ขอเชิญเข้าร่วมประกวดผลงานวิจัยในงาน “การประชุมวิชาการสุราระดับชาติ ครั้งที่ 13”
พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่: ก้าวข้ามจุดบกพร่อง มุ่งสู่เป้าหมายที่ยั่งยืน
(New Alcohol Control ACT: Move the promisings, fix the flaws)
วันที่ 14 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร
1) เงื่อนไขการส่งประกวดผลงานวิจัย
ประเด็น | รางวัลผลงานดีเด่น | รางวัลชมเชย |
มาตรการควบคุม ป้องกัน บำบัด | จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท | จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท |
ผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ | จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท | จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท |
ตัวตนนักดื่ม เยาวชน ชุมชน | จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท | จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท |
2) งานวิจัยที่นำเสนอต้องไม่เกี่ยวข้องหรือได้รับทุนสนับสนุนจากผู้ประกอบการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอออล์
3) ผู้ได้รับการสนับสนุนจะต้องจัดทำเอกสาร และหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายตามที่ ศวส. กำหนด
– สนับสนุนค่าเดินทาง และค่าที่พัก
– ประกาศนียบัตรจากศูนย์วิจัยปัญหาสุรา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4) สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัคร โลโก้ และเอกสารคำชี้แจงได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้ และโทรติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 083-5775533
5) สมัครและส่งบทคัดย่อได้ทาง Google Form: https://forms.gle/FZhEGQCpFeQ55MPd8 โดยแนบทั้งไฟล์ Word และ PDF
6) หมดเขตรับสมัครและส่งบทคัดย่อ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 12.00 น.
7) ประกาศผลงานวิจัยที่ผ่านการคัดเลือก วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 โดยจะแจ้งให้ทราบทางเว็บไซต์ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา https://cas.or.th/?p=11807
8) การพิจารณาตัดสินรางวัลในการนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการสุราระดับชาติครั้งที่ 13 ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 คำตัดสินของคณะกรรมการพิจารณาผลงานและเอกสารถือเป็นที่สิ้นสุด
หมายเหตุ การพิจารณาผลงานวิจัยและบทคัดย่อ อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการฝ่ายวิชาการศูนย์วิจัยปัญหาสุราและผู้ทรงคุณวุฒิ
Mr. Dag Rekve เจ้าหน้าที่อาวุโส องค์การอนามัยโลกสำนักงานใหญ่ (World Health Organization) นำเสนอข้อมูลความท้าทายในจัดการปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับนานาชาติและระดับประเทศ และทิศทางในอนาคต ชี้ว่าคนทั่วโลกกว่าร้อยละ 56 ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการดื่มไม่ใช่เรื่องปกติของสังคม ร้อยละ 4.7 ของการเสียชีวิตเกี่ยวข้องกับการดื่มแอลกอฮอล์หรือกว่า 2.6 ล้านคน ในจำนวนนี้กว่าครึ่งหนึ่งเสียชีวิตก่อนวัยหกสิบซึ่งนับเป็นความสูญเสียมหาศาล ทั้งที่ป้องกันได้ด้วยนโยบายแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมราคา การจำกัดการเข้าถึงทางกายภาพ และควบคุมกิจกรรมการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามยุทธศาสตร์โลกและแผนปฏิบัติการระดับโลก แต่อุปสรรคที่สำคัญในบางประเทศที่ทำให้ไม่สามารถออกนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มุ่งเน้นการปกป้องสุขภาพของประชาชนได้ คือ อิทธิพลของกลุ่มธุรกิจในกระบวนการตัดสินทางนโยบาย การปรับแก้กฎหมายใดๆ ต้องไม่เปิดช่องให้ธุรกิจเข้ามาแทรกแซง ซึ่งตอนนี้องค์การอนามัยโลกกำลังเตรียมออกแนวปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อป้องกันปัญหานี้
“นโยบายควบคุมเหล้าไทยจัดว่าก้าวหน้า การแก้กฎหมายครั้งนี้ควรมองไปอนาคตระยะยาวเอาสวัสดิภาพและคุณภาพชีวิตประชากรเป็นตัวตั้ง ข้อมูลภาระโรคปี 2019 ร้อยละ 7.7 ของการเสียชีวิตของประชากรไทยเกิดจากแอลกอฮอล์ หรือกว่า 38,073 ราย รัฐควรตัดสินใจว่าจะลดความสูญเสียนี้อย่างไรต่อไป การจัดการปัญหาแอลกอฮอล์ต้องร่วมกันหลายภาคส่วนและทำในทุกระดับ การลดหย่อนความเข้มข้นของกฎหมายควบคุมเหล้าเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวควรต้องทบทวนให้ดี นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาไทยไม่ได้มาเพื่อดื่มในประเทศสวยงามทั้งสถานที่ วัฒนธรรม และผู้คน”
Professor Thomas F. Babor จาก University of Connecticut School of Medicine สหรัฐอเมริกา นักวิชาการอาวุโสระดับโลกและหัวหน้าบรรณาธิการวารสารวิชาการชั้นนำด้านการเสพติดหลายสำนักและบรรณาธิการหนังสือ “สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา” ให้ข้อมูลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลประโยชน์และต้นทุนผลกระทบของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจยามราตรีด้วยการส่งเสริมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากต่างประเทศ ที่เนเธอแลนด์พบผลจากขยายเวลาขายเพิ่ม 1 ชั่วโมงในช่วงกลางคืนทำให้มีการเรียกรถพยาบาลจากเหตุการณ์บาดเจ็บจากแอลกอฮอล์มากขึ้นถึง 34% ที่นอร์เวย์ขยายเวลาขายเพิ่ม 1-2 ชั่วโมงทำให้อุบัติการณ์การทำร้ายร่างกายเพิ่มขึ้น 25% การท่องเที่ยวสายปาร์ตี้ (party tourisms) นี้ผลประโยชน์อาจไม่ได้สูงเพราะนักท่องเที่ยวกลุ่มวัยรุ่นกำลังซื้อไม่สูงและอยู่มาเพียงระยะสั้น ในขณะที่สร้างต้นทุนทางสังคมที่เพิ่มขึ้นต่อห้องฉุกเฉินและสถานีตำรวจ และอาจมีความเสี่ยงปัญหายาเสพติดเพิ่มขึ้นด้วย หากไทยจะกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจควรเน้นไปที่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (wellness tourism) และวัฒนธรรมมากกว่า ซึ่งเป็นที่นิยม ไม่สร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดี และสร้างมูลค่าสูงกว่าจากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่กำลังซื้อสูงกว่า
สาขาวิชาระบาดวิทยา อาคารบริหาร ชั้น 6 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทรศัพท์ : 083-5775533 (เวลาราชการ 08.30 - 16.30 น.)
Copyright © 2019 CAS All rights reserved.