รายงานวิจัย, สื่อเผยแพร่

รายงานวิจัย เรื่อง การควบคุมพฤติกรรมและการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงที่เกี่ยวข้องกับการดื่ม แอลกอฮอล์ในภาคเหนือ ภายใต้แนวทางการเปลี่ยนแปลงทางเพศภาวะ

05-การควบคุมพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง

Infographic, News, ข่าวเด่น, สื่อเผยแพร่

วันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีสากล

วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปีวันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีสากล

_________
งด ลด ดื่มแอลกอฮอล์ = ยุติความรุนแรง

“ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีสากลด้วยการไม่ดื่มแอลกอฮอล์”

นอกจากแอลกอฮอล์จะจัดเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งปี 2030 ในเป้าหมายที่ 3 สุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่แล้วนั้น ยังนับเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายที่ 16 สันติภาพและความยุติธรรม โดยเฉพาะในเป้าหมายที่ 16.1 ลดการใช้ความรุนแรง และการเสียชีวิตจากความรุนแรงทุกรูปแบบ และทุกหนแห่งอีกด้วย ซึ่งสามารถยืนยันได้จากงานวิจัย ดังนี้

  • จากข้อมูลโครงการสำรวจการได้รับผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้อื่นในประเทศไทย1 โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใหญ่ที่มีเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีอยู่ในความดูแล จำนวน 937 คน พบว่า ร้อยละ 24.6 เด็กที่ตนดูแลอยู่ได้รับผลกระทบจากการดื่มของคนอื่น โดยเป็นผลกระทบจากการถูกตีหรือทำร้ายร่างกายร้อยละ 1.7

  • จากการศึกษาลักษณะและผลกระทบของภัยเหล้ามือสองต่อสมาชิกครอบครัวในชนเผ่าลาหู่ในจังหวัดเชียงราย2 พบว่า ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,031 คน มีผู้หญิงและกลุ่มอายุน้อยกว่าและเท่ากับ 15 ปี เคยถูกลวนลามทางเพศร้อยละ 6.0 และร้อยละ 4.5 ตามลำดับ

  • ผลการศึกษาประสบการณ์ (ปัญหา) ของผู้หญิงจากผลกระทบจากการดื่มสุราของสมาชิกใน ครอบครัว3 พบว่า ผู้หญิงได้รับผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ การเงินของครอบครัว และผู้ดื่มสุรายังสร้างความรุนแรงต่อกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ ในบ้านทั้งเด็ก เยาวชน คนชราและผู้พิการ

  • ผลกระทบจากการดื่มสุราที่มีต่อเด็ก ร้อยละ 16 ของประเทศ เคยได้รับผลกระทบจากการดื่มสุราของคนรอบข้าง โดยปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ความรุนแรงในครอบครัวร้อยละ 7.5 ซึ่งความรุนแรงดังกล่าวประมาณร้อยละ 30 – 35 เกิดจากพ่อและแม่ของเด็กที่ดื่มสุราเอง และถ้าคนรอบข้างดื่มหนัก (Binge Drinking) หรือดื่มบ่อย (Regular Drinking) เด็กจะมีโอกาสเกิดผลกระทบเพิ่มสูงขึ้นถึง 4.8 และ 1.9 เท่า ตามลำดับ เมื่อเทียบกับการไม่มีคนรอบข้างดื่มสุรา4

  • จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสามีกับความรุนแรงจากคู่สมรสในผู้หญิงหลังคลอด จำนวน 1,207 คน ในโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย และจังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. 25665 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 4.7 เคยถูกสามีกระทำความรุนแรงขณะตั้งครรภ์ โดยร้อยละ 4.1 เคยถูกกระทำความรุนแรงทางวาจา ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด รองลงมาเป็นการถูกกระทำความรุนแรงทางร่างกายร้อยละ 1.1 และการถูกกระทำความรุนแรงทางเพศร้อยละ 0.9 โดยสามีที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นบางครั้งและดื่มหนัก และสามีที่ดื่มประจำและดื่มหนัก จะเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความรุนแรงต่อภรรยาที่ตั้งครรภ์ถึง 16.9 เท่า และ 12.8 เท่า ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสามีที่ไม่ดื่มเลย

จากข้อมูลข้างต้น สะท้อนให้เห็นผลกระทบในมิติของความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กและสตรีจากการดื่มแอลกอฮอล์ของบุคคลในครอบครัวและบุคคลรอบข้าง โดยแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์ที่ทำให้ผู้ดื่มขาดการยับยั่งชั่งใจ ควบคุมตัวเองไม่ได้ รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการทำร้ายร่างกายและการคุมคามทางเพศนั่นเอง ดังนั้น การงด ลด การดื่มแอลกอฮอล์ จึงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดและยุติความเสี่ยงในการเกิดความรุนแรงต่อคนที่คุณรัก ครอบครัว และสังคม

________
เอกสารอ้างอิง

[1] อรทัย วลีวงศ์ และคณะ. (2558). รายงานโครงการศึกษาวิจัย การศึกษาผลกระทบของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อบุคคลรอบข้างผู้ดื่ม ในประเทศไทย (ระยะที่ 1). ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

[2] ธวัชชัย อภิเดชกุล และคณะ. (2561). ลักษณะและผลกระทบของภัยเหล้ามือสองต่อสมาชิกครอบครัวในชนเผ่าลาหู่. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

[3] ไมซาเร๊าะ ขุนรักษ์ หมานระเด็น และคณะ. (2564). พื้นที่ชีวิตของผู้หญิง (Living Space of Women) : ประสบการณ์การเผชิญสถานการณ์ (ปัญหา) ของผู้หญิงกับบุคคลในครอบครัวที่ดื่มสุรา. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

[4] พลเทพ วิจิตรคุณากร และคณะ. (2564). การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อบุคคลรอบข้างผู้ดื่มในประเทศไทย. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

[5] ไพฑูรย์ สอนทน และคณะ. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสามีกับความรุนแรงจากคู่สมรสในผู้หญิงหลังคลอดในโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

บทความ, สาระน่ารู้

บทความ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสามีกับความรุนแรงจากคู่สมรสในผู้หญิง หลังคลอดในโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

บทความสำหรับเผยแพร่

รายงานวิจัย, สื่อเผยแพร่

รายงานวิจัย เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสามีกับความรุนแรงจาก คู่สมรสในผู้หญิงหลังคลอดในโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

Privacy Settings
We use cookies to enhance your experience while using our website. If you are using our Services via a browser you can restrict, block or remove cookies through your web browser settings. We also use content and scripts from third parties that may use tracking technologies. You can selectively provide your consent below to allow such third party embeds. For complete information about the cookies we use, data we collect and how we process them, please check our Privacy Policy
Youtube
Consent to display content from - Youtube
Vimeo
Consent to display content from - Vimeo
Google Maps
Consent to display content from - Google
Spotify
Consent to display content from - Spotify
Sound Cloud
Consent to display content from - Sound

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors