การดื่มเหล้าแบบรวดเดียวและการแข่งดื่ม คนดื่มเสี่ยง คนเชียร์สนุก
จากกระแสข่าวเด็กหญิงอายุ 13 ปี ถูกจ้างกระดกเหล้าเพียวๆ ในงานแห่นาค แลกกับเงิน 1 พันบาท น็อกเข้าไอซียู โดยญาติของน้องเล่าว่า เหตุการณ์เกิดจากกลุ่มชายวัยกลางคนหลายคนว่าจ้างและส่งเสียงเชียร์อย่างสนุกสนาน ให้เด็กหญิงวัย 13 ปีและเพื่อน ซึ่งเป็นเด็กชายวัย 13 ปีเช่นเดียวกัน ดื่มสุราเพียวๆ คนละครึ่งขวด หากดื่มหมดจะให้เงินค่าจ้าง 1,000 บาท จนเป็นเหตุให้เด็กหญิงเกิดอาการช็อก หมดสติ และถูกหามส่งโรงพยาบาลในเวลาต่อมา
อาการช็อกหมดสติที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ (alcohol intoxication) ต่อร่างกาย และปริมาณน้ำในร่างกายที่เพิ่มขึ้นมามากก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำเป็นพิษ (water intoxication) ซึ่งส่งผลให้เกิดสมองบวมและระดับเกลือแร่ในเลือดเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นสารที่ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง คล้ายยากดประสาท ซึ่งฤทธิ์นี้จะขึ้นโดยตรงกับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ได้รับ ยกตัวอย่างเช่น การดื่มเหล้าหมดทีเดียว 1 ขวด จะทำให้แอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้นได้ถึง 250 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้เสี่ยงต่อการสำลัก อาเจียน หายใจไม่ออก หยุดหายใจ หมดสติ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตจากการได้รับแอลกอฮอล์เกินขนาด ซึ่งโดยทั่วไป นักดื่มมักจะค่อยๆ ดื่ม จะเป็นการเปิดโอกาสให้ร่างกายได้ค่อยๆ ทำลาย และขับแอลกอฮอล์ออกจากกระแสเลือด ทำให้แอลกอฮอล์ไม่คั่งอยู่ในร่างกายของผู้ที่ดื่มมากนัก
แต่ในกรณีการดื่มแบบรวดเดียวในเวลาจำกัดนี้ อย่างกรณีของเด็กหญิงที่นอนอาการโคม่าอยู่นั้น จะมีลักษณะเหมือนเทแอลกอฮอล์พรวดเข้าไปในกระแสเลือดโดยไม่เว้นช่วงเวลาให้ร่างกายขับแอลกอฮอล์ออกมา กอปรกับน้องอายุเพียง 13 ปี นับเป็นเยาวชนที่องค์การอนามัยโลกจัดอยู่ในกลุ่มเปราะบางและแนะนำว่าไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้น้องจะดื่มเพียงครึ่งขวด แต่ส่งผลอันตรายจนทำให้น้องช็อกหมดสติ
จากพยานหลักฐาน พบว่า เหตุการณ์ในคลิปวีดีโอสอดคล้องกับคำบอกเล่าของพยาน โดยชายผู้ว่าจ้างเข้ามามอบตัวด้วยตนเอง และให้การภาคเสธ ยอมรับว่า อยู่ในขบวนแห่นาค จ่ายเงินให้เด็กหลังดื่มสุราจริง แต่ไม่ได้บังคับให้เด็กดื่มหมดขวด พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา บังคับขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร ว่าจ้างให้เด็กดื่มสุรา จนเป็นอันตรายต่อร่างกาย โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 หมวด 2 มาตรา 26 (3) นอกจากนี้ พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก ครั้งแรก มีการห้ามขายเหล้าให้เด็กต่ำกว่า 18 ปี เพื่อมุ่งหวังที่จะรักษาผลประโยชน์ ปกป้อง สวัสดิภาพเด็ก และสร้างบรรทัดฐานในการคุ้มครองชีวิตของเด็ก
หากเป็นกรณีที่มีการเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมแข่งกิน/ดื่มเบียร์หรือเหล้า และมีโปรโมชั่นจัดหนักจัดเต็มด้วยการโพสต์ผ่านทางโซเชียลมีเดียของร้านค้าหรือสถานประกอบการนั้น ถือว่าเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 30 (3) ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะการลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย และ (4) ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะการให้หรือเสนอให้สิทธิในการเข้าชมการแข่งขัน การแสดง การให้บริการ การชิงโชค การชิงรางวัล หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทนแก่ผู้ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแก่ผู้นำหีบห่อหรือสลากหรือสิ่งอื่นใดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาแลกเปลี่ยนหรือแลกซื้อ ซึ่งนับเป็นการจูงใจสาธารณชนให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และหากการเชิญชวนให้ดื่มนั้น ทำให้ลูกค้าได้รับอันตรายต่างๆ สามารถเอาผิดร้านค้าหรือสถานประกอบการในฐานะผู้ขายที่ควรต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วยเช่นกัน เพราะผู้ขายอยู่ในข่ายของการก่อช่องภัยและอยู่ใกล้แก่เหตุจะเกิดความเสียหาย ซึ่งสามารถจะช่วยยับยั้งไม่ให้ปัญหาลุกลามไว้ได้แต่ต้น ข้อบังคับนี้มีเจตนาเพื่อให้ผู้เสียหายได้รับการชดเชยที่เป็นธรรม และเพื่อให้ผู้ขายมีการขายอย่างรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งโดยรวมแล้ว ก็เพื่อเป็นการรักษาสวัสดิภาพและความปลอดภัยในสังคมนั่นเอง
แหล่งที่มา:
https://www.pptvhd36.com/…/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0…/225860
https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2792068
https://news.ch7.com/detail/733007
ฝากถามรัฐ ผลลัพธ์ของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ สรุปใครได้ประโยชน์⁉️
ถามย้ำอีกที เมื่อไหร่รัฐจะให้ความสำคัญกับชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน หรือแค่หลับหูหลับตา มองไม่เห็นผลกระทบของมาตรการขยายเวลาเปิดสถานบริการ
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2566 เวลาประมาณ 06.00 น. เกิดอุบัติเหตุบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ขาเข้าเมือง หน้าอำนวยมอเตอร์แอร์ 2 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ หนุ่มบิดมอเตอร์ไซค์กลับจากเที่ยวสถานบันเทิงช่วงเช้ามืด พุ่งประสานงารถจักรยานยนต์ตำรวจจราจรกำลังขี่ไปทำงาน บาดเจ็บสาหัส มีสติแต่ไม่สามารถขยับตัวได้
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 ช่วงเวลาประมาณ 04.20 น. เกิดเหตุหนุ่มเมาขับเก๋งซิ่งแหกด่านตำรวจจราจรบนถนนพระราม 4 พุ่งชน “จ่าตำรวจ” ขณะปฏิบัติหน้าที่ตรวจวัดแอลกอฮอล์รถอีกคัน อัดร่างกับประตูรถอย่างจังเจ็บสาหัส แต่ยื้อไม่ไหวจนเสียชีวิตในที่สุด ส่วนหนุ่มผู้ก่อเหตุอยู่ในสภาพเมาพูดจาแทบไม่รู้เรื่อง ตรวจวัดแอลกอฮอล์ได้สูงถึง 187 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หลังสร่างเมายอมรับว่าไปดื่มกับเพื่อนมาจริง และอ้างว่ามองไม่เห็นด่านตำรวจ จากกรณีดังกล่าว แม้แต่ พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ บัณฑิต ผู้บังคับการตำรวจจราจร ได้ฝากถึงนักเที่ยวราตรีผ่านสื่อว่า หากรู้ตัวว่าต้องไปดื่มให้นั่งรถแท็กซี่ไป เวลากลับบ้านจะได้ไม่เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน และไม่ไปทำร้ายคนในครอบครัวคนอื่น
เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 เวลา 04.30 น. เกิดเหตุรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ตํารวจสายตรวจ ซึ่งออกปฏิบัติหน้าที่ตรงสี่แยก รพ.ป่าตอง โดยผู้ก่อเหตุให้การว่า ขี่รถจากห้างสรรพสินค้ามุ่งหน้ามายังแยก รพ.ป่าตอง เมื่อถึงบริเวณ 4 แยกไฟแดง ตนฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง และชนกับรถจักรยานยนต์ตํารวจสายตรวจ ทำให้ได้รับบาดเจ็บ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจวัดแอลกอฮอล์ที่ สภ.ป่าตอง ผลตรวจปรากฏว่า มีปริมาณแอลกอฮอล์ 114 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จึงจับกุมผู้ก่อเหตุในข้อหา “ขับขี่รถขณะเมาสุราเฉี่ยวชนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ”
แม้ระยะเวลาผ่านไปหลายเดือน แต่ความเสียใจยังตราตรึงอยู่ในใจเสมอของครอบครัวผู้เสียชีวิต จากเหตุการณ์อุบัติเหตุทางถนนที่เกิดจากการดื่มแล้วขับ นอกจากเป็นการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักของครอบครัวแล้วนั้น สังคมและประเทศชาติยังต้องสูญเสียบุคคลที่มีศักยภาพอย่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพียงเพราะการดื่มแล้วขับ
จากทั้งสามเหตุการณ์ข้างต้น อาจเป็นกระจกที่สะท้อนให้เห็นผลกระทบที่เกิดจากการขยายเวลาให้บริการของสถานบันเทิงจาก 02.00 น. ถึง 04.00 น. และเมื่อพิจารณาห่วงโซ่ของผลกระทบนี้ พบว่า จากการขยายเวลาสถานบริการจากเวลา 02.00 น. ถึง 04.00 น. เป็นการเพิ่มภาระงานให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร จากเดิมที่สถานบันเทิงปิดเวลา 02.00 น. เจ้าหน้าที่อาจจะตั้งด่านตรวจถึง 02.30 – 03.00 น. แต่กลับต้องอดหลับอดนอนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้น ป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดวินัยจราจรจนถึง 04.30 น. ซ้ำร้ายในขณะปฏิบัติหน้าที่กลับตกเป็นเหยื่ออุบัติเหตุทางถนนจากการดื่มแล้วขับ ซึ่งมีหลักฐานทางวิชาการยืนยันแล้วว่า การเปลี่ยนแปลงเวลาซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านนั่งดื่มนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดอันตรายมากขึ้น แม้ครอบครัวของผู้เสียชีวิตจะได้รับการเยียวยาจากเงินสวัสดิการเพราะเป็นข้าราชการตำรวจ และเงินเยียวยาจากที่ผู้ก่อเหตุยินดีชดเชยให้นั้น แต่คงไม่คุ้มค่ากับชีวิตคนหนึ่งคนที่ยังสามารถสร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติได้มากกว่าตีค่าเป็นเงินตรา หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจที่กำลังออกปฏิบัติหน้าที่และที่กำลังขี่รถจักรยานยนต์ไปทำงานต้องเข้ารับการรักษาตัวและมีโอกาสเป็นบุคคลทุพพลภาพจากอุบัติเหตุ แล้วถ้าหากเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นกับประชาชนที่หาเช้ากินค่ำ ไม่ได้เป็นข้าราชการ ไม่มีสิทธิสวัสดิการ ไม่มีต้นทุนชีวิตหรือแม้แต่ค่ารักษาพยาบาล จะมีโอกาสหรือไม่ที่สังคมจะได้เห็นเหตุการณ์นี้ผ่านสื่อออนไลน์ หรือจะได้รับการเยียวยาต่างๆ อย่างที่ควรจะเป็น จึงอยากฝากถามรัฐ ท่านแน่ใจหรือว่าผลลัพธ์ของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้ปากท้องของประชาชนดีขึ้นจริงๆ คนที่ได้ประโยชน์คือประชาชนทุกคน และนี่เป็นแค่ตัวอย่างอุบัติเหตุที่ออกข่าวในพื้นที่จังหวัดนำร่อง แต่ยังมีเหตุการณ์อีกมากมายจากการตกเป็นเหยื่อน้ำเมาที่ไม่ได้เป็นข่าว อยากถามรัฐอีกทีว่า เมื่อไหร่ท่านจะให้ความสำคัญกับชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน หรือแค่หลับหูหลับตา มองไม่เห็นผลกระทบของมาตรการขยายเวลาเปิดสถานบริการ สนใจแค่เม็ดเงินที่ยังไม่รู้เลยว่าจะได้มากกว่าเสีย เพราะแม้กระทั่งการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมพฤติกรรมขับขี่ยานพาหนะหลังการดื่ม ก็ยังไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสถานบริการหรือร้านค้าเองควรมีส่วนรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วยซ้ำ เพราะสถานบริการหรือร้านค้าอยู่ในข่ายของการก่อช่องภัยแก่เหตุจะเกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งรัฐสามารถที่จะช่วยยับยั้งไม่ให้ปัญหาลุกลามไว้ได้แต่ต้น หากสนับสนุนการออกกฎหมายการรับผิดของสถานประกอบการ และคงไม่เกิดวาทกรรมอันสวยหรูที่ทางธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นำมาใช้ในการสื่อสารการตลาด “ดื่มอย่างรับผิดชอบ” ด้วยการให้นักดื่มทั้งหลายรับผิดชอบอยู่ฝ่ายเดียว หรือตำรวจต้องมาฝากข้อความวอนขอนักเที่ยวราตรีดื่มแล้วกลับด้วยรถแท็กซี่ ทั้งที่รัฐเองสามารถใช้อำนาจโดยชอบธรรมในการคุ้มครองสุขภาพประชาชนไทย
ที่มาข่าว:
https://mgronline.com/local/detail/9660000112927
https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2764071
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_8198152
เอกสารอ้างอิง:
1) Nepal, S., Kypri, K., Tekelab, T., Hodder, R. K., Attia, J., Bagade, T., Chikritzhs, T., & Miller, P. (2020). Effects of extensions and restrictions in alcohol trading hours on the incidence of assault and unintentional injury: systematic review. Journal of studies on alcohol and drugs, 81(1), 5-23.
2) Wilkinson, C., Livingston, M., & Room, R. (2016). Impacts of changes to trading hours of liquor licences on alcohol-related harm: a systematic review 2005-2015. Public health research & practice, 26(4), 1-7.
การจำกัดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเพื่อควบคุมผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อความสงบสุข ความปลอดภัย และสุขภาวะของประชาชนโดยรวมจำเป็นแค่ไหน
โดย นางสาวจินตนา จันทร์โคตรแก้ว สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
กฎหมายได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้เกิดความสงบสุขของคนในสังคมโดยรวม การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็เช่นกัน ปัจจุบันสังคมให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล จนบางครั้งอาจไม่ได้คำนึงถึงความสงบสุขโดยรวมของสังคม เช่นเดียวกันกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นประเด็นในสังคมที่หยิบยกออกมาโต้แย้งว่า ประเทศไทยมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลโดยใช้นโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากจนเกินไปจนไปลิดรอนสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ทั้งการจำกัดสถานที่ห้ามดื่มและห้ามขาย จำกัดเวลาการขาย การห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บทความนี้จะฉายภาพให้เห็นอีกด้านของผลกระทบและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในสังคม
ขอบเขตและสิทธิเสรีภาพของบุคคลในรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยฉบับพุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๕ ระบุไว้ว่า สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะ ในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจํากัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะทําการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่านั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น นั่นแสดงให้เห็นว่าการมีสิทธิเสรีภาพมีขอบเขต บุคคลมีสิทธิในการกระทำใดใด หากการกระทำดังกล่าวไม่ไปกระทบเสรีภาพของบุคคลอื่น ดังนั้นจึงขอไล่เรียงข้อโต้แย้งในคำกล่าวที่ว่า การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลิดรอนสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเกินความจำเป็นดังนี้
สรุป
สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลมีได้ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่านั้น ไม่กระทบกระเทือนความสงบเรียบร้อยและไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น ดังนั้นรัฐจึงมีความชอบธรรมในการจำกัดวัน เวลา และสถานที่ในการขายและดื่ม รวมทั้งการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะสิทธิในการดื่มและขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งการโฆษณากระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและสุขภาวะของสังคมโดยรวม
เอกสารอ้างอิง
1. World Health organization. “Best buys’ and other recommended interventions for the prevention and control of noncommunicable diseases: updated(2017) appendix 3 of the Global Action Plan for the Prevention and Control of Noncommunicable diseases 2013-2020. Geneva: World Health Organization; 2017.
2. Popova S, Giesbrecht N, Bekmuradov D, Patra J. Hours and days of sale and density of alcohol outlets: impacts on alcohol consumption and damage: a systematic review. Alcohol Alcohol. 2009;44(5):500-16.
3. Campbell CA, Hahn RA, Elder R, Brewer R, Chattopadhyay S, Fielding J, et al. The Effectiveness of Limiting Alcohol Outlet Density As a Means of Reducing Excessive Alcohol Consumption and Alcohol-Related Harms. American Journal of Preventive Medicine. 2009;37(6):556-69.
4. Sale and Supply of Alcohol Act 2012, (2012).
5. Wilkinson C, MacLean S, Room R. Restricting alcohol outlet density through cumulative impact provisions in planning law: Challenges and opportunities for local governments. Health & Place. 2020;61:102227.
6. Pliakas T, Egan M, Gibbons J, Ashton C, Hart J, Lock K. Do cumulative impact zones reduce alcohol availability in UK high streets? Assessment of a natural experiment introducing a new licensing policy. The Lancet. 2016;388:S94.
7. เดลินิวส์. ซ่อนเหล้า? หนุ่มวัย 26 ซิ่งเสยกลุ่มนักปั่นเสือภูเขากวาดยกแก๊งดับ2เจ็บ5. เดลินิวส์,. 2567 10 มีนาคม 2567.
8. Police across New Zealand performed more than three million breath screening tests (BSTs) in 2023, more than 26% above 2022 figures, and the most in a decade [Internet]. National News. 2024 [cited March,17, 2024]. Available from: https://www.police.govt.nz/news/release/breath-screening-tests-exceed-3-million-2023.
9. New Zealand Transport Agency. Driver licence holders dataset & API 2024 [Available from: https://opendata-nzta.opendata.arcgis.com/search?q=license%20holder.
10. Padon AA, Rimal RN, Siegel M, DeJong W, Naimi TS, JernFigan DH. Alcohol brand use of youth-appealing advertising and consumption by youth and adults. J Public Health Res. 2018;7(1):1269.
ไหวไหมประเทศไทย กับการเปิดผับบาร์ถึงตี 4
ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ
นักวิชาการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา
อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
_____
เช้านี้ดูข่าวที่น่าหดหู่ใจ กับการเสียชีวิตของหนุ่มนักเที่ยวคนหนึ่ง ที่จังหวัดภูเก็ต เหตุเกิดในช่วงเวลา ตี 4 พอดีเป๊ะ ผู้เสียชีวิตที่เมาหมดสตินอนกลิ้งบนถนน และถูกรถยนต์ที่ขับด้วยความเร็วชนจนเสียชีวิต ทั้ง ๆ ที่รอบข้างนั้นมีเพื่อน ๆ รายล้อมอยู่หลายคน
การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรไม่ว่าด้วยสาเหตุใดล้วนเป็นเรื่องน่าเสียใจ ยิ่งกรณีเช่นนี้ที่มีเพื่อนอยู่ในเหตุการณ์หลายคนคงน่าสะเทือนมากยิ่งขึ้น
การขยายเวลาปิดสถานบันเทิงในไทย ทำให้นักเที่ยวดื่มได้มากขึ้น มีโอกาสเมาเพิ่มขึ้น ยิ่งดึกร่างกายยิ่งเหนื่อยล้า บวกกับฤทธิ์แอลกอฮอล์ โอกาสของอุบัติเหตุและเหตุไม่คาดฝันเพิ่มขึ้นเสมอ ตัวเลขจากการวิจัยในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น ประเทศออสเตรเลีย ไอซ์แลนด์ แคนาดา นอร์เวย์ และเนเธอแลนด์ ล้วนไปในทางเดียวกันว่าการผ่อนคลายให้มีการเพิ่มเวลาในการดื่มแบบนั่งดื่มที่ร้าน มีผลเสียด้านอุบัติเหตุ ความรุนแรง อาชญากรรม เพิ่มขึ้น ไม่รู้ว่าส่วนที่ได้มานั้นคุ้มค่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือไม่
อย่างกรณีที่เอามาเล่าประกอบข่าวนั้น คนขับรถที่ขับรถมาอย่างถูกต้องอย่างน้อยก็ต้องเป็นผู้เสียหาย ในฐานะที่ขับรถชนผู้เสียชีวิตที่เมาหมดสติกลางถนนไปแล้ว เหล้าที่เข้าปากคนหนึ่งคนจึงส่งผลกระทบทั้งต่อคนที่ดื่มและไม่ดื่ม
ถ้าสถานการณ์กลับกัน เป็นคนดื่มเหล้าจนเมามายหมดสติเป็นคนขับรถเสียเอง และไล่ชนชาวบ้านชาวช่องที่ทำมาหากินสุจริตในช่วงเช้าของวัน เรื่องน่าเศร้าจะเศร้าแบบทวีคูณเลยครับ อย่าปล่อยให้ถึงขั้นนั้นเลย สำรวจความพร้อมของบ้านเมืองก่อนได้ไหม ก่อนจะปล่อยให้ผับเปิดถึงตีสี่ทั่วประเทศ
นักวิชาการต่างประเทศชี้ ยิ่งลดระดับความเข้มข้นของ กม. เสี่ยงดื่มเพิ่ม เจ็บตายเพิ่ม สูญเสียทางเศรษฐกิจเพิ่ม แนะ ไทยควรมีกฎในการปกป้องผู้เยาว์ และกลุ่มเปราะบาง
เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ Professor Jϋrgen Rehm ที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลกด้านแอลกอฮอล์ นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยนโยบายสุขภาพจิต มหาวิทยาลัยโตรอนโต ประเทศแคนาดา ให้สัมภาษณ์กับศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) ในกรณีที่ว่า “จะเกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย หากลดการควบคุมการตลาดและการขายแอลกอฮอล์?”
Professor Jϋrgen กล่าวว่า ผมขออ้างถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล ได้แก่ Angus Deaton ที่ศึกษาว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้สังคมมีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร ซึ่งเป็นการศึกษาในอังกฤษและในยุโรป และในหนังสือเล่มนี้มีข้อความในหน้าหนึ่ง เขียนว่า “เหตุผลหนึ่งที่สหภาพโซเวียตล่มสลายเพราะขาดการควบคุมแอลกอฮอล์ ทำให้เศรษฐกิจชะลอการเติบโต และลดประโยชน์ที่สังคมพึงได้รับจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ” สิ่งที่กล่าวถึงนี้ค่อนข้างสุดโต่ง เพราะว่าตอนที่ Deaton ศึกษาและเขียนหนังสือเล่มนั้น สหภาพโซเวียตมีระดับการบริโภคแอลกอฮอล์ค่อนข้างสูง และเป็นประเทศที่มีอัตราโรคติดสุราสูงที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง แต่ในอีกแง่หนึ่ง การไม่ควบคุมแอลกอฮอล์ก็เป็นเรื่องสุดโต่งเช่นกัน นั่นแปลว่า เราจำเป็นต้องมีการควบคุมแอลกอฮอล์บ้าง ไม่มีประเทศใดในโลกไม่เก็บภาษีแอลกอฮอล์ และมีแค่ไม่กี่ประเทศในโลกที่ไม่มีการจำกัดอายุผู้ซื้อแอลกอฮอล์ หรือให้เด็กอายุ 10 ขวบสามารถดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยเสรีเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นผมคิดว่า การควบคุมในตอนนี้ของประเทศไทยก็ไม่ได้เป็นการควบคุมที่เข้มงวดจนกลายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ในทางกลับกันการลดระดับความเข้มงวดของการควบคุมแอลกอฮอล์ในประเทศไทย จะยิ่งเสี่ยงต่อการที่ประชาชนบริโภคแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น และนำไปสู่การเสียชีวิต เจ็บป่วย ภาระโรคเพิ่มขึ้น รวมถึงคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่จะส่งผลกระทบตามมา และส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจจากการสูญเสียอำนาจการผลิต การมีกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เป็นการปกป้องประชาชน และการปกป้องประชาชนที่เกี่ยวกับแอลกอฮอล์นั้นมีพื้นฐานทางชีววิทยา เนื่องจากสมองมนุษย์จะไม่หยุดมีพัฒนาการจนกว่าจะอายุเกิน 20 ปี และสมองนั้นมีโอกาสได้รับผลกระทบจากแอลกอฮอล์ค่อนข้างมากในช่วงที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ดังนั้น ประเด็นหลักคือ ประเทศควรมีกฎ และควรมีการปกป้องผู้เยาว์ และปกป้องประชากรกลุ่มเปราะบาง นี่คือหน้าที่ของสังคม Professor Jϋrgen กล่าว
สาขาวิชาระบาดวิทยา อาคารบริหาร ชั้น 6 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทรศัพท์ : 083-5775533 (เวลาราชการ 08.30 - 16.30 น.)
Copyright © 2019 CAS All rights reserved.