ขอเชิญเข้าร่วมประกวดผลงานวิจัยในงาน “การประชุมวิชาการสุราระดับชาติ ครั้งที่ 13”
พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่: ก้าวข้ามจุดบกพร่อง มุ่งสู่เป้าหมายที่ยั่งยืน
(New Alcohol Control ACT: Move the promisings, fix the flaws)
วันที่ 14 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร
1) เงื่อนไขการส่งประกวดผลงานวิจัย
ประเด็น | รางวัลผลงานดีเด่น | รางวัลชมเชย |
มาตรการควบคุม ป้องกัน บำบัด | จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท | จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท |
ผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ | จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท | จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท |
ตัวตนนักดื่ม เยาวชน ชุมชน | จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท | จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท |
2) งานวิจัยที่นำเสนอต้องไม่เกี่ยวข้องหรือได้รับทุนสนับสนุนจากผู้ประกอบการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอออล์
3) ผู้ได้รับการสนับสนุนจะต้องจัดทำเอกสาร และหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายตามที่ ศวส. กำหนด
– สนับสนุนค่าเดินทาง และค่าที่พัก
– ประกาศนียบัตรจากศูนย์วิจัยปัญหาสุรา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4) สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัคร โลโก้ และเอกสารคำชี้แจงได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้ และโทรติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 083-5775533
5) สมัครและส่งบทคัดย่อได้ทาง Google Form: https://forms.gle/FZhEGQCpFeQ55MPd8 โดยแนบทั้งไฟล์ Word และ PDF
6) หมดเขตรับสมัครและส่งบทคัดย่อ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 12.00 น.
7) ประกาศผลงานวิจัยที่ผ่านการคัดเลือก วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 โดยจะแจ้งให้ทราบทางเว็บไซต์ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา https://cas.or.th/?p=11807
8) การพิจารณาตัดสินรางวัลในการนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการสุราระดับชาติครั้งที่ 13 ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 คำตัดสินของคณะกรรมการพิจารณาผลงานและเอกสารถือเป็นที่สิ้นสุด
หมายเหตุ การพิจารณาผลงานวิจัยและบทคัดย่อ อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการฝ่ายวิชาการศูนย์วิจัยปัญหาสุราและผู้ทรงคุณวุฒิ
เตรียมพบกับการประชุมวิชาการสุราระดับชาติ ครั้งที่ 13
“พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่:
ก้าวข้ามจุดบกพร่อง มุ่งสู่เป้าหมายที่ยั่งยืน”
“New Alcohol Control ACT: Move the promisings, fix the flaws”
📅วันที่ 14 – 15 พฤศจิกายน 2567
📌ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
——–
📍กำหนดการ Day 1
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567
เวลา 08.30 – 16.15 น.
ปาฐกถาเกียรติยศ “อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม” ครั้งที่ 1
หัวข้อ “กฎหมายควบคุมแอลกอฮอล์ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง”
Plenary panel discussion 1
หัวข้อ “วางกรอบทิศทางการควบคุมแอลกอฮอล์ในประเทศไทย: วิเคราะห์เชิงวิพากษ์กฎหมายใหม่ “
Symposium
Symposium 1: อิทธิพลทางการค้า อิทธิพลทางการเมือง และธรรมาภิบาลในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ห้องมิราเคิล แกรนด์ ซี ชั้น 4)
Symposium 2: การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (กายภาพและการตลาด) (ห้องมิราเคิล แกรนด์ บี ชั้น 4)
Symposium 3: การบำบัดรักษาและเยียวยา (ห้องมิราเคิล แกรนด์ เอ ชั้น 4)
Oral Presentation
Research 1: Topic มาตรการควบคุม ป้องกัน บำบัด (ห้องมิราเคิล แกรนด์ ซี ชั้น 4)
Research 2: Topic ผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ (ห้องมิราเคิล แกรนด์ บี ชั้น 4)
Research 3: Topic ตัวตนนักดื่ม เยาวชน ชุมชน Research 3: Topic ตัวตนนักดื่ม เยาวชน ชุมชน (ห้องมิราเคิล แกรนด์ เอ ชั้น 4)
Workshop: ออกแบบอนาคตเยาวชนหญิงไทยด้วย Design Thinking: เส้นทางสู่การควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ห้องบอร์ดรูม ชั้น 4)
——–
📍กำหนดการ Day 2
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567
เวลา 09.00 – 15.30 น.
Plenary panel discussion 2
หัวข้อ “ปลดล็อกการควบคุมแอลกอฮอล์ที่มีประสิทธิภาพในประเทศไทย: เชื่อมโยงนโยบายกับการปฏิบัติ”
Symposium
Symposium 4 การบังคับใช้กฎหมาย (ห้องมิราเคิล แกรนด์ ซี ชั้น 4)
Symposium 5 ภาษีและการควบคุมด้านราคา (ห้องมิราเคิล แกรนด์ บี ชั้น 4)
Symposium 6 การกระจายอำนาจสู่พื้นที่ และการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การท่องเที่ยวแบบปลอดภัย (ห้องมิราเคิล แกรนด์ เอ ชั้น 4)
Call for action (เคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลง สู่สังคมสุขภาวะและยั่งยืน)
เอกสารชี้แจงการเบิกจ่ายค่าเดินทาง:
เตือนภัย!! ดื่มเหล้าเถื่อนวันนี้ อาจไม่ตายวันหน้า แต่ตายวันนี้เลย ตอนนี้ตายแล้ว 3 บาดเจ็บสาหัสเพียบ
จากกรณีประชาชนดื่มสุรา (สุราต้ม) ยาดอง แล้วมีอาการเวียนศีรษะ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง มีอาการตามองไม่เห็นหรือมองเห็นผิดปกติทั้ง 2 ข้าง อาจมีอาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว ซึม ซึ่งเกิดจากภาวะพิษจากเมทานอล หรือ Methanol intoxication จำนวน 31 คน ใส่ท่อช่วยหายใจ 14 คน ต้องปั้มหัวใจ 6 คน และทำการฟอกไตฉุกเฉิน 20 คน และโดยผู้ป่วยล้างไตเฉียบพลันบางราย หากไตไม่สามารถฟื้นฟูกลับมาได้ก็อาจจะต้องล้างไตไปตลอดชีวิต และอาจมีการทำงานของตับล้มเหลว นอกจากนี้ ข้อมูลเบื้องต้นยังพบเพียง 1 คนที่ตาบอดชัดเจน ผู้ป่วยบางรายเห็นภาพเป็นปุยสีขาว แต่ยังสรุปไม่ได้ว่าตาบอด จึงต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
จากการสืบสวน พบผู้ป่วยมีประวัติเคยซื้อสุราต้มจาก 3 พื้นที่ ได้แก่ ซ.หทัยราษฎร์ 33 ชุมชนหมู่บ้านร่มทิพย์ (เขตคลองสามวา), ซ.สามวา 1 (เขตมีนบุรี) และซอยสามวา 6 (เขตมีนบุรี) โดยผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบป้องกันและปราบปราม กรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ได้เก็บตัวอย่างสุราที่ขายในซุ้มยาดอง 3 แห่ง ในเขตคลองสามวาและมีนบุรีไปตรวจสอบ พบว่า มีสารเมทานอลเป็นส่วนผสม ขณะที่การตรวจโรงงานแห่งหนึ่งในเขตสะพานสูง พบ เป็นแหล่งผลิตที่นำเมทานอลมาผสมกับน้ำเปล่า ให้กลายเป็นเหล้าขาว 40 ดีกรี จากนั้นแม่ค้าคนกลางจะมารับซื้อเพื่อนำไปผสมเป็นเหล้าดองยาและขายต่อให้กับซุ้มยาดองอีก 18 ร้าน ใน 6 เขตพื้นที่ ขณะนี้สั่งปิดทั้งหมดแล้ว ล่าสุด ผลการตรวจวิเคราะห์สุราของกลาง โดยห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของกรมสรรพสามิต ยืนยันแล้วว่า น้ำสุรามีเมทานอล และสารไอโซไพรพิล แอลกอฮอล์ (Isopropyl alcohol : IPA) เจือปน
เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2565 เกิดเหตุการณ์สลดกรณีดื่มเหล้าเถื่อนต้มเอง พบยอดผู้เสียชีวิตจากการบริโภคสุราต้มเองในช่วงไม่ถึง 1 เดือนที่ผ่านมา มีมากกว่า 30 คน และเกือบ 100 คนถูกหามส่งโรงพยาบาล และอีกประเทศ คือ อินเดีย ที่มีการจับแก๊งค้าเหล้าเถื่อนในปี 2564 มีผู้เสียชีวิต 25 คน และนอนโรงพยาบาลหลายคน
นอกจากนี้ ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี ระบุว่า ในช่วงปี 2551 ถึง 2562 ประเทศไทยมีผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากเมทานอล 573 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยพบผู้ป่วยชายมากกว่าผู้ป่วยหญิง แน่นอนว่าปัญหาสำคัญของการผลิตสุราเถื่อน คือ เมทานอล (Methanol) ซึ่งเมื่อเกิดพิษรุนแรงแล้ว ถ้าไม่เสียชีวิตก็จะเกิดภาวะเลือดเป็นกรดรุนแรงและตาบอดจากกรดฟาร์มิก (Formic acid) โดยสาเหตุของการเกิดพิษจากการหมักสุราเถื่อน สามารถเกิดขึ้นได้จาก 2 กรณี คือ 1) การใช้ยีสต์ผิด ทำให้มีการปนเปื้อนจุลชีพอื่น รวมถึงการมีเพกติน (Pectin) ในวัตถุดิบสูง ส่งผลให้แบคทีเรียสร้างเมทานอลขึ้นมาแทน ซึ่งยีสต์ที่ใช้ในการหมักสุราต้องเป็น S. cerevisiae 2) ผู้ผลิตบางแห่งแอบผสมเมทานอล เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
เมื่อย้อนกลับไปในปี 2565 ประเทศไทยได้ออกกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565 ที่อนุญาตให้ผลิตสุราดื่มเองได้โดยไม่ขาย และอนุญาตให้ผู้ผลิตรายย่อยผลิตขายได้โดยไม่กำหนดกำลังผลิตขั้นต่ำ โดยให้เหตุผลว่าเป็นการคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนที่จะได้จากการปลดล็อกการผลิตสุรา ให้สามารถกระจายรายได้ให้ผู้ประกอบการรายย่อย และสร้างประเทศที่ไม่ผูกขาด และผู้บริโภคก็ยังปลอดภัย ซึ่ง ณ ตอนนี้ ประชาชนหรือผู้บริโภคไม่ปลอดภัยอีกต่อไป และเป็นที่น่าสังเกตุว่า ถ้าผู้ผลิตต้มเหล้าเพื่อดื่มเอง มักจะไม่เกิดอันตราย เพราะรู้ว่าถ้าผสมเมทานอลลงไป อาจตายได้ แต่ถ้าผู้บริโภคซื้อเหล้าเถื่อนที่ไม่ทราบแหล่งที่มา ไม่รู้จักผู้ผลิต มักจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดอย่างที่เป็นคลัสเตอร์อยู่ตอนนี้ เพราะผู้ผลิตทำไว้ขาย ไม่ได้ทำกินเอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การอนุญาตให้ผู้ผลิตรายย่อยผลิตสุราขายได้นั่นอาจเป็นปัญหา
เอกสารอ้างอิง:
https://www.thaipbs.or.th/news/content/343452
https://www.hfocus.org/content/2024/08/31452
https://www.thaipbs.or.th/news/content/343472
https://today.line.me/th/v2/amp/article/lWP5LX
https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_6426820
https://www.thaipbs.or.th/news/content/343527
สาขาวิชาระบาดวิทยา อาคารบริหาร ชั้น 6 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทรศัพท์ : 083-5775533 (เวลาราชการ 08.30 - 16.30 น.)
Copyright © 2019 CAS All rights reserved.