิตของเด็ก

หากเป็นกรณีที่มีการเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมแข่งกิน/ดื่มเบียร์หรือเหล้า และมีโปรโมชั่นจัดหนักจัดเต็มด้วยการโพสต์ผ่านทางโซเชียลมีเดียของร้านค้าหรือสถานประกอบการนั้น ถือว่าเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 30 (3) ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะการลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย และ (4) ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะการให้หรือเสนอให้สิทธิในการเข้าชมการแข่งขัน การแสดง การให้บริการ การชิงโชค การชิงรางวัล หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทนแก่ผู้ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแก่ผู้นำหีบห่อหรือสลากหรือสิ่งอื่นใดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาแลกเปลี่ยนหรือแลกซื้อ ซึ่งนับเป็นการจูงใจสาธารณชนให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และหากการเชิญชวนให้ดื่มนั้น ทำให้ลูกค้าได้รับอันตรายต่างๆ สามารถเอาผิดร้านค้าหรือสถานประกอบการในฐานะผู้ขายที่ควรต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วยเช่นกัน เพราะผู้ขายอยู่ในข่ายของการก่อช่องภัยและอยู่ใกล้แก่เหตุจะเกิดความเสียหาย ซึ่งสามารถจะช่วยยับยั้งไม่ให้ปัญหาลุกลามไว้ได้แต่ต้น ข้อบังคับนี้มีเจตนาเพื่อให้ผู้เสียหายได้รับการชดเชยที่เป็นธรรม และเพื่อให้ผู้ขายมีการขายอย่างรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งโดยรวมแล้ว ก็เพื่อเป็นการรักษาสวัสดิภาพและความปลอดภัยในสังคมนั่นเอง

แหล่งที่มา:
https://www.pptvhd36.com/…/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0…/225860
https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2792068
https://news.ch7.com/detail/733007

Privacy Settings
We use cookies to enhance your experience while using our website. If you are using our Services via a browser you can restrict, block or remove cookies through your web browser settings. We also use content and scripts from third parties that may use tracking technologies. You can selectively provide your consent below to allow such third party embeds. For complete information about the cookies we use, data we collect and how we process them, please check our Privacy Policy
Youtube
Consent to display content from - Youtube
Vimeo
Consent to display content from - Vimeo
Google Maps
Consent to display content from - Google
Spotify
Consent to display content from - Spotify
Sound Cloud
Consent to display content from - Sound

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors