สาระที่น่าสนใจ, สาระน่ารู้

“ดื่มหนัก-เร็ว แข่งดื่ม บังคับดื่ม อันตรายถึงชีวิต”

โดยทั่วไป นักดื่มมักจะค่อยๆดื่ม ดื่มไปคุยกับเพื่อนไปกินกับแกล้มและเติมเบียร์ไป ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ร่างกายได้ค่อยๆทำลายและขับแอลกอฮอล์ออกจากกระแสเลือดซึ่งนั่นจะทำให้แอลกอฮอล์ไม่คั่งอยู่ในร่างกายของผู้ที่ดื่มมากนัก แต่ในกรณีแข่งดื่มเบียร์เป็นเหยือกๆในเวลาจำกัดนี้ จะมีลักษณะเหมือนเทแอลกอฮอล์พรวดเข้าไปในกระแสเลือดโดยไม่เว้นช่วงเวลาให้ร่างกายขับแอลกอฮอล์ออก จึงเกิดภาวะที่เรียกว่าแอลกอฮอล์เป็นพิษ (alcohol intoxication) ต่อร่างกาย และปริมาณน้ำในร่างกายที่เพิ่มขึ้นขึ้นมามากก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะ water intoxication ซึ่งส่งผลให้เกิดสมองบวมและระดับเกลือแร่ในเลือดเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นอันตรายได้เช่นกัน

ในส่วนของพิษจากแอลกอฮอล์ หากดูตารางระดับของแอลกอฮอล์ในเลือดที่ส่งผลต่ออาการหรือความผิดปกติต่างๆจะพบว่า ที่ระดับแอลกอฮอล์ขนาดสูงอาจทำให้ผู้ดื่มหมดสติ ชีพจรช้าลง การหายใจแย่ลง จนถึงหยุดหายใจได้ ทั้งนี้เนื่องจากแอลกอฮอล์ออกฤทธิ์เป็นสารกดประสาท และในขนาดที่สูงระดับนี้ มันสามารถกดสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการหายใจและการรู้สึกตัวของผู้ที่ดื่มได้ ดังนั้น การดื่มเบียร์ เหล้า หรือไวน์ปริมาณมากในระยะเวลาอันสั้นจึงอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

News, ข่าวเด่น, สาระที่น่าสนใจ, สาระน่ารู้, เลือกโดยบรรณาธิการ

แอลกอฮอล์ฆ่าคนได้ ถ้าดื่มไม่ระวัง

โดย นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ

หลังจากผลการชันสูตรศพของพริตตี้สาวที่เสียชีวิตหลังจากรับงานเอนเตอร์เทนในปาร์ตี้แห่งหนึ่ง ซึ่งพบว่าพริตตี้รายดังกล่าวเสียชีวิตจากภาวะแอลกอฮอล์เกินขนาด โดยพบว่ามีค่าแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึง 418 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ เราเพิ่งได้รับข่าวสลดใจเรื่องวิศวกรหนุ่มรายหนึ่งที่ไปร่วมงานฉลอง และมีการดื่มเบียร์แข่งขันกันบนเวที กติกาคือใครซดเบียร์หมดเหยือกก่อนคนนั้นชนะ น่าเศร้ามากครับที่กิจกรรมที่หวังจะสร้างความสนุกกลับกลายเป็นกิจกรรมที่คร่าชีวิตคน พรากเอาชีวิตหนุ่มอนาคตไกลไปจากคนรัก

หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ก็มีการเผยแพร่ความรู้ ประชาสัมพันธ์ทั้งจากแพทย์ จากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหลายท่าน จากภัยอันตรายของการรับแอลกอฮอล์เข้าร่างกายปริมาณมากในครั้งเดียว ว่าสามารถทำให้เสียชีวิตได้ เหตุการณ์เพิ่งผ่านไปข่าวยังไม่ทันซา ก็เกิดการเสียชีวิตจากเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง

            แอลกอฮอล์เป็นสินค้าไม่ปกติ ต้องควบคุม

            ข้อความที่อยากจะเตือนสตินักท่องปาร์ตี้ วัยรุ่นหนุ่มสาว และนักดื่มทั้งหลายอีกครั้งคือ แอลกอฮอล์ไม่เคยเป็นสินค้าปกติ ที่ไม่ต้องการการควบคุมการบริโภค ไม่ว่าจะพิจารณาจากบรรทัดฐานของสังคมใดก็ตาม ในทางวิทยาศาสตร์มีข้อสนับสนุนทางทฤษฎีมากมายว่าแอลกอฮอล์เป็นพิษต่อร่างกายทั้งในระยะสั้น และ ระยะยาว พฤตกิรรมการดื่มหนักในเวลาสั้น ๆ แบบที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในกรณีพริตตี้หรือหนุ่มวิศวะ มีศัพท์เฉพาะที่เรียกว่า Binge drinking ภาวะดังกล่าวนี้นิยามคือการดื่มที่มากกว่า 5 ดื่มมาตรฐานในเพศชาย และ 4 ดื่มมาตรฐานเพศหญิง ภายในเวลาน้อยกว่า 2 ชั่วโมง (1 หน่วยเท่ากับ เบียร์ 1 กระป๋อง ไวน์ 1 แก้ว เหล้า 1 แก้ว)

การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากในช่วงเวลาสั้น ๆ จะยิ่งเพิ่มอันตรายมากขึ้น ในกรณีดังต่อไปนี้

  • เมื่อดื่มในขณะท้องว่าง เนื่องจากหากมีอาหารอยู่จะช่วยลดการดูดซึมแอลกอฮอล์เข้าสู่กระแสเลือดได้
  • ผู้ดื่มเป็นเพศหญิง เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นสารที่ละลายได้ดีในน้ำ (ส่วนของร่างกายที่มีน้ำมากเช่น กล้ามเนื้อ) ซึ่งหากแอลกอฮอล์ละลายไปยังเนื้อเยื่อแล้ว มันจะอยู่ในเลือดน้อยลง ซึ่งจะทำให้เมาได้ช้ากว่าหรือเมาน้อยกว่า ถ้าร่างกายมีสัดส่วนของน้ำมาก แต่เพศหญิงมีสรีระที่มีไขมันเป็นสัดส่วนมากกว่าผู้ชาย แอลกอฮอล์จึงละลายได้ช้า ทำให้แอลกอฮอล์อยู่ในเลือดมาก ทำให้เมาง่ายกว่า และเกิดอันตรายได้มากกว่าหากดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณเท่ากับผู้ชาย
  • เป็นคนรูปร่างอ้วน ดังที่กล่าวมาในข้อก่อนหน้า ว่าเมื่อมีสัดส่วนไขมันมากขึ้น แอลกอฮอล์จะอยู่ในเลือดมากขึ้น   
  • การใช้แอลกอฮอล์ร่วมกับยาอื่น ๆ โดยเฉพาะยาที่มีฤทธิ์กดประสาท เช่น ยาจิตเวช เฮโรอีน มอร์ฟีน ยานอนหลับ

เมื่อแอลกอฮอล์เข้าไปในเลือดมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะแสดงอาการเป็นพิษออกมาตามระดับแอลกอฮอล์ที่อยู่ในเลือด โดยเริ่มตั้งแต่ การเมา เรื่อยไปจนถึงอาการคลื่นไส้อาเจียน อารมณ์เปลี่ยนแปลง หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ ไปจนถึงการเสียชีวิต

แอลกอฮอล์จะมือหนึ่งมือสองก็ล้วนอันตราย และสร้างหายนะต่อสังคม

เนื่องจากผมเคยถูกเชิญเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องยาเสพติดหลายเวที ซึ่งผู้ฟังมักเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงานด้านยาเสพติดมานาน แต่มีคำถามหนึ่งที่ผมถามแล้วไม่ค่อยได้รับคำตอบที่ถูกต้องนักจากผู้ถูกถาม คำถามนั้นคือ ยาเสพติดชนิดใดที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากที่สุด (วัดจากทั่วโลก) ผมมักได้รับคำตอบว่าเป็นเฮโรอีนบ้าง แอมเฟตามีนบ้าง หรือโคเคน ซึ่งคำตอบดังกล่าวมาจากการรับรู้ว่า ใครก็ตามที่เข้าไปในวังวนของเฮโรอีน ยาบ้า หรือ โคเคนแล้ว ยากมากที่จะเอาชีวิตหลุดจากวงจรนี้ เกือบทั้งหมดต้องใช้ชีวิตในฐานะทาสยาเสพติด และมีหลายครั้งที่กลุ่มคนเหล่านี้จบชีวิตด้วยการใช้ยาเสพติดเกินขนาด แต่ในความเป็นจริง ยาเสพติดที่อันตรายที่สุดกลับเป็นยาเสพติดที่หาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป นั่นคือแอลกอฮอล์ คำตอบที่ได้ในเรื่องนี้ค่อนข้างเป็นเรื่องน่าประหลาดใจ แต่การวิเคราะห์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ทั่วโลก ถึงผลกระทบของยาเสพติดแต่ละชนิด ต่อตัวผู้ใช้ (ผลกระทบด้านร่างกาย จิตใจ ที่สูญเสียจากการติดยาเสพติดนั้น ๆ อัตราการตายจากยาเสพติดนั้น ๆ และการสูญเสียสัมพันธ์ภาพและทรัพย์สิน) และ ผู้อื่นที่ไม่ได้ใช้ (ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม อาชญากรรม และ ครอบครัว) แม้ว่าแอลกอฮอล์จะไม่ใช่ยาเสพติดอันดับหนึ่งที่ฆ่าชีวิตผู้ใช้โดยตรงจากการใช้เกิดขนาด แต่เมื่อรวมผลกระทบทั้งหมดที่มันสร้างขึ้น แอลกอฮอล์คือมหันตภัยอันดับหนึ่งจากยาเสพติดทุกชนิดในโลก ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะแอลกอฮอล์เป็นยาเสพติดที่เข้าถึงง่าย มีจำนวนผู้บริโภคมาก จึงสร้างผลกระทบได้มาก แม้จะมีผลกระทบต่อผู้ดื่มในระยะสั้นไม่มากเท่ายาเสพติดชนิดอื่น แต่ผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ดื่มในระยะยาวมากกว่ายาเสพติดชนิดอื่น ๆ

ในประเด็นเรื่องการเสียชีวิตของพริตตี้สาวที่เกิดจากการดื่มหนักดื่มเร็ว จนทำให้แอลกอฮอล์ในเลือดเกินขนาด อันตรายจากแอลกอฮอล์เป็นพิษไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากในประเทศไทยเรายังไม่มีระบบการเก็บสถิติในเรื่องดังกล่าว จึงเปรียบให้เห็นได้ยากว่าขนาดของปัญหานี้ใหญ่ขนาดไหน แต่จากการเก็บสถิติการเสียชีวิตด้วยภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษในสหรัฐอเมริกา พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วทุก ๆ วัน จะมีผู้เสียชีวิตจากการดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาดในประเทศสหรัฐอเมริกา 6 คน หรือปีละ 2,400 คน ซึ่งไม่ใช่น้อย ๆ เลยสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว การแพทย์เป็นอันดับหนึ่งของโลก มีระบบเฝ้าระวังมากมาย ถ้าลองย้อนกลับมาดูประเทศไทย ที่มีพฤติกรรมการดื่มที่อันตรายมากถึง 3.4% ของประชากร ก็ไม่แน่ว่าเราน่าจะมีการเสียชีวิตจากเหตุดังกล่าวทุก ๆ วัน และมีเพียงบางกรณีเท่านั้นที่ปรากฎในข่าวกระแสหลัก

Privacy Settings
We use cookies to enhance your experience while using our website. If you are using our Services via a browser you can restrict, block or remove cookies through your web browser settings. We also use content and scripts from third parties that may use tracking technologies. You can selectively provide your consent below to allow such third party embeds. For complete information about the cookies we use, data we collect and how we process them, please check our Privacy Policy
Youtube
Consent to display content from - Youtube
Vimeo
Consent to display content from - Vimeo
Google Maps
Consent to display content from - Google
Spotify
Consent to display content from - Spotify
Sound Cloud
Consent to display content from - Sound

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors