แผนแม่บทวิจัยเพื่อการบริโภคสุราของศูนย์วิจัยเพื่อควบคุมการบริโภคสุรา เป็นแผนแม่บท (Master plan) ของศูนย์วิจัยเพื่อควบคุมการบริโภคสุราในการสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยของเครือข่ายนักวิชาการและนักวิจัย เพื่อให้เกิดองค์ความรู้สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุรา โดยครอบคลุมทั้งการป้องกันการดื่มและป้องกันอันตรายจากการดื่ม ทั้งนี้เพื่อผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยทั้งสามกลุ่ม ได้แก่ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติ และประชาชน
แผนแม่บทวิจัยเพื่อควบคุมการบริโภคสุราวางอยู่บนปรัชญาพื้นฐานสำคัญ 2 ประการ คือ
- การแก้ปัญหาสุราเป็นเรื่องใหญ่ที่ซับซ้อนต้องการการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สมดุลระหว่างการดำเนินงานเพื่อผลระยะสั้นและระยะยาว และ
- ต้องสร้างฐานกำลังนักวิชาการที่สนใจทำงานวิชาการเรื่องสุราอย่างเนื่องให้เพียงพอ
แผนแม่บทวิจัย แบ่งเป็น 3 แผนตามระยะเวลาการเกิดผลผลิตของงานวิจัย ได้แก่
- แผนวิจัยเร่งด่วน 6 เดือนแรก (พ.ย. 47 – เม.ย. 48)
- แผนวิจัยระยะสั้น 6 เดือน – 2 ปี (พ.ค. 48 – ต.ค. 49) และ
- แผนวิจัยระยะกลาง 3 – 5 ปี (พ.ศ. 2550 – 2552)
1) แผนวิจัยเร่งด่วน 6 เดือนแรก
แผนงานวิจัยเร่งด่วน 6 เดือนแรก เป็นแผนงานวิจัยที่สามารถดำเนินการให้เห็นผลผลิตเบื้องต้นได้ในระยะเวลาสั้น 6 เดือน หัวข้อวิจัยกำหนดขึ้นจากแนวคิดหลายฝ่าย ได้แก่ แนวคิดของฝ่ายกำหนดนโยบาย เนื่องจากเป็นกลุ่มซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการกำหนดนโยบายระดับชาติ ซึ่งเป็นภารกิจที่มีบริบทการทำงานที่มีความซับซ้อนสูง ทำให้หน้าต่างแห่งโอกาส (Window of opportunity) มีจำกัดและมีความสำคัญสูงในแต่ละครั้งที่โอกาสเปิด แผนงานวิจัยเร่งด่วน 6 เดือนแรกนี้จึงยึดเอาข้อเสนอของ ฯพณฯรองนายกจาตุรนต์ ฉายแสง ลงนามวันที่ 1 ต.ค. 2547 ที่เสนอต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เห็นชอบในหลักการ ลงนามวันที่ 5 ต.ค. 2547 แล้วเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และ คณะกรรมการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ (คบอช.) ดำเนินการต่อเนื่องต่อมา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของคณะกรรมการอำนวยการแผนงานศูนย์วิจัยเพื่อควบคุมการบริโภคสุราที่รวบรวมจากการสัมภาษณ์ของ ศวส.
แผนงานวิจัยเร่งด่วนประกอบไปด้วยโครงการวิจัยที่ต้องการองค์ความรู้เพิ่มเติมดังนี้
- โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะมาตรการขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อสร้างราคาเพื่อควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะมาตรการเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมและการออกใบอนุญาตสถานบริการจำหน่าย/ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อควบคุมปริมาณสถานบริการจำหน่าย/ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะมาตรการการกำหนดพื้นที่ปลอดการจำหน่าย/ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อควบคุมปริมาณสถานบริการจำหน่าย/ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2) แผนวิจัยระยะสั้น 6 เดือน – 2 ปี
แผนงานวิจัยระยะสั้น 6 เดือน – 2 ปี เป็นแผนงานวิจัยที่กำหนดประเด็นขึ้นจากความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุรา โดยการประมวลความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์และการตอบแบบสอบถาม เนื่องจากการดำเนินงานระยะสั้นยังไม่มีองค์ความรู้พื้นฐานที่สำคัญจำเป็นเพียงพอ จึงต้องกลั่นประเด็นการดำเนินงานจากประสบการณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุราว่ามาตรการใดน่าจะเป็นมาตรการที่สำคัญ เร่งด่วน และมีความเป็นไปได้ ควรที่จะรีบดำเนินการระยะสั้นภายใน 2 ปี
แผนงานวิจัยระยะสั้นประกอบไปด้วยโครงการวิจัยที่ตอบประเด็นที่ต้องการองค์ความรู้เพิ่มเติมดังนี้
- โครงการทบทวนองค์ความรู้พื้นฐาน (State-of-the-art review) ที่สำคัญในประเด็นต่างๆ ได้แก่ โครงการวิจัยทบทวนมาตรการเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุราของประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังนี้ ด้านการป้องกันการดื่ม ได้แก่ การควบคุมการผลิตและการนำเข้า, มาตรการทางราคาและภาษี, การควบคุมการจัดจำหน่ายและการดื่ม, การควบคุมการโฆษณาและการส่งเสริมการขายในรูปแบบต่างๆ และการควบคุมผู้บริโภค; ด้านการป้องกันอันตรายจากการดื่ม ได้แก่ การป้องอุบัติเหตุจากการดื่ม การป้องกันปัญหาทางสุขภาพจากการดื่ม และการป้องกันความรุนแรงจากการดื่มและด้านการศึกษาการรณรงค์สร้างจิตสำนึก และการสร้างชุมชนผู้ปฏิบัติในการลดละเลิกดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
- โครงการวิจัยศึกษาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของกฎหมายหรือมาตรการที่มีอยู่แล้ว (ศึกษาทั้งด้านผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและผู้บังคับใช้กฎหมาย)
- โครงการวิจัยวัฒนธรรมการใช้สุราในสังคมไทย
- วัฒนธรรมดั้งเดิม ได้แก่ สงกรานต์, ปีใหม่, ลอยกระทง, กฐิน
- วัฒนธรรมใหม่ ได้แก่ งานฉลองวันเกิด, ฉลองรับปริญญา, รับน้องใหม่
- ประเพณีในชุมชน ได้แก่ งานบวช, งานศพ, งานแต่งงาน
- โครงการวิจัยความรู้ ความเชื่อ และความคาดหวังของเยาวชนต่อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์รูปแบบต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน (ซึ่งนอกจากจะครอบคลุมประเด็นด้าน Demand แล้ว ยังครอบคลุมประเด็นด้าน Supply อันได้แก่ ผลิตภัณฑ์สุรา การบรรจุภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย บริบทการดื่ม การตลาดและการส่งเสริมการขาย)
- โครงการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการป้องกันการดื่มในเด็กและเยาวชน (ครอบคลุมการรณรงค์ และการสร้างแนวร่วม)
- โครงการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการดื่มสุราของผู้ขับขี่ยานยนต์ (ครอบคลุมมาตรการสุ่มตรวจระดับแอลกอฮอล์และอื่นๆ)
- โครงการวิจัยกลยุทธทางการตลาดของอุตสาหกรรมสุรา ครอบคลุมการส่งเสริมการตลาด)
3) แผนวิจัยระยะกลาง 3-5 ปี
แผนงานวิจัยระยะกลาง 3 – 5 ปี เป็นแผนงานวิจัยที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานสำหรับการดำเนินงานในระยะยาวให้ได้ผลยั่งยืน โดยที่แผนงานนี้กำหนดประเด็นขึ้นจากการทบทวนองค์ความรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุราเป็นเบื้องต้นโดยศูนย์วิจัยเพื่อควบคุมการบริโภคสุรา ซึ่งจะปรึกษาหารือกับเครือข่ายนักวิชาการและนักวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุรา แล้วนำเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุราต่อไป
(ร่าง)แผนงานวิจัยระยะกลางประกอบไปด้วยโครงการวิจัยที่ตอบประเด็นที่ต้องการองค์ความรู้เพิ่มเติมดังนี้
- ชุดโครงการวิจัยด้านอุปทาน ได้แก่ โครงการวิจัยระบาดวิทยาของอุปทาน (ครอบคลุมระบบเครือข่ายผู้ผลิต ผู้ขายและภาครัฐ และกลยุทธ์การตลาดของอุตสาหกรรมสุรา), โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิต เป็นต้น
- ชุดโครงการวิจัยด้านอุปสงค์ ได้แก่ โครงการวิจัยระบาดวิทยาของอุปสงค์ (ครอบคลุมโครงการวิจัยวัฒนธรรมการใช้สุราในสังคมไทย ซึ่งครอบคลุมทั้ง วัฒนธรรมดั้งเดิม ได้แก่ สงกรานต์, ปีใหม่, ลอยกระทง, กฐิน; วัฒนธรรมใหม่ ได้แก่ ฉลองวันเกิด, ฉลองรับปริญญา, รับน้องใหม่, สถานท่องเที่ยวกลางคืน; ประเพณีในชุมชน ได้แก่ งานบวช, งานศพ, งานแต่งงาน เป็นต้น), โครงการวิจัยกระบวนการเสพสุรา, โครงการวิจัยประโยชน์ของการเสพสุราระยะสั้นและระยะยาว, โครงการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเสพสุรา การใช้สารเสพติดอื่นๆ และการเสพติดอื่นๆ และโครงการวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ เป็นต้น
- ชุดโครงการวิจัยด้านผลกระทบ ได้แก่ โครงการวิจัยระบาดวิทยาของผลกระทบ, โครงการวิจัยผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตระดับบุคคล, โครงการวิจัยผลกระทบต่อครอบคัว ชุมชนและสังคม และโครงการวิจัยผลกระทบเชิงเศรษฐกิจของปัญหาสุรา เป็นต้น
- ชุดโครงการวิจัยมาตรการควบคุม (ศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่า) ได้แก่ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการควบคุมราคาและภาษี, โครงการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการควบคุมช่องทางการซื้อขายและการดื่ม, โครงการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการควบคุมการผลิตและการนำเข้า, และโครงการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการควบคุมการส่งเสริมการขาย (รวมการโฆษณา) เป็นต้น
- ชุดโครงการวิจัยแนวทางป้องกัน ได้แก่ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการเปลี่ยนค่านิยมการดื่ม, โครงการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการให้ความรู้อย่างเป็นระบบ, โครงการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการป้องกันการดื่มในเด็กและเยาวชน, โครงการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการป้องกันการดื่มในกลุ่มเสี่ยง, โครงการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดื่ม และโครงการวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาสุราอย่างยั่งยืน เป็นต้น
- ชุดโครงการวิจัยลดผลกระทบ ได้แก่ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรลดการทะเลาะวิวาทเนื่องจากสุรา, โครงการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการลดปัญหาสุขภาพเนื่องจากสุรา, โครงการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการลดปัญหาอุบัติเหตุเนื่องจากสุรา, โครงการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการเสริมประชาชน/ชุมชนในการป้องกันและช่วยเหลือกันเอง, โครงการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการระบบบริการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง, โครงการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการพัฒนาระบบสาธารณสุขให้สามารถดูแลช่วยเหลือได้, โครงการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการพัฒนาระบบ รูปแบบและวิธีการช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยง และรักษาผู้ติดสุราเรื้อรัง เป็นต้น
- ชุดโครงการวิจัยประเมินผลระบบและมาตรการต่างๆที่ใช้อยู่
- ชุดโครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การใช้