คำค้นหา : การดื่มสุรา

คำนี้ค้นหามาแล้ว : 376 ครั้ง
ข้อเท็จจริงและตัวเลข เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ. 2562-2564
https://cas.or.th/content?id=31

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) เป็นหน่วยงานทางวิชาการที่สร้างและจัดการองค์ความรู้ พัฒนากลไกการประสานและศักยภาพทางวิชาการ เพื่อสนับสนุนกระบวนการจัดการกับปัญหา จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการสนับสนุนทุนวิจัย จัดเวทีสัมมนา และมีผลงานทางวิชาการต่าง ๆ มากมาย รวมถึงเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการผ่านทางหนังสือ บทความ รายงานวิจัย อินโฟกราฟิก และสื่อมัลติมีเดีย เป็นต้น

เนื่องด้วยการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประกอบกับโครงสร้างของประชากรไทยที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ทำาให้แนวโน้มการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนไทยมีความแตกต่างจากในอดีตที่ผ่านมา ชุดหนังสือนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ในประเด็นที่สำาคัญเกี่ยวกับแบบแผนและแนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรไทยในบทที่ 1 กระแสโฆษณาและการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบทที่ 2 นอกจากนี้ยังมีบทที่ 3 ผลกระทบต่อสุขภาพและสังคมของการดื่มสุรา และบทที่ 4 นโยบายและมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นเนื้อหาของหนังสือข้อเท็จจริงและตัวเลข ปี พ.ศ. 2562-2564 โดยเน้นการนำาเสนอในรูปแบบแผนภาพประกอบ เพื่อให้สามารถทำาความเข้าใจได้โดยง่าย

ทั้งนี้ ทางคณะผู้จัดทำาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่าง ๆ โดยสามารถนำาข้อมูลดังกล่าวไปใช้อ้างอิง วางแผนการควบคุม ส่งเสริมและป้องกันปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยต่อไปได้ในอนาคต

แบบแผนและแนวโน้มพฤติกรรมการดื่มสุราของประชากรไทย
https://cas.or.th/content?id=36

สุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็น สารเสพติด ที่คนนิยมดื่มกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก สำหรับ ประเทศไทย แม้ว่าจะมีประชากรจำนวนมากที่ดื่มสุรา แต่พบว่า จำนวนผู้ที่ไม่ดื่มกลับมีมากกว่า

แบบแผนการดื่มสุรามีความแตกต่างกันในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น ชนิดของเครื่องดื่ม ปริมาณ และพฤติกรรมการดื่ม ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก เพศ อายุ ศาสนา ฐานะทางเศรษฐกิจ ค่านิยมทางสังคม และสภาวะสุขภาพ นักดื่มที่มีฐานะดีมักนิยมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีราคาสูง เช่น เหล้า ไวน์ หรือเบียร์นำเข้า ขณะที่ ผู้ติดสุราหรือนักดื่มที่มีฐานะยากจน มักนิยมดื่ม สุรานอกระบบภาษี เนื่องจากมีราคาถูกกว่า

ความชุกของการดื่มสุราในหญิงไทยต่ำกว่าชายไทยมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันหญิงไทยมีแนวโน้มการดื่มสุราเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็น รูปแบบที่คล้ายคลึงกับแนวโน้มในหลายประเทศทั่วโลก

ภาระโรคที่เกิดจากมะเร็งที่สัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วโลกในปี 2563
https://cas.or.th/content?id=86

ภาระโรคที่เกิดจากมะเร็งที่สัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วโลกในปี 2563

“ดื่มน้อย ดื่มปานกลาง ก็ยังทำให้เกิดมะเร็งได้”

องค์กรนานาชาติเพื่อการวิจัยด้านมะเร็ง (International Agency for Research on Cancer (IARC)) เปิดเผยผลการศึกษาล่าสุด ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ The Lancet Oncology ซึ่งพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณ 741,000 คนทั่วโลก ในปี 2563 มีสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา สามในสี่รายเป็นผู้ชาย ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าการดื่มแบบเสี่ยง และการดื่มหนัก (มากกว่าสองหน่วยดื่มมาตรฐานต่อวัน) จะเป็นสัดส่วนหลักที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง (ร้อยละ 86 ของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) การดื่มปริมาณน้อยถึงปานกลาง (ไม่เกินสองหน่วยดื่มมาตรฐานต่อวัน) ก็เป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราเช่นกัน นั่นคือ ประมาณหนึ่งในเจ็ดของผู้ป่วยมะเร็งที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นผู้ดื่มปริมาณน้อยหรือปานกลาง ซึ่งคิดเป็นจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณมากกว่า 100,000 รายต่อปี

ในจำนวนผู้ป่วยมะเร็ง 741,000 คนทั่วโลก ในปี 2563 นี้ ร้อยละ 26 เป็นมะเร็งหลอดอาหาร ร้อยละ 21 เป็นมะเร็งตับ และร้อยละ 13 เป็นมะเร็งเต้านม ส่วนที่เหลือเป็นมะเร็งลำไส้ ช่องปาก ทวารหนัก คอหอย และกล่องเสียง ร้อยละ 12, ร้อยละ 10, ร้อยละ 9, ร้อยละ 5 และร้อยละ 4 ตามลำดับ

(ปริมาณการดื่ม 2 หน่วยดื่มมาตรฐาน เทียบได้เท่ากับ ไวน์ที่มีดีกรีแอลกอฮอล์ 12-13% ประมาณ 2 แก้ว ๆ ละ 100 มล. เบียร์ที่มีดีกรีแอลกอฮอล์ 4.5-5% ประมาณ 2 กระป๋องหรือหนึ่งขวดใหญ่ เหล้าสี/เหล้าขาวที่มีดีกรีแอลกอฮอล์ 35-40 % ประมาณ 2 เป็ก ๆ ละ 30 มล.)

______

ที่มา: องค์กรนานาชาติเพื่อการวิจัยด้านมะเร็ง (International Agency for Research on Cancer (IARC) https://www.iarc.who.int/infographics/latest-global-data-on-cancer-burden-and-alcohol-consumption/?fbclid=IwAR0L49zmNpW5awIF60S9mC4-1oVd2jWCGNNqcADYtG1K8nwzo916x5c3D_g

- Download -

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.)

Centre for Alcohol Studies (CAS)

สาขาวิชาระบาดวิทยา ชั้น 6 อาคารบริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถนนกาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110

083-5775533

https://www.facebook.com/cas.org.th

เข้าชมแล้ว 0 ครั้ง
Copyright © 2025 CAS All rights reserved.