คำค้นหา : การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

คำนี้ค้นหามาแล้ว : 508 ครั้ง
เราทำเต็มที่แล้วหรือยัง เพื่อให้ได้กฎหมายที่ช่วยให้พวกเราทุกคนปลอดภัย!? ปืนที่อยู่ในมือคนไม่ดี และเหล้าที่พร้อมจะทำให้คนดีกลายเป็นคนไม่ดี
https://cas.or.th/content?id=511

เราทำเต็มที่แล้วหรือยังเพื่อให้ได้กฎหมายที่ช่วยให้พวกเราทุกคนปลอดภัย!? ทั้งจากคนที่ไม่ดี ปืนที่อยู่ในมือคนไม่ดี และเหล้าที่พร้อมจะทำให้คนดีกลายเป็นคนไม่ดี

จากข่าวที่ อส. ในอำเภอหาดใหญ่ กราดยิงลูกค้าร้านข้าวต้มเนื่องจากโมโหและทะเลาะกับเจ้าของร้าน จนทำให้ครอบครัวที่มาฉลองจัดงานวันเกิดให้ลูกเสียชีวิตไป 2 คน และเจ้าของร้านได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการถูกยิงที่ศีรษะ ก่อนอื่นผมต้องขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวของผู้เสียชีวิตที่ควรจะเป็นวันที่มีความสุขวันหนึ่งของครอบครัว แต่กลายเป็นวันที่เศร้าที่สุด ครอบครัวของเจ้าของร้านข้าวต้มที่ทำมาหากินปกติแต่มาเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเช่นนี้ จนทำให้หัวหน้าครอบครัวบาดเจ็บสาหัสอาจจะพิการตลอดชีวิต ทั้งหมดนี้เกิดจากสามองค์ประกอบคือ คน ปืน และเหล้า ทั้งสามเป็นส่วนผสมที่มีโอกาสนำมาซึ่งความเลวร้าย แม้ว่าในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ทุกคนในเรื่องจะเป็นสุจริตชนก็ตาม

ปัญหาความรุนแรงในสังคม หลายครั้งที่มีเหล้าเป็นองค์ประกอบ ซึ่งที่น่าเศร้าใจคือ บางครั้งผู้รับเคราะห์นั้นไม่ได้เป็นคนดื่มด้วยซ้ำ อย่างเช่นกรณีนี้ สำหรับประเทศที่คำนึงถึงความปลอดภัยของคนในสังคมเขาอย่างเข้มงวด กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีหน้าที่ปกป้องคนทั้งที่ดื่มและไม่ดื่มเหล้าเบียร์ให้ปลอดภัยจากอันตรายของมัน อันตรายโดยตรงของมันคือทำให้คนมึนเมาขาดสติ ซึ่งคนมึนเมาขาดสติหยิบจับอะไรก็ดูอันตรายไปหมด ที่เห็นชัดคือจับพวงมาลัยรถกับจับปืน คนที่เมาแอ๋ไปแล้วแม้กระทั่งจับโทรศัพท์ยังอันตรายเลย การทำให้เคสนี้หายไปจากความทรงจำของคนไทยทุกคนเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้แล้ว แต่สำหรับอนาคตข้างหน้าเราจะสามารถลดโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ได้หากกฎหมายเกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่หย่อนยาน และคุ้มครองพวกเราทุกคนจากสถานการณ์ที่จะนำไปสู่อันตรายจากเหล้าเบียร์ได้จริง ๆ

อย่างเช่นในกรณีที่เกิดขึ้นนี้หากเรามีกฎหมายทั้งฝั่งควบคุมอาวุธปืน และควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เข้มแข็ง เราจะลดโอกาสการเกิดเหตุการณ์นี้ไปได้หลายอย่างเลย ประการแรกสถานที่จำหน่ายถ้าทุกร้านที่จำหน่ายคนขายมีความรู้มีความเข้าใจความเสี่ยงจะประเมินคนซื้อได้ ในต่างประเทศเขามีการให้ใบอนุญาต (license) สำหรับการขายแบบนั่งดื่มในร้าน เข้าใจว่า เคสนี้คนขายในร้านไม่ต้องขออนุญาตสำหรับการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประการที่สอง: เวลาจำหน่าย เหตุการณ์เกิดเวลาใกล้ 22.00 น.แล้ว ซึ่งเป็นยามวิกาล โอกาสเกิดอาชญากรรมง่าย บางประเทศควบคุมหรือห้ามจำหน่ายในเวลาดังกล่าว เช่นในประเทศสิงคโปร์ ที่ห้ามจำหน่ายตั้งแต่ 22.30 น. การจำหน่ายสุราในช่วงเวลากลางคืน มีความเสี่ยงมากกว่าช่วงเวลากลางวัน กฎหมายที่เข้มงวดจึงมีการห้ามขายในช่วงเวลานี้ เพื่อลดโอกาสเกิดอาชญากรรม

นอกจากนั้นในบางประเทศมีกฎหมายเรียกว่า dram shop liability ซึ่งมีเนื้อหาใจความคือ ผู้ขายต้องประเมินได้ว่าผู้ซื้ออยู่ในอาการครองสติได้หรือไม่ หากไม่มีการประเมินหรือประเมินผิดพลาด และจำหน่ายสุราให้คนครองสติไม่ได้ หากผู้ซื้อไปก่อเหตุอะไรก็ตามที่ผิดกฎหมาย ไม่ว่าอาชญากรรมหรือเมาแล้วขับ ผู้ขายต้องมีส่วนรับผิดชอบทางแพ่งด้วย

ความมึนเมาทำให้คนเป็นปิศาจ เพราะขาดความยับยั้งชั่งใจ เราเรียกความยับยั้งชั่งใจนี้ในภาษาการแพทย์ว่า inhibitory process กล่าวคือถ้าคนปกติโกรธโมโห ในความคิดมีเรื่องร้าย ๆ ที่อยากจะทำ ความยับยั้งชั่งใจของคนปกติจะทำงานและบอกว่า จะเกิดอะไรขึ้นหากทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่เมื่อความโกรธเจอกับคนเมาระบบยั้งคิดนี้จะเสียไปแล้ว ความคิดอะไรที่ไม่ดีก็จะทำทันที กลายเป็นโศกนาฏกรรมอย่างที่เห็นในข่าว
ประชาชนคนไทยตัวเล็กตัวน้อยรับเคราะห์จากเหล้าเบียร์ ตายกันหลายหมื่นคนต่อปี ในขณะที่เจ้าสัวแสนล้านนอนหลับสบายใจ ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร นี่เป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้รู้สึกว่าทำไมเหตุร้ายที่ระบุสาเหตุร่วมของการกระทำได้อย่างการผลิตและจำหน่ายเหล้าเบียร์ คนที่ได้ประโยชน์จากกำไรและการควบคุมตลาดแบบผูกขาด รวมทั้งผู้ผลิตเหล้าเบียร์รายย่อยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดภายใต้สโลแกน “soft power” แทบไม่เคยร่วมรับผิดชอบผลกระทบด้านลบต่อสังคมจากสิ่งที่ทำให้เขาร่ำรวยเลย

ในช่วงวาระนี้จะมีการผลักดันกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่ด้วย กลุ่มทุนอุตสาหกรรมสุราพยายามเต็มที่ที่จะผลักดันกฎหมายหนึ่ง ที่จะให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ทำหน้าที่ควบคุมกลั่นกรองกฎหมายต่าง ๆ ในการควบคุมทั้งการผลิตและจำหน่ายแอลกอฮอล์ โดยความพยายามหนึ่งคือ ต้องการให้ตำแหน่งในคณะกรรมการนี้มีที่นั่งจากผู้ผลิตและจำหน่ายเหล้าเบียร์ด้วย หากกรรมการชุดนี้เกิดขึ้นจริงและมีคนจากอุตสาหกรรมเข้ามามีส่วนร่วมด้วย กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทยคงไปในทางหย่อนยานลงเรื่อย ๆ

อย่าให้เคสแบบนี้เกิดขึ้นอีกและทำได้แค่เพียงแสดงความเสียใจ เราเห็นกันชัดเจนว่า เหตุการณ์ที่โศกเศร้าเช่นนี้เกิดจากปัจจัยสามอย่างคือ คน ปืน และ เหล้าที่เข้าปาก เราทำเต็มที่แล้วหรือยังเพื่อให้ได้กฎหมายที่ช่วยให้พวกเราทุกคนปลอดภัย ทั้งจากคนไม่ดี ปืนที่อยู่ในมือคนไม่ดี และเหล้าที่พร้อมจะทำให้คนดีกลายเป็นคนไม่ดี และเมื่อคนไม่ดีถือปืน ย่อมมีอันตรายต่อสังคม เราต้องใช้สิทธิและเสียงของเราปกป้องอนาคตเรา ผมมีความรู้เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธปืนไม่มาก แต่ความรู้ที่ผมมีคือ เรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยกฎหมาย สิ่งที่ผมพอจะทำให้สังคมเราปลอดภัยมากขึ้นสำหรับคนไทยทุกคน คือทำให้กฎหมายควบคุมเหล้าเบียร์ของเราแข็งแรง ไม่ปล่อยให้โอกาสเกิดร้าย ๆ แบบนี้เกิดขึ้นได้ง่าย และหากเกิดขึ้นแล้วก็ต้องมีคนรับผิดชอบอย่างเต็มกำลัง

เรียบเรียงโดย ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานรินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสุราระดับชาติ ครั้งที่ 11
https://cas.or.th/content?id=488

วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ปาฐกถาพิเศษ

“กลไก สสส. กับการขับเคลื่อนงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศไทย” โดย ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ PDF

การบรรยายพิเศษ 1

“Effectiveness of alcohol control policies and the ways forward for Thailand”
Speaker: Professor David Jernigan, Boston University School of Public Health, Department of Health Law, Policy & Management PDF

PDF

การอภิปราย 1: “บทเรียนสิบสองปีของการดาเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สู่แผนยุทธศาสตร์ชาติฉบับที่สอง”

ภาควิชาการ: ศ.ดร.พญ.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   PDF

ภาคนโยบาย: นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF

ภาคประชาชน: นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า PDF

ถาม-ตอบประเด็นร้อนในสังคมไทย 1: ภาระทางสุขภาพและภาระทางสังคมจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

“แอลกอฮอล์กับสุขภาพร่างกาย” โดย ผศ.นพ.ทยา กิติยากร คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล PDF

“ภาระทางสุขภาพจิตในผู้ดื่มสุรา” โดย ศ.พญ.สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น PDF

ภาระทางเศรษฐกิจและมาตรการทางภาษีในการควบคุมการดื่มสุรา โดย ผศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  PDF

ความรุนแรงในบ้านและนอกบ้าน ความรุนแรงบนสื่อออนไลน์ ภัยเหล้าต่อคนที่ไม่ดื่ม โดย ดร.วิทย์ วิชัยดิษฐ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ PDF

ผลกระทบของการดื่มสุราของพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ต่อการดื่มสุราของลูกหลาน โดย รศ.พญ.รัศมน กัลยาศิริ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย PDF

มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการดื่มสุรา โดย ดร.ณัชชา สุขะวัธนกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ PDF

 

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

การบรรยายพิเศษ 2

“From SAFER to FCAC: an important step of the global alliance”
Speaker: Professor Sally Casswell, Director, SHORE (Centre for Social and Health Outcomes Research and Evaluation), Massey University, Auckland, New Zealand  PDF

PDF

 

“จาก SAFER สู่ FCAC: ก้าวเดินของประเทศไทยในฐานะผู้นาโลก” โดย นพ.ทักษพล ธรรมรังสี รองเลขาธิการมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ PDF

ถาม-ตอบประเด็นร้อนในสังคมไทย 2: Alcohol marketing and sales in disruptive era

สถานการณ์การเข้าถึงสุรา” ในยุคปัจจุบัน: ความน่าเป็นห่วงของสังคมไทย โดย รศ.ดร.สุรศักดิ์ ไชยสงค์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม PDF

ขายและโฆษณาในช่องทางออนไลน์: เมื่อการขายเหล้าแพร่ระบาดในสังคม โดย คุณกนิษฐา ไทยกล้า สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ PDF

การตลาดเหล้าในยุคปัจจุบัน: ถอดรหัสการสื่อสารการตลาดของอุตสาหกรรมสุราผ่านอารมณ์และวิถีชีวิตคนไทย โดย นายวิษณุ ศรีทะวงศ์ ผู้จัดการแผนงาน มูลนิธิเครือข่ายพลังสังคม PDF

การใช้ Brand DNA ของธุรกิจน้าเมา: ปัญหาการตีความและข้อจากัดของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดย นายไพศาล ลิ้มสถิตย์ กรรมการบริหารศูนย์กฎหมาย สุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ PDF

เมื่อแอลกอฮอล์เป็นสินค้าในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ: ใครได้ ใครเสีย โดย ศ.ดร.นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล PDF

ประสิทธิภาพของมาตรการควบคุมโฆษณาต่อการลดปัญหาจากการดื่มสุราในประเทศไทย โดย ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล Project Scientist, Centre for Addiction and Mental Health, Toronto, Canada PDF

 

 

การสัมมนาวิชาการ นโยบายแอลกอฮอล์ในยุคโควิด-19
https://cas.or.th/content?id=492

การสัมมนาวิชาการ นโยบายแอลกอฮอ์ในยุคโควิด-19

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) จัดการสัมมนาวิชาการ นโยบายแอลกอฮอล์ในยุคโควิด-19 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ผ่านระบบ Zoom Video Conference

เอกสารประกอบการสัมมนา

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย และต่างประเทศ และผลพ่วงต่อการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF

ผลกระทบของวิกฤติโควิด-19 ต่อการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย PDF

สถานการณ์เด่นและบทเรียนนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในยุคโควิด-19 จากทั่วโลก  PDF

แนวทางการปรับตัวเข้าสู่ new normal ในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบไทยๆ PDF

ความท้าทายและโอกาสการพัฒนาในการทำงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของภาครัฐในยุคโควิด-19 PDF

ความท้าทายและโอกาสการพัฒนาในการทำงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของภาคประชาสังคมในยุคโควิด-19 PDF

 

ข้อเท็จจริงและตัวเลข เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ. 2562-2564
https://cas.or.th/content?id=31

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) เป็นหน่วยงานทางวิชาการที่สร้างและจัดการองค์ความรู้ พัฒนากลไกการประสานและศักยภาพทางวิชาการ เพื่อสนับสนุนกระบวนการจัดการกับปัญหา จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการสนับสนุนทุนวิจัย จัดเวทีสัมมนา และมีผลงานทางวิชาการต่าง ๆ มากมาย รวมถึงเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการผ่านทางหนังสือ บทความ รายงานวิจัย อินโฟกราฟิก และสื่อมัลติมีเดีย เป็นต้น

เนื่องด้วยการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประกอบกับโครงสร้างของประชากรไทยที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ทำาให้แนวโน้มการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนไทยมีความแตกต่างจากในอดีตที่ผ่านมา ชุดหนังสือนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ในประเด็นที่สำาคัญเกี่ยวกับแบบแผนและแนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรไทยในบทที่ 1 กระแสโฆษณาและการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบทที่ 2 นอกจากนี้ยังมีบทที่ 3 ผลกระทบต่อสุขภาพและสังคมของการดื่มสุรา และบทที่ 4 นโยบายและมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นเนื้อหาของหนังสือข้อเท็จจริงและตัวเลข ปี พ.ศ. 2562-2564 โดยเน้นการนำาเสนอในรูปแบบแผนภาพประกอบ เพื่อให้สามารถทำาความเข้าใจได้โดยง่าย

ทั้งนี้ ทางคณะผู้จัดทำาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่าง ๆ โดยสามารถนำาข้อมูลดังกล่าวไปใช้อ้างอิง วางแผนการควบคุม ส่งเสริมและป้องกันปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยต่อไปได้ในอนาคต

สรุปข้อมูลวิชาการที่สำคัญ มาตรการควบคุมกิจกรรมการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนในยุคดิจิทัลและโลกเสรีทางการค้า
https://cas.or.th/content?id=35

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) เป็นสถาบันวิชาการชั้นนำที่มุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้และชี้นำ นโยบายสาธารณะ ด้านการจัดการปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย โดยกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานให้สอดคล้องกับ แผนปฏิบัติการระดับโลก พ.ศ. 2565 - 2573 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์โลกในการ ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบอันตราย

หนึ่งในแผนกิจกรรมสำคัญของ ศวส. คือ การสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ ซึ่งครอบคลุมโครงการวิจัยหลายประเภท ได้แก่

  • โครงการวิจัยแบบมุ่งเป้า ในประเด็นเกี่ยวกับมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตาม กรอบ SAFER และ แผนปฏิบัติการระดับชาติฯ ระยะที่ 2
  • โครงการวิจัยมุ่งเป้าเพื่อสนับสนุนการพัฒนากฎหมายลูกหรือมาตรการใหม่
  • โครงการเฝ้าระวังสถานการณ์
  • งานสังเคราะห์และประเมินผลนโยบาย
  • งานวิจัยทั่วไปและงานวิจัยเร่งด่วนตามสถานการณ์
  • งานพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ
  • โครงการวิจัยสำหรับวิทยานิพนธ์

การดำเนินงานทั้งหมดนี้มุ่งเน้นไปที่ การพัฒนาข้อเสนอทางวิชาการ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและผลักดัน นโยบายด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

การพัฒนาโมเดลต้นแบบชุมชนมุสลิม กรุงเทพมหานคร ด้านการมีส่วนร่วมออกใบอนุญาตจําหน่ายสุราที่สอดคล้องตามจำนวนร้านค้าจำหน่ายสุราในเขตพื้นที่
https://cas.or.th/content?id=15

อินโฟกราฟิก การพัฒนาโมเดลต้นแบบชุมชนมุสลิม กรุงเทพมหานคร ด้านการมีส่วนร่วมออกใบอนุญาตจําหน่ายสุราที่สอดคล้องตามจำนวนร้านค้าจำหน่ายสุราในเขตพื้นที่

 

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.)

Centre for Alcohol Studies (CAS)

สาขาวิชาระบาดวิทยา ชั้น 6 อาคารบริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถนนกาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110

083-5775533

https://www.facebook.com/cas.org.th

เข้าชมแล้ว 0 ครั้ง
Copyright © 2025 CAS All rights reserved.