News, ข่าวเด่น, รายงานวิจัย, สื่อเผยแพร่

รายงานวิจัย เรื่อง โครงการประเมินผลการรณรงค์ “งดเหล้าเข้าพรรษาปี 2566” : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปใน 12 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

News, ข่าวเด่น, รายงานวิจัย, สื่อเผยแพร่

รายงานวิจัย เรื่อง แนวโน้มสถานการณ์การเจ็บป่วยและเสียชีวิต อันมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยปี 2558-2562

News, ข่าวเด่น, บทความ

เมื่อรัฐบาล จะลดภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์!?


“ความวัว” ยังไม่ทันจะจางหายไป แล้ว “ความควาย” กำลังจะเข้ามาทับถม เริ่มจากรัฐบาลปัจจุบัน ได้ประกาศปลดล็อค ให้สถานบริการในโรงแรม และนอกโรงแรมของ 5 พื้นที่นำร่อง สามารถขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้ถึงเวลาตี 4 แล้วถัดมาไม่กี่วัน กรมสรรพสามิตเผยว่าอยู่ในระหว่างปรับโครงสร้างภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มีความเหมาะสม เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ จึงเสนอให้รัฐบาลลดภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเน้นการลดภาษีไวน์ และสุราชุมชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวให้กระจายทั่วไทย

ในทางวิชาการนั้น หลักการเก็บภาษีจากผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็น “ทำนบกั้น” มิให้ปัญหา ต่าง ๆ ลุกลาม ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกประเทศล้วนต้องจำกัดปัญหาต่อสังคมจากการขายและการดื่ม ถ้ารัฐบาลจะลดทำนบนั้นลง โดยลดภาษีให้แก่ผู้ผลิต ประชาชนเราทั่วไป เดาได้ไม่ยากเลยว่า ราคาขายปลีก ย่อมลดลง แล้วผลลัพธ์อันไม่พึงประสงค์จะมีตามมา อย่างไรบ้าง

ผลการศึกษาในต่างประเทศ เช่น ฟินแลนด์ กับ เดนมาร์ก ภายหลังปรับลดภาษีเหล้า เบียร์ ไวน์ 45% ปรากฏว่า ราคาขายได้ลดลงไป 25% คนในประเทศฟินแลนด์ มีการดื่มเพิ่มขึ้น 10% เพราะราคาขายปลีกถูกลง ส่วนคนในประเทศเดนมาร์ก มีการดื่มเท่าเดิม ซึ่งดูเหมือนว่า จะมีการอิ่มตัวของการบริโภคในเดนมาร์ก แต่ถ้าเราตีความจากผลการศึกษาในเดนมาร์ก ให้พึงนึกถึงบริบทวัฒนธรรมการกินดื่มในยุโรปหลายประเทศนั้น ต่างจากในไทยเราอย่างสิ้นเชิง

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในรอบ 4 ปีมานี้ พบว่า คนไทยมีผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 30% อีก 70% ไม่ได้ดื่ม คือ อาจเคยดื่มและเลิกแล้ว หรือไม่ดื่มเลย ที่น่าสนใจคือ ไทยเรามีนักดื่มหน้าใหม่ ที่อายุ 15 ปีขึ้นไปมากขึ้น อย่างในปี 2564 มีราว ๆ 1.4 ล้านคน ที่น่าตกใจกว่านั้น วัยรุ่นหญิงที่ดื่มในปัจจุบัน มีจำนวนเพิ่มขึ้น

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นเป็นสิ่งที่ผู้ซื้อ ไม่ได้สนใจราคามาก คือ ยามต้องการจะดื่ม แม้ราคาสูงขึ้น ก็ยินดีซื้อกินดื่ม แล้วถ้ายิ่งรัฐบาลจะลดภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยแล้ว ราคาขายปลีกจะถูกลง ย่อมมีผลจูงใจผู้ซื้ออย่างเยาวชน และผู้มีรายได้น้อย ให้ซื้อดื่มมากขึ้นไปอีก

ทำไมรัฐจึงไม่ห่วงใยสุขภาพและความปลอดภัยแก่สาธารณชนโดยรวมเลย แล้วไทยเรายังมีกรอบใหญ่อีกอันรออยู่ คือ กลุ่มประเทศยุโรป (EU) กำลังขอเจรจาเปิดเสรีการค้ากับไทย ซึ่งถ้าผลการเจรจาตกลงแล้วเสร็จ โดยไม่มีการยกเว้นสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ออกจากกรอบข้อตกลงการค้าเสรี สินค้าผ่านแดนเข้า-ออก ระหว่างไทยกับยุโรป อัตราภาษีจะเป็น 0% หรือ บางรายการเก็บในอัตราที่ต่ำมากในอนาคต รวมถึงไวน์กับเหล้า ที่รอหลากทะลัก เข้ามายังไทยอีกมากมาย

ที่น่ากังวลในทางสาธารณสุข คือ สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจมีผู้ท้วงว่า การลดภาษีลง ราคาขายปลีกลดลง แล้วถ้าไม่ได้มีอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น ก็จะไม่เป็นปัญหาอันใด ซึ่งก็จริง แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นเล่า ผลจะเป็นอย่างไร ไทยเรามีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ปีละ 2 หมื่นคน แล้ว 1 ในสาเหตุนั้น เกิดจากการเมาแล้วขับ มีคนตายประมาณ 1,000–2,000 คน และได้รับบาดเจ็บอีกหลายพันคนต่อปี แล้วยังต้องสูญเสียทรัพย์สิน และสร้างภาระต่อเนื่องไปยังสมาชิกครอบครัวผู้อยู่ข้างหลังในระยะยาว

ดูผิวเผิน รัฐบาลมีเจตนาต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มการจ้างงานและรายได้ ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์นั้น มีอยู่หลายวิธี แต่ครั้นดูจากรายงานข่าว น่าประหลาดที่รัฐบาลจะเลือกวิธีกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวกินดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยมากขึ้น และ แน่นอนว่าคนไทยเราเอง ย่อมดื่มเพิ่มขึ้นด้วย เพราะราคาถูกลง แล้วเช่นนั้น สังคมไทยจะต้องแลกอะไรบ้างกับนโยบายนี้ อย่างแรก รัฐจะเสียรายได้บางส่วนอันควรได้จากภาษี ต่อมา ถ้ามีผู้มึนเมาแล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น มีผู้ได้รับความเสียหาย ย่อมเกิดภาระยุ่งยากแก่หลายฝ่ายตามมา

คนไทยเราได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนประกันสังคม และสิทธิ์เบิกจ่ายข้าราชการ กลุ่มนี้มีจำนวนรวม 28% เท่านั้น อีก 70% ได้รับสิทธิ์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือได้รักษาฟรี 16 อาการ ซึ่ง 1 ในนั้น เป็นการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เหตุเกิดที่ใด ให้เข้ารักษาโรงพยาบาลใกล้จุดนั้น เพื่อเยียวยาเบื้องต้น แต่ท้ายที่สุดแล้ว ผู้ประสบเหตุจะถูกส่งไปรักษาต่อ ในโรงพยาบาลที่ผู้นั้นได้ลงทะเบียนไว้แต่แรก โดยรัฐออกค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้ มีบางรายการที่ผู้ประสบเหตุต้องจ่ายเอง เช่น ค่าสแกนสมอง แล้วยังต้องแบกรับภาระการรักษาต่อเนื่อง การกายภาพบำบัด ความพิการ การสูญเสียหน้าที่การงาน หรือ แม้กระทั่งเสียชีวิต ซึ่งเป็นต้นทุนที่ต้องสูญไปไม่น้อยแก่ครอบครัวเลย

ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา รัฐบาลในอดีตเน้นการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยต่อสาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนาคตของเยาวชนและการป้องกันปัญหาดื่มเมาแล้วขับ การตัดสินใจของรัฐบาลปัจจุบัน ด้วยการหย่อนการควบคุมลง ย่อมนำพาให้เกิดการสูญเสียทางสังคมเพิ่มมากขึ้นไปอีก ประชาชนชาวบ้านอาจเกิดคำถามในใจว่า โดยเนื้อในหวังเพียงเพิ่มพูนรายได้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจเหล่านี้ โดยห่อหุ้มด้วยคำว่า “เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวไทย” รัฐบาลควรทบทวนว่า ประชาชนไทยส่วนใหญ่ คิดเห็นกันอย่างไร และสนับสนุนนโยบายลดทอนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ทยอยออกมากันเช่นนี้ จริงหรือไม่

____________
โดย…
ผศ.ดร.สมัย โกรทินธาคม
ดร.นัฐพร โรจนหัสดิน
คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะทำงาน ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Infographic, News, ข่าวเด่น

ถาม-ตอบ ประเด็นร้อน!! จะเกิดอะไรขึ้น? หากมีการลดภาษีไวน์และสุราชุมชน กับ ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ


ถาม-ตอบ ประเด็นร้อน!! จะเกิดอะไรขึ้น? หากมีการลดภาษีไวน์และสุราชุมชน

โดย ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ
อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
___________


Q: ตามที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังมีแนวคิดในการลดอัตราภาษีไวน์และสุราชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการชอปปิงและท่องเที่ยว อาจารย์คิดว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งผลอย่างไร และมีข้อห่วงใยต่อเรื่องนี้อย่างไร

A: ก่อนอื่นเราคงต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มิได้เป็นสินค้าปกติ แม้จะให้อรรถประโยชน์จากการบริโภคแต่ก็ส่งผลกระทบทางสุขภาพต่อผู้บริโภคและต้นทุนสังคมดังเช่นหน่วยงานสากลชี้ให้เห็นประเด็นดังกล่าว งานวิจัยที่ผ่านมาของไทยพบว่าต้นทุนจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปี 2564 สูงถึงร้อยละ 1 ของ GDP ในขณะที่องค์การสหประชาชาติกำหนดให้การลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเป้าหมายหนึ่งของ SDG และทางการไทยได้ดำเนินการในแนวทางลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างยาวนาน ทั้งมาตรการภาษีและไม่ใช่ภาษี อย่างไรก็ตาม เราพบว่ามาตรการด้านภาษีเป็นมาตรการที่มีประสิทธิผล

ประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างไวน์กับการดึงดูดนักท่องเที่ยวเป็นเรื่องที่ยังไม่มีหลักฐานแน่นชัด การบริโภคไวน์ในประเทศมักจะจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้สูงและร้านอาหารต่างชาติที่มักดื่มไวน์ควบคู่กับอาหาร ราคาไวน์ที่ลดลงจะส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวเพิ่มขึ้นได้อย่างไรยังเป็นคำถามที่น่าสงสัย ในขณะที่ การลดภาษีสรรพสามิต และภาษีนำเข้าด้วยย่อมส่งผลให้ราคาไวน์ลดลง ผู้บริโภคซึ่งรวมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมีแนวโน้มจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้น

ในเชิงโครงสร้างของภาษี งานวิจัยที่ผ่านมาของคณะวิจัยที่ผมร่วมอยู่พบว่าไวน์นำเข้ามีค่าความยืดหยุ่นต่อราคาสูง การลดราคาไวน์จะส่งผลให้การบริโภคเพิ่มขึ้นมากกว่าโดยเปรียบเทียบกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่น ในขณะที่ไวน์เป็นสินค้าที่เป็นคู่แข่งกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผู้ผลิตรายย่อย เช่น สุราขาว สุราสี และเบียร์รายย่อย มีความพยายามที่จะผลิต ซึ่งการลดภาษีไวน์น่าจะขัดแย้งกับข้ออ้างของรัฐบาลที่จะส่งเสริมผู้ผลิตรายย่อยและชุมชน

กรณีของสุราชุมชนที่ทางกระทรวงการคลัง จะดำเนินการลดภาษีสรรพสามิตอาจจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างตลาด ซึ่งปัจจุบันสุราที่อนุญาตให้ชุมชนผลิตได้เป็นสุราขาว ถูกครอบงำตลาดโดยผู้ผลิตรายใหญ่ และเสียภาษีในอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทอื่น ในขณะที่รายใหญ่มีความสามารถในการลดราคาเพื่อกีดกันผู้ผลิตรายย่อยหน้าใหม่เข้าสู่ตลาด หากทางการต้องการเพิ่มผู้ประกอบประการรายย่อยควรดำเนินมาตรการอื่น

โดยสรุป ผมมีความเห็นว่าภาครัฐยังควรดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอันไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพ และสังคม เครื่องมือทางภาษีเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การปรับปรุงโครงสร้างภาษีควรดำเนินการอย่างรอบคอบ โครงสร้างภาษีควรจะมีลักษณะที่ง่าย และมีเป้าหมายเพื่อลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยไม่บิดเบือนพฤติกรรมการบริโภค มิใช่เพียงการประเมินปริมาณภาษีจะจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นหรือลดลง

News, ข่าวเด่น

รองผู้อำนวยการ ศวส. ห่วง เปิดผับตีสี่ ไม่ได้มีแค่อุบัติเหตุ แต่เพิ่มผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อบุคคลรอบข้าง จีัรัฐ!! ก่อนปีใหม่นี้ ต้องยืนยันได้ว่ามาตรการนี้ไม่เพิ่มอุบัติเหตุและมีความคุ้มค่า


รศ.ดร.นพ.พลเทพ วิจิตรคุณากร รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) กล่างถึงกรณีที่รัฐบาลกำลังจะดำเนินการนโยบายขยายเวลาเปิดสถานบริการถึง 04.00 น. ใน 5 พื้นที่นำร่อง ได้แก่ สถานบริการในท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดภูเก็ต จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ และท้องที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และตามกฎกระทรวงฉบับนี้จะขยายเวลาให้สถานบริการในทุกท้องที่ทั่วประเทศสามารถเปิดบริการในคืนส่งท้ายปีเก่า 31 ธันวาคม ไปจนถึงเวลา 06.00 น. ของวันปีใหม่ 1 มกราคม 2567 โดยตนเองเป็นห่วงว่านโยบายนี้อาจส่งผลให้เกิดผลกระทบเชิงลบตามมามากกว่าความคาดหวังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องอุบัติเหตุจราจรที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนในช่วงเวลาดังกล่าว และยังเพิ่มการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มเยาวชนอีกด้วย ซึ่งยังไม่เห็นมาตรการที่ชัดเจนในการควบคุมหรือจัดการกับผลกระทบเชิงลบ รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ และระบบเยียวยาหรือดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบ

รศ.ดร.นพ.พลเทพ กล่าวต่อว่า นอกจากการดื่มแล้วขับที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจราจรแล้วนั้น แอลกอฮอล์ยังมีฤทธิ์ทำให้ผู้ดื่มลดหรือขาดความยับยั้งชั่งใจ และการตัดสินใจบกพร่อง ที่อาจนำไปสู่การคุกคามทางเพศ โดยมีงานวิจัยชี้ชัดว่า บทบาทของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการล่วงละเมิดทางเพศมีความสำคัญมาก ประมาณ 50% ของการล่วงละเมิดทางเพศ กระทำโดยผู้ชายที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งไม่ว่าการคุกคามทางเพศจะเกิดขึ้นในระหว่างหรือหลังการดื่มหรือไม่ก็ตาม เหยื่อหรือผู้ถูกกระทำไม่ได้มีส่วนที่ทำให้เกิดการคุกคามทางเพศนี้ขึ้นมา แต่ผู้กระทำคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบการกระทำของตนเองทั้งทางกฎหมายและศีลธรรมจรรยา นอกจากนี้พฤติกรรมการดื่มสุรายังสัมพันธ์กับจำนวนและความรุนแรงในสังคม และเวลาในการให้บริการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานบันเทิงมีความเชื่อมโยงกับสถิติช่วงเวลาการเกิดอาชญากรรม เช่น การทำร้ายร่างกาย การทะเลาะวิวาท การทำลายข้าวของและทรัพย์สินสาธารณะ เป็นต้น ซึ่งการควบคุมเวลาในการขายและการให้บริการของสถาบันเทิงสามารถช่วยป้องกันและลดปัญหาอาชญากรรมลงได้ เพราะอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดเป็นปัญหาที่ป้องกันและควบคุมได้ ดังนั้น ก่อนปีใหม่นี้ รัฐต้องแสดงให้เห็นว่าหลังจากที่มีการขยายเวลาแล้ว อุบัติเหตุจราจรไม่เพิ่มขึ้น และมาตรการที่ดำเนินการอยู่มีความคุ้มค่า โดยหลังจากวันที่ 15 ธันวาคมนี้ไปจนถึงหลังปีใหม่ รัฐต้องติดตามประเมินผลของมาตรการเป็นระยะและนำเสนอผลที่เกิดขึ้นต่อสาธารณชน เพื่อช่วยในการปรับปรุงมาตรการให้เหมาะสมต่อการปกป้องสุขภาพและชีวิตของประชาชน โดยความเสี่ยงนี้ไม่ควรรอนาน

News, ข่าวเด่น

การดื่มแอลกอฮอล์ แม้ไม่ได้เมา แต่มีข้อมูลวิชาการชี้ชัด!! ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ทำให้การตัดสินใจบกพร่อง


จากกระแสข่าวของอดีตนักกีฬาชื่อดัง ถูกเยาวชนอายุ 17 ปี เข้าแจ้งความว่าถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนของข้อเท็จจริงจากการสืบสวน แต่ข้อมูลที่ทราบแน่ชัดแล้วนั้น คือ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีการดื่มแอลกอฮอล์จากสถานบันเทิงก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ตามที่เป็นข่าว

โดยจากการทบทวนเอกสารวิชาการในประเทศและต่างประเทศ มีข้อมูลที่ชี้ชัดว่า บทบาทของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการล่วงละเมิดทางเพศมีความสำคัญมาก แม้ว่าความรุนแรงทางเพศมักถูกจะประเมินต่ำไปเสมอ เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรายงาน แต่ประมาณร้อยละ 50 ของการล่วงละเมิดทางเพศที่ได้รับการรายงานนั้น กระทำโดยผู้ชายที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้ว่าผู้ชายก็อาจจะประสบกับความรุนแรงทางเพศที่เกี่ยวข้องกับการดื่มของผู้อื่นได้ด้วยก็ตาม แต่การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์นี้พบยากมาก ผู้ชายน้อยกว่าร้อยละ 5 รายงานว่า เคยถูกบังคับหรือกดดันทางเพศเนื่องจากการดื่มที่มีปัญหาของสมาชิกในครอบครัว

ซึ่งฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ทำให้ผู้ดื่มลดหรือขาดความยับยั้งชั่งใจ ผู้ชายบางคนจึงมักจะดื่มสุราเพื่อให้ตนเองรู้สึกว่า ได้ปลดปล่อยการควบคุมตนเอง มีอำนาจมากขึ้น ตื่นเต้นกระชุ่มกระชวย หรือท้าทายมากขึ้น หรือดื่มเพื่อย้อมใจตนเองให้มีความกล้ามากขึ้น กลุ่มเพื่อนก็อาจมีส่วนกดดันให้มีพฤติกรรมรุนแรงหลังการดื่มมากขึ้นด้วย ดังนั้น แอลกอฮอล์ทำให้การตัดสินใจบกพร่อง ผู้ที่ดื่มสุราจึงอาจจะคิดว่า เหยื่อที่อาจจะดื่มสุราอยู่ด้วยมีความต้องการทางเพศ หรือยินยอมต่อการกระทำทางเพศนั้นด้วย หรือมองว่าเสื้อผ้า ท่าทางของเหยื่อ แสดงว่าเหยื่อเองก็มีความต้องการทางเพศเช่นกัน จึงพยายามที่จะมีเพศสัมพันธ์กับเหยื่อโดยไม่ได้สนใจว่า เหยื่อนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม และหากเหยื่อของการคุกคามทางเพศเองก็ดื่มสุรา แอลกอฮอล์ทำให้การตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นบกพร่องไป อาจจะไม่ได้คิดว่า ตนเองอยู่ในภาวะที่กำลังจะถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศ และหากเหยื่ออยู่ในภาวะเมาสุราด้วย ก็ยิ่งทำให้ความสามารถในการต่อต้านขัดขืนการล่วงละเมิดทางเพศนั้นลดลง

ไม่ว่าการคุกคามทางเพศจะเกิดขึ้นในระหว่างหรือหลังการดื่มสุราหรือไม่ก็ตาม เหยื่อหรือผู้ถูกกระทำไม่ได้มีส่วนที่ทำให้เกิดการคุกคามทางเพศนี้ขึ้นมา มันไม่ใช่ความผิดของผู้ถูกกระทำ แต่ผู้กระทำคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบการกระทำของตนเองทั้งทางกฎหมายและศีลธรรมจรรยา จะเห็นได้ว่าจากข้อมูลที่กล่าวถึงข้างต้นมีความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ตอนนี้ และอดีตนักกีฬาคือผู้กระทำ ที่สังคมและผู้ถูกกระทำกำลังเรียกร้องให้ออกมารับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งทางกฎหมายและศีลธรรมจรรยา

___________
ที่มา
• อรทัย วลีวงศ์. (2562) ผลกระทบจากการดื่มสุราของผู้อื่น. ใน: สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, สมสมร ชิตตระการ. ข้อเท็จจริงและตัวเลข เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2561. สงขลา: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
https://metoomvmt.org/
• สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, คำนวณ อึ้งชูศักดิ์, บก. (2566). สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ฉบับภาษาไทย. สงขลา : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

1 2 6 7 8 9 10 16 17
Privacy Settings
We use cookies to enhance your experience while using our website. If you are using our Services via a browser you can restrict, block or remove cookies through your web browser settings. We also use content and scripts from third parties that may use tracking technologies. You can selectively provide your consent below to allow such third party embeds. For complete information about the cookies we use, data we collect and how we process them, please check our Privacy Policy
Youtube
Consent to display content from - Youtube
Vimeo
Consent to display content from - Vimeo
Google Maps
Consent to display content from - Google
Spotify
Consent to display content from - Spotify
Sound Cloud
Consent to display content from - Sound

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors