คำค้นหา : ครอบครัว

คำนี้ค้นหามาแล้ว : 289 ครั้ง
มาตรการควบคุมการบริโภคและปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
https://cas.or.th/content?id=13

องค์การอนามัยโลกและวงการแพทย์และสาธารณสุขทั่วโลก จัดให้แอลกอฮอล์ เป็นสารเสพติดและเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างไม่มีข้อถกเถียง โดยสามารถ ส่งเสริมให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้กว่า 200 ชนิด ที่สำคัญ เช่น โรคมะเร็งหลอดอาหารจนถึง ลำ ไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งตับ โรคของระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะโรค ตับและโรคตับอ่อน โรคติดเชื้อ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคสมองเสื่อม รวมถึง โรคเก๊าท์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุทำ ให้เกิดการบาดเจ็บทางถนนและเสียชีวิต อีกปีละหลายหมื่นคน ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทและความรุนแรง ดังที่ปรากฎเป็น ข่าวเกือบทุกวัน ประเทศต่าง ๆ จึงถือว่าแอลกอฮอล์ไม่ใช่สินค้าธรรมดา แต่เป็นสินค้า ที่ต้องมีการควบคุมไม่สามารถปล่อยให้ขายแบบเสรีไร้ข้อกำ หนดเหมือนเครื่องดื่ม ต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ดีกระแสประชาธิปไตยที่เติบโตขึ้นในสังคมและประเทศต่าง ๆ ทำ ให้ ผู้ประกอบการผลิต การขาย ได้เรียกร้องให้ลดการควบคุมหรือให้ปล่อยเสรีโดยให้ เหตุผลว่า เป็นความรับผิดชอบของคนดื่มต่างหากที่ต้องดื่มอย่างมีสติและรับผิดชอบ แม้ว่าจะฟังดูดี แต่เนื่องจากผลของแอลกอฮอล์นั้นก่อให้เกิดการเสพติดและไปลด การมีสติสัมปชัญญะโดยตรง ดังนั้นการจะปล่อยให้เป็นความรับผิดชอบของผู้ดื่มฝ่าย เดียวจึงไม่ถูกต้อง และยังเป็นการทำ ให้ผู้ไม่ดื่มต้องพลอยรับผลร้ายไปด้วย เช่น เรื่อง การดื่มแล้วขับจนเกิดเหตุ การเกิดความรุนแรงในสังคมและครอบครัว ซึ่งรัฐมีความ ชอบธรรมในการเข้าไปควบคุม ประเทศไทยเองก็อยู่ในกระแสประชาธิปไตยและกระแส ตลาดเสรี จึงเกิดความขัดแย้งจากมุมของผู้ผลิตที่รู้สึกว่ารัฐควบคุมมากไป ในขณะ เดียวกันนักวิชาการและประชาชนจำ นวนมากก็รู้สึกว่ารัฐยังสามารถทำอะไรได้มากกว่า นี้เพื่อปกป้องประชาชน ดังบทสุดท้ายซึ่งเป็นเจตนารมย์ที่แสดงออกในการประชุม วิชาการสุราแห่งชาติเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา คณะทำ งานด้านวิชาการฯ จึงได้ระดมอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เป็นนักวิจัยด้านแอลกอฮอล์ หารือกัน หลายครั้งและตกลงว่าจะรวบรวมแนวคิดและมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ควรดำ เนินการและได้รวบรวมเพิ่มเติมเป็นเอกสารนี้

14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์
https://cas.or.th/content?id=516

14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์

ให้ความรักเป็นตัวนำ ไม่ใช่แอลกอฮอล์ งดและลดการดื่มเพื่ออยู่กับคนรักอย่างเต็มที่ สร้างความทรงจำที่ชัดเจนและอบอุ่น หลีกเลี่ยงความเสี่ยงและการตัดสินใจที่อาจผิดพลาด

 

 

 

เพราะการดื่มแอลกอฮอล์ในวันวาเลนไทน์อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์และสุขภาพของคุณ ดังนี้:

1. การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจ: การดื่มแอลกอฮอล์อาจลดความสามารถในการควบคุมตนเองและการตัดสินใจ ทำให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจหรือไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจนำไปสู่การตั้งครรภ์ไม่พร้อมหรือการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

2. ความรุนแรงในความสัมพันธ์: แอลกอฮอล์เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวและความสัมพันธ์ จากข้อมูลพบว่าในปี 2565 มีเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ถึง 30.7%

3. การนอกใจและความไม่ซื่อสัตย์: การดื่มแอลกอฮอล์อาจนำไปสู่พฤติกรรมการนอกใจ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ความสัมพันธ์เป็นพิษ

เพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ ควรลดหรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในวันวาเลนไทน์ และให้ความสำคัญกับการสื่อสารที่ชัดเจนและการเคารพซึ่งกันและกันในความสัมพันธ์

ที่มา:

1) สำนักสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

2) https://www.thaipost.net/public-relations-news/535067

3) https://www.thaipost.net/education-news/84893/

 

 

 

เราทำเต็มที่แล้วหรือยังเพื่อให้ได้กฎหมายที่ช่วยให้พวกเราทุกคนปลอดภัย!? ทั้งจากคนที่ไม่ดี ปืนที่อยู่ในมือคนไม่ดี และเหล้าที่พร้อมจะทำให้คนดีกลายเป็นคนไม่ดี
https://cas.or.th/content?id=26

เราทำเต็มที่แล้วหรือยังเพื่อให้ได้กฎหมายที่ช่วยให้พวกเราทุกคนปลอดภัย!? ทั้งจากคนที่ไม่ดี ปืนที่อยู่ในมือคนไม่ดี และเหล้าที่พร้อมจะทำให้คนดีกลายเป็นคนไม่ดี

จากข่าวที่ อส. ในอำเภอหาดใหญ่ กราดยิงลูกค้าร้านข้าวต้มเนื่องจากโมโหและทะเลาะกับเจ้าของร้าน จนทำให้ครอบครัวที่มาฉลองจัดงานวันเกิดให้ลูกเสียชีวิตไป 2 คน และเจ้าของร้านได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการถูกยิงที่ศีรษะ ก่อนอื่นผมต้องขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวของผู้เสียชีวิตที่ควรจะเป็นวันที่มีความสุขวันหนึ่งของครอบครัว แต่กลายเป็นวันที่เศร้าที่สุด ครอบครัวของเจ้าของร้านข้าวต้มที่ทำมาหากินปกติแต่มาเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเช่นนี้ จนทำให้หัวหน้าครอบครัวบาดเจ็บสาหัสอาจจะพิการตลอดชีวิต ทั้งหมดนี้เกิดจากสามองค์ประกอบคือ คน ปืน และเหล้า ทั้งสามเป็นส่วนผสมที่มีโอกาสนำมาซึ่งความเลวร้าย แม้ว่าในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ทุกคนในเรื่องจะเป็นสุจริตชนก็ตาม

ปัญหาความรุนแรงในสังคม หลายครั้งที่มีเหล้าเป็นองค์ประกอบ ซึ่งที่น่าเศร้าใจคือ บางครั้งผู้รับเคราะห์นั้นไม่ได้เป็นคนดื่มด้วยซ้ำ อย่างเช่นกรณีนี้ สำหรับประเทศที่คำนึงถึงความปลอดภัยของคนในสังคมเขาอย่างเข้มงวด กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีหน้าที่ปกป้องคนทั้งที่ดื่มและไม่ดื่มเหล้าเบียร์ให้ปลอดภัยจากอันตรายของมัน อันตรายโดยตรงของมันคือทำให้คนมึนเมาขาดสติ ซึ่งคนมึนเมาขาดสติหยิบจับอะไรก็ดูอันตรายไปหมด ที่เห็นชัดคือจับพวงมาลัยรถกับจับปืน คนที่เมาแอ๋ไปแล้วแม้กระทั่งจับโทรศัพท์ยังอันตรายเลย การทำให้เคสนี้หายไปจากความทรงจำของคนไทยทุกคนเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้แล้ว แต่สำหรับอนาคตข้างหน้าเราจะสามารถลดโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ได้หากกฎหมายเกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่หย่อนยาน และคุ้มครองพวกเราทุกคนจากสถานการณ์ที่จะนำไปสู่อันตรายจากเหล้าเบียร์ได้จริง ๆ

อย่างเช่นในกรณีที่เกิดขึ้นนี้หากเรามีกฎหมายทั้งฝั่งควบคุมอาวุธปืน และควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เข้มแข็ง เราจะลดโอกาสการเกิดเหตุการณ์นี้ไปได้หลายอย่างเลย ประการแรกสถานที่จำหน่ายถ้าทุกร้านที่จำหน่ายคนขายมีความรู้มีความเข้าใจความเสี่ยงจะประเมินคนซื้อได้ ในต่างประเทศเขามีการให้ใบอนุญาต (license) สำหรับการขายแบบนั่งดื่มในร้าน เข้าใจว่า เคสนี้คนขายในร้านไม่ต้องขออนุญาตสำหรับการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประการที่สอง: เวลาจำหน่าย เหตุการณ์เกิดเวลาใกล้ 22.00 น.แล้ว ซึ่งเป็นยามวิกาล โอกาสเกิดอาชญากรรมง่าย บางประเทศควบคุมหรือห้ามจำหน่ายในเวลาดังกล่าว เช่นในประเทศสิงคโปร์ ที่ห้ามจำหน่ายตั้งแต่ 22.30 น. การจำหน่ายสุราในช่วงเวลากลางคืน มีความเสี่ยงมากกว่าช่วงเวลากลางวัน กฎหมายที่เข้มงวดจึงมีการห้ามขายในช่วงเวลานี้ เพื่อลดโอกาสเกิดอาชญากรรม

นอกจากนั้นในบางประเทศมีกฎหมายเรียกว่า dram shop liability ซึ่งมีเนื้อหาใจความคือ ผู้ขายต้องประเมินได้ว่าผู้ซื้ออยู่ในอาการครองสติได้หรือไม่ หากไม่มีการประเมินหรือประเมินผิดพลาด และจำหน่ายสุราให้คนครองสติไม่ได้ หากผู้ซื้อไปก่อเหตุอะไรก็ตามที่ผิดกฎหมาย ไม่ว่าอาชญากรรมหรือเมาแล้วขับ ผู้ขายต้องมีส่วนรับผิดชอบทางแพ่งด้วย

ความมึนเมาทำให้คนเป็นปิศาจ เพราะขาดความยับยั้งชั่งใจ เราเรียกความยับยั้งชั่งใจนี้ในภาษาการแพทย์ว่า inhibitory process กล่าวคือถ้าคนปกติโกรธโมโห ในความคิดมีเรื่องร้าย ๆ ที่อยากจะทำ ความยับยั้งชั่งใจของคนปกติจะทำงานและบอกว่า จะเกิดอะไรขึ้นหากทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่เมื่อความโกรธเจอกับคนเมาระบบยั้งคิดนี้จะเสียไปแล้ว ความคิดอะไรที่ไม่ดีก็จะทำทันที กลายเป็นโศกนาฏกรรมอย่างที่เห็นในข่าว
ประชาชนคนไทยตัวเล็กตัวน้อยรับเคราะห์จากเหล้าเบียร์ ตายกันหลายหมื่นคนต่อปี ในขณะที่เจ้าสัวแสนล้านนอนหลับสบายใจ ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร นี่เป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้รู้สึกว่าทำไมเหตุร้ายที่ระบุสาเหตุร่วมของการกระทำได้อย่างการผลิตและจำหน่ายเหล้าเบียร์ คนที่ได้ประโยชน์จากกำไรและการควบคุมตลาดแบบผูกขาด รวมทั้งผู้ผลิตเหล้าเบียร์รายย่อยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดภายใต้สโลแกน “soft power” แทบไม่เคยร่วมรับผิดชอบผลกระทบด้านลบต่อสังคมจากสิ่งที่ทำให้เขาร่ำรวยเลย

ในช่วงวาระนี้จะมีการผลักดันกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่ด้วย กลุ่มทุนอุตสาหกรรมสุราพยายามเต็มที่ที่จะผลักดันกฎหมายหนึ่ง ที่จะให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ทำหน้าที่ควบคุมกลั่นกรองกฎหมายต่าง ๆ ในการควบคุมทั้งการผลิตและจำหน่ายแอลกอฮอล์ โดยความพยายามหนึ่งคือ ต้องการให้ตำแหน่งในคณะกรรมการนี้มีที่นั่งจากผู้ผลิตและจำหน่ายเหล้าเบียร์ด้วย หากกรรมการชุดนี้เกิดขึ้นจริงและมีคนจากอุตสาหกรรมเข้ามามีส่วนร่วมด้วย กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทยคงไปในทางหย่อนยานลงเรื่อย ๆ

อย่าให้เคสแบบนี้เกิดขึ้นอีกและทำได้แค่เพียงแสดงความเสียใจ เราเห็นกันชัดเจนว่า เหตุการณ์ที่โศกเศร้าเช่นนี้เกิดจากปัจจัยสามอย่างคือ คน ปืน และ เหล้าที่เข้าปาก เราทำเต็มที่แล้วหรือยังเพื่อให้ได้กฎหมายที่ช่วยให้พวกเราทุกคนปลอดภัย ทั้งจากคนไม่ดี ปืนที่อยู่ในมือคนไม่ดี และเหล้าที่พร้อมจะทำให้คนดีกลายเป็นคนไม่ดี และเมื่อคนไม่ดีถือปืน ย่อมมีอันตรายต่อสังคม เราต้องใช้สิทธิและเสียงของเราปกป้องอนาคตเรา ผมมีความรู้เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธปืนไม่มาก แต่ความรู้ที่ผมมีคือ เรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยกฎหมาย สิ่งที่ผมพอจะทำให้สังคมเราปลอดภัยมากขึ้นสำหรับคนไทยทุกคน คือทำให้กฎหมายควบคุมเหล้าเบียร์ของเราแข็งแรง ไม่ปล่อยให้โอกาสเกิดร้าย ๆ แบบนี้เกิดขึ้นได้ง่าย และหากเกิดขึ้นแล้วก็ต้องมีคนรับผิดชอบอย่างเต็มกำลัง

เรียบเรียงโดย ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานรินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

เราทำเต็มที่แล้วหรือยัง เพื่อให้ได้กฎหมายที่ช่วยให้พวกเราทุกคนปลอดภัย!? ปืนที่อยู่ในมือคนไม่ดี และเหล้าที่พร้อมจะทำให้คนดีกลายเป็นคนไม่ดี
https://cas.or.th/content?id=511

เราทำเต็มที่แล้วหรือยังเพื่อให้ได้กฎหมายที่ช่วยให้พวกเราทุกคนปลอดภัย!? ทั้งจากคนที่ไม่ดี ปืนที่อยู่ในมือคนไม่ดี และเหล้าที่พร้อมจะทำให้คนดีกลายเป็นคนไม่ดี

จากข่าวที่ อส. ในอำเภอหาดใหญ่ กราดยิงลูกค้าร้านข้าวต้มเนื่องจากโมโหและทะเลาะกับเจ้าของร้าน จนทำให้ครอบครัวที่มาฉลองจัดงานวันเกิดให้ลูกเสียชีวิตไป 2 คน และเจ้าของร้านได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการถูกยิงที่ศีรษะ ก่อนอื่นผมต้องขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวของผู้เสียชีวิตที่ควรจะเป็นวันที่มีความสุขวันหนึ่งของครอบครัว แต่กลายเป็นวันที่เศร้าที่สุด ครอบครัวของเจ้าของร้านข้าวต้มที่ทำมาหากินปกติแต่มาเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเช่นนี้ จนทำให้หัวหน้าครอบครัวบาดเจ็บสาหัสอาจจะพิการตลอดชีวิต ทั้งหมดนี้เกิดจากสามองค์ประกอบคือ คน ปืน และเหล้า ทั้งสามเป็นส่วนผสมที่มีโอกาสนำมาซึ่งความเลวร้าย แม้ว่าในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ทุกคนในเรื่องจะเป็นสุจริตชนก็ตาม

ปัญหาความรุนแรงในสังคม หลายครั้งที่มีเหล้าเป็นองค์ประกอบ ซึ่งที่น่าเศร้าใจคือ บางครั้งผู้รับเคราะห์นั้นไม่ได้เป็นคนดื่มด้วยซ้ำ อย่างเช่นกรณีนี้ สำหรับประเทศที่คำนึงถึงความปลอดภัยของคนในสังคมเขาอย่างเข้มงวด กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีหน้าที่ปกป้องคนทั้งที่ดื่มและไม่ดื่มเหล้าเบียร์ให้ปลอดภัยจากอันตรายของมัน อันตรายโดยตรงของมันคือทำให้คนมึนเมาขาดสติ ซึ่งคนมึนเมาขาดสติหยิบจับอะไรก็ดูอันตรายไปหมด ที่เห็นชัดคือจับพวงมาลัยรถกับจับปืน คนที่เมาแอ๋ไปแล้วแม้กระทั่งจับโทรศัพท์ยังอันตรายเลย การทำให้เคสนี้หายไปจากความทรงจำของคนไทยทุกคนเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้แล้ว แต่สำหรับอนาคตข้างหน้าเราจะสามารถลดโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ได้หากกฎหมายเกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่หย่อนยาน และคุ้มครองพวกเราทุกคนจากสถานการณ์ที่จะนำไปสู่อันตรายจากเหล้าเบียร์ได้จริง ๆ

อย่างเช่นในกรณีที่เกิดขึ้นนี้หากเรามีกฎหมายทั้งฝั่งควบคุมอาวุธปืน และควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เข้มแข็ง เราจะลดโอกาสการเกิดเหตุการณ์นี้ไปได้หลายอย่างเลย ประการแรกสถานที่จำหน่ายถ้าทุกร้านที่จำหน่ายคนขายมีความรู้มีความเข้าใจความเสี่ยงจะประเมินคนซื้อได้ ในต่างประเทศเขามีการให้ใบอนุญาต (license) สำหรับการขายแบบนั่งดื่มในร้าน เข้าใจว่า เคสนี้คนขายในร้านไม่ต้องขออนุญาตสำหรับการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประการที่สอง: เวลาจำหน่าย เหตุการณ์เกิดเวลาใกล้ 22.00 น.แล้ว ซึ่งเป็นยามวิกาล โอกาสเกิดอาชญากรรมง่าย บางประเทศควบคุมหรือห้ามจำหน่ายในเวลาดังกล่าว เช่นในประเทศสิงคโปร์ ที่ห้ามจำหน่ายตั้งแต่ 22.30 น. การจำหน่ายสุราในช่วงเวลากลางคืน มีความเสี่ยงมากกว่าช่วงเวลากลางวัน กฎหมายที่เข้มงวดจึงมีการห้ามขายในช่วงเวลานี้ เพื่อลดโอกาสเกิดอาชญากรรม

นอกจากนั้นในบางประเทศมีกฎหมายเรียกว่า dram shop liability ซึ่งมีเนื้อหาใจความคือ ผู้ขายต้องประเมินได้ว่าผู้ซื้ออยู่ในอาการครองสติได้หรือไม่ หากไม่มีการประเมินหรือประเมินผิดพลาด และจำหน่ายสุราให้คนครองสติไม่ได้ หากผู้ซื้อไปก่อเหตุอะไรก็ตามที่ผิดกฎหมาย ไม่ว่าอาชญากรรมหรือเมาแล้วขับ ผู้ขายต้องมีส่วนรับผิดชอบทางแพ่งด้วย

ความมึนเมาทำให้คนเป็นปิศาจ เพราะขาดความยับยั้งชั่งใจ เราเรียกความยับยั้งชั่งใจนี้ในภาษาการแพทย์ว่า inhibitory process กล่าวคือถ้าคนปกติโกรธโมโห ในความคิดมีเรื่องร้าย ๆ ที่อยากจะทำ ความยับยั้งชั่งใจของคนปกติจะทำงานและบอกว่า จะเกิดอะไรขึ้นหากทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่เมื่อความโกรธเจอกับคนเมาระบบยั้งคิดนี้จะเสียไปแล้ว ความคิดอะไรที่ไม่ดีก็จะทำทันที กลายเป็นโศกนาฏกรรมอย่างที่เห็นในข่าว
ประชาชนคนไทยตัวเล็กตัวน้อยรับเคราะห์จากเหล้าเบียร์ ตายกันหลายหมื่นคนต่อปี ในขณะที่เจ้าสัวแสนล้านนอนหลับสบายใจ ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร นี่เป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้รู้สึกว่าทำไมเหตุร้ายที่ระบุสาเหตุร่วมของการกระทำได้อย่างการผลิตและจำหน่ายเหล้าเบียร์ คนที่ได้ประโยชน์จากกำไรและการควบคุมตลาดแบบผูกขาด รวมทั้งผู้ผลิตเหล้าเบียร์รายย่อยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดภายใต้สโลแกน “soft power” แทบไม่เคยร่วมรับผิดชอบผลกระทบด้านลบต่อสังคมจากสิ่งที่ทำให้เขาร่ำรวยเลย

ในช่วงวาระนี้จะมีการผลักดันกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่ด้วย กลุ่มทุนอุตสาหกรรมสุราพยายามเต็มที่ที่จะผลักดันกฎหมายหนึ่ง ที่จะให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ทำหน้าที่ควบคุมกลั่นกรองกฎหมายต่าง ๆ ในการควบคุมทั้งการผลิตและจำหน่ายแอลกอฮอล์ โดยความพยายามหนึ่งคือ ต้องการให้ตำแหน่งในคณะกรรมการนี้มีที่นั่งจากผู้ผลิตและจำหน่ายเหล้าเบียร์ด้วย หากกรรมการชุดนี้เกิดขึ้นจริงและมีคนจากอุตสาหกรรมเข้ามามีส่วนร่วมด้วย กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทยคงไปในทางหย่อนยานลงเรื่อย ๆ

อย่าให้เคสแบบนี้เกิดขึ้นอีกและทำได้แค่เพียงแสดงความเสียใจ เราเห็นกันชัดเจนว่า เหตุการณ์ที่โศกเศร้าเช่นนี้เกิดจากปัจจัยสามอย่างคือ คน ปืน และ เหล้าที่เข้าปาก เราทำเต็มที่แล้วหรือยังเพื่อให้ได้กฎหมายที่ช่วยให้พวกเราทุกคนปลอดภัย ทั้งจากคนไม่ดี ปืนที่อยู่ในมือคนไม่ดี และเหล้าที่พร้อมจะทำให้คนดีกลายเป็นคนไม่ดี และเมื่อคนไม่ดีถือปืน ย่อมมีอันตรายต่อสังคม เราต้องใช้สิทธิและเสียงของเราปกป้องอนาคตเรา ผมมีความรู้เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธปืนไม่มาก แต่ความรู้ที่ผมมีคือ เรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยกฎหมาย สิ่งที่ผมพอจะทำให้สังคมเราปลอดภัยมากขึ้นสำหรับคนไทยทุกคน คือทำให้กฎหมายควบคุมเหล้าเบียร์ของเราแข็งแรง ไม่ปล่อยให้โอกาสเกิดร้าย ๆ แบบนี้เกิดขึ้นได้ง่าย และหากเกิดขึ้นแล้วก็ต้องมีคนรับผิดชอบอย่างเต็มกำลัง

เรียบเรียงโดย ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานรินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Sweetspot: จุดลงตัวระหว่างสุขภาพและเศรษฐกิจสำหรับสถานประกอบการที่จำหน่ายแอลกอฮอล์
https://cas.or.th/content?id=30

หลังการระบาดของโควิด-19 การจัดการการบริโภคแอลกอฮอล์กลายเป็นประเด็นที่ท้าทาย ส่วนหนึ่งเกิดจากปริมาณการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อการบริโภคนอกสถานที่ (off-trade) ที่เพิ่มขึ้น เช่น ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านขายสุรา รัฐบาลจึงต้องหาวิธีลดอันตรายที่เกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์ ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงการฟื้นตัวของสถานประกอบการที่ให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน (on-trade) เช่น บาร์และร้านอาหาร

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนำไปสู่งานวิจัยเพื่อค้นหาแนวทางที่เรียกว่า “sweetspot” หรือจุดสมดุลระหว่างสุขภาพและเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอันตรายจากแอลกอฮอล์โดยไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อธุรกิจสถานประกอบการ

แนวทางที่สองคือการควบคุมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ออนไลน์ แม้ว่าปัจจุบันจะยังมีการศึกษาที่เกี่ยวข้องไม่มาก แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการลดความสะดวกในการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านบริการจัดส่ง เช่น การเพิ่มระยะเวลาการขนส่ง การจำกัดปริมาณการซื้อในแต่ละครั้ง และการใช้มาตรการห้ามส่งเสริมการขายหรือลดราคาสำหรับการซื้อในปริมาณมาก จะช่วยป้องกันการบริโภคที่เกินพอดี และลดจำนวนผู้ที่เปลี่ยนจากการดื่มในสถานประกอบการไปสู่การดื่มที่บ้าน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพและความรุนแรงในครอบครัว

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังระบุว่ามาตรการดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะช่วยดึงลูกค้ากลับมาใช้บริการในสถานที่ที่มีการควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์อย่างเหมาะสม

รู้จัก.. มาตรการความรับผิดของร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับ ผศ.ดร.สมัย โกรทินธาคม
https://cas.or.th/content?id=627

รู้จัก.. มาตรการความรับผิดของร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับ ผศ.ดร.สมัย โกรทินธาคม

Q1: เจ้าของร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะต้องมีความรับผิดทางกฎหมาย อย่างไร?
A1: ถ้าเราดู กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทย ปี 2551 จะห้ามขายให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี, ห้ามขายนอกเวลาที่กฎหมายกำหนด, ห้ามขายในสถานที่ต้องห้าม, และ ห้ามขายให้ลูกค้าผู้ซึ่งมีอาการมึนเมาแล้วครองสติไม่ได้ ผู้ฝ่าฝืน จะเจอบทลงโทษ ตามระบุ

Q2: ในต่างประเทศ เจ้าของร้านมีความรับผิดในเรื่องนี้ อย่างไรบ้าง?
A2: ไทยและทั่วโลกมีข้อกำหนดคล้ายกัน แต่บางประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา มีกำหนดเพิ่มเติมคือ ผู้ที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะร้านมีที่นั่งให้ดื่ม (On-Premises sale) ต้องมีหน้าที่ พึงระวังไม่ให้ลูกค้าดื่มจนเมามาย ถ้าลูกค้ารายนั้นมีอาการมึนเมาออกจากร้าน แล้วขับขี่ยานพาหนะ จนสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น ผู้ขายจะต้องมีส่วนร่วมรับผิดต่อความเสียหายนั้นด้วย ข้อกำหนดนี้เรียกว่า “Commercial Host Liability หรือ Dram Shop Liability”

Q3: เหตุผล ของการมีข้อบังคับอย่างนั้น คืออะไร?
A3: ฟังดู เป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทย เหตุผลเรื่องนี้มาจากปัญหาเมาแล้วขับในอเมริกา สร้างความเสียหายเกิดขึ้นเป็นวงกว้างมาหลายสิบปี มีสถิติชี้ว่า ผู้ก่อเหตุที่เมาจากร้านที่นั่งดื่ม มีถึง 30-50% ของการเกิดเหตุ ศาลต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา จึงเปลี่ยนกรอบคิดจากเดิม ที่มุ่งเอาผิดเฉพาะผู้ดื่ม ซึ่งเป็นผู้ก่อเหตุโดยตรง ส่วนผู้ขายไม่ได้มีส่วนผิดใด ๆ เพราะผู้ขายอยู่ไกลแก่เหตุความเสียหาย คือ Remote Causation มันก็แค่ขาย ไง ไม่ได้เป็นผู้ที่ขับรถไปชนผู้อื่น นี่
แต่หลักคิด ทางนิติเศรษฐศาสตร์ (Law and Economics) ศาลจึงพิจารณาว่า เมื่อมีผู้ได้รับความเสียหายจากคนมึนเมา ฝ่ายใดควรต้องมีส่วนรับผิดบ้าง สรุปคือ มีเหตุผลอยู่ ที่ผู้ขายควรต้องร่วมรับผิดต่อผู้เสียหาย หากไม่ได้ระวัง ถือว่ามีส่วนก่อช่องภัย (Enabling) และ เป็นผู้ใกล้แก่เหตุแห่งความเสียหาย (Proximate Causation) ผู้ขายพึงต้องมีหน้าที่ยับยั้งปัญหาไว้แต่แรก การเพิกเฉยหน้าที่ดังกล่าว ย่อมนำพาให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น

จริงอยู่ ที่ผู้ขายมีสิทธิเสรีภาพในการขาย จะขายมากเพียงใดก็ได้ เพื่อให้มีรายได้สูงสุด แต่การขายเพื่อเป้าหมายรายได้สูงสุด โดยมิได้คำนึงความปลอดภัยต่อลูกค้าและผู้อื่น ที่อาจได้รับความเสียหายเลย ซึ่งเขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดจากการขายและการดื่มนั้น มันก็ใช้ไม่ได้ เพราะสร้างภัยคุกคามต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของทุกคนในสังคม

เหตุผลของมาตรการนี้ มีไว้เพื่อให้ผู้ดื่มมีการดื่มอย่างพอประมาณ กำกับให้ผู้ขายปลีก ร้านอาหาร สถานบันเทิง ที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้มีการขายอย่างรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อลดปัญหาจากการดื่มและการขาย

Q4: อาจารย์ ช่วยยกตัวอย่างคดีความในต่างประเทศ มีกรณีใดบ้าง?
A4: ตัวอย่างที่ 1) คดีในแคนาดา Schmidt v. Sharpe et al. (1983) ในมลรัฐ Ontario ปี 2526 เยาวชน 2 คน ชื่อ Schmidt (อายุ 16 ปี) และ Sharpe (อายุ 19 ปี) เข้าไปบาร์ในโรงแรม AH104 ทั้งคู่สั่งเบียร์มาดื่ม รวม 3 ขวด จากนั้นเดินทางกลับ โดย Sharpe เป็นคนขับรถ ส่วน Schmidt เป็นผู้โดยสาร ต่อมารถเสียหลักช่วงเข้าทางโค้งจนพลิกคว่ำ Sharpe บาดเจ็บเล็กน้อย ส่วน Schmidt บาดเจ็บสาหัส ร่างกายเป็นอัมพาต ไม่มีอาการตอบสนองตั้งแต่บริเวณหน้าอกลงไป และ ปอดด้านซ้ายไม่ทำงาน

หลังประสบเหตุนั้น พบว่า Sharpe มีอาการมึนเมา ทนายของ Schmidt ฟ้องศาลว่า Sharpe ขับรถไม่ระวัง ทำให้ Schmidt ได้รับความเสียหาย และฟ้องเจ้าของโรงแรม ซึ่งพนักงานเสิร์ฟในความดูแล น่าจะประเมินได้ว่า Schmidt และ Sharpe เป็นเยาวชน อายุไม่ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายอนุญาตให้ดื่ม และ Sharpe มีอาการมึนเมาแล้ว จึงขอให้ Sharpe และ เจ้าของโรงแรม ชดใช้ค่าเสียหาย

ศาลชั้นต้นเห็นว่า พนักงานเสิร์ฟน่าจะทราบว่า ทั้งคู่เป็นเยาวชน แล้วยังขายให้ดื่มจนมึนเมา จึงมีความเสี่ยงแก่ผู้อื่นอาจได้รับความเสียหาย ส่วน Sharpe อ้างต่อศาลว่า ก่อนเกิดเหตุ Schmidt ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย ศาลจึงตัดสินให้ Sharpe รับผิด 55% เจ้าของโรงแรมรับผิด 15% ที่ขายให้ผู้มีอายุต่ำกว่าเกณฑ์ และ Schmidt มีส่วนรับผิด 30% ที่ประมาทร่วมด้วย (Contributory Negligence) เพราะไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ทั้งยอมโดยสารไปกับรถที่ผู้ขับมีอาการมึนเมา ศาลอุทธรณ์ และ ศาลสูงสุด ยืนยันตามคำตัดสินนั้น Schmidt ได้เงินชดเชยราว 163,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากถูกปรับลดลงไปแล้ว 30% ในฐานะที่ตนประมาทร่วม

ตัวอย่างที่ 2) ในอเมริกา เช่น ข่าวเมื่อ 19 พฤษภาคม 2566 นักข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง CBS8 แห่งมหานครซานดิเอโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย รายงานว่า นายโจนาธาน ซาราโกซา (Jonathan Ortiz Zaragoza) เด็กหนุ่มวัย 20 ปี ไปรับประทานอาหารที่ร้าน “Las Tres Cantinas” เมือง Chula Vista ในมหานครซานดิเอโก โดยเขาสั่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย ภายหลังออกจากร้านไปแล้ว ขับรถประสบอุบัติเหตุ จนเสียชีวิตคาที่

นักข่าวอ้างถึง เอกสารของสำนักงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (The Department of Alcoholic Beverage Control-ABC) ที่เผยเหตุก่อนหน้า ระบุว่า นายซาราโกซา ไปนั่งดื่มในร้านนั้น ซึ่งเป็นอีกครั้งหนึ่งที่พนักงานเสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยไม่ได้ตรวจสอบบัตรประชาชนว่า เขามีอายุถึงเกณฑ์ตามกฎหมายอนุญาตให้ดื่มหรือไม่ ซึ่งในทุกมลรัฐของสหรัฐอเมริกา ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 21 ปี ก็แสดงว่า พนักงานฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว ใช่มั้ย

แล้วเจ้าหน้าที่ ยังสืบทราบว่า ก่อนที่นายซาราโกซา จะประสบเหตุร้าย เขามีอาการมึนเมาจากร้านนั้น จึงสั่งพักใบอนุญาตขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้านดังกล่าว เป็นเวลา 1 เดือน และ เตือนว่า หากทางร้านมีการขายโดยผิดกฎหมายซ้ำอีกครั้ง จะถูกยกเลิกใบอนุญาตอย่างถาวร ทั้งนี้ เพื่อปกป้องชีวิตเยาวชนและความปลอดภัยของประชาชน

ส่วนเจ้าของร้านต้องมีส่วนชดใช้อย่างไรนั้น ไม่ปรากฏรายละเอียดในรายงานข่าว แต่เดาได้เลยว่า จะต้องเป็นไปตามกฎหมายของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีข้อกำหนดเรื่องความรับผิดของผู้ขาย ที่ขายให้ผู้มีอายุไม่ถึงเกณฑ์ จนมีอาการมึนเมา (Intoxicated Minors) แล้วเกิดความเสียหายขึ้นนั้น ต้องเจอบทลงโทษอย่างไร

ตัวอย่างที่ 3) หญิงสาวคนหนึ่งชื่อ โจน่า เบจโก้ (Jona Bejko) วัย 21 ปี เมืองเนเปิลส์ รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ได้เสียชีวิตอย่างน่าเศร้าในวันที่ 29 ตุลาคม 2566 เมื่อรถของเธอพุ่งชนและตกลงไปในคลอง แม่ของเธอ ตัดสินใจฟ้องร้านอาหาร ในข้อหาร้านนั้นละเมิดกฎหมาย Dram Shop Liability ของมลรัฐฟลอริดา ที่เสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และ ร้านยังปล่อยให้ลูกของตนขับรถออกจากร้าน จนทำให้เสียชีวิต
จากรายงานของเจ้าหน้าที่ พบว่า โจน่า มีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด สูงถึง 0.30% ซึ่งเกินกว่ากฎหมายในฟลอริดา ที่กำหนดไว้ คือ 0.08% ในแถลงการณ์ของทางครอบครัวของโจน่า กล่าวว่า การฟ้องร้องดังกล่าว พวกเขาต้องการสนับสนุน ให้มีการเตือนพนักงานบาร์และร้านอาหาร ถึงความรับผิดชอบในการเสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ หวังว่า การให้สถานประกอบการมีความรับผิดชอบ จะสามารถช่วยป้องกันครอบครัวอื่น ๆ ไม่ต้องเผชิญความโศกเศร้าเช่นนี้

Q5: ในรายละเอียดของมาตรการนั้น เป็นอย่างไร?
A5: เรื่องนี้เป็นเทคนิคทางกฎหมาย หลายมลรัฐของอเมริกา ยึดหลัก “ให้ผู้เสียหายเป็นฝ่ายพิสูจน์ว่า เจ้าของร้าน ประมาทเลินเล่ออย่างไร (Negligence Rule) ถึงเป็นสาเหตุให้ตนได้รับความเสียหาย จากผู้ขับที่เมาจากร้านนั้น” ซึ่งเป็นหลักการทางแพ่งโดยทั่วไป แต่ว่า หลายกรณีมันเป็นเรื่องยาก ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เจ้าของร้านหรือทีมพนักงานเสิร์ฟ ประมาณเลินเล่ออย่างไร ร้านค้าย่อมต้องพ้นผิด
มลรัฐ Illinois จึงแก้เกม เพื่อลดภาระในการพิสูจน์ (Burden of Proof) โดยกำหนดกติกาว่า ให้สันนิษฐานก่อนไว้ก่อนเลยว่า เจ้าของร้านหรือทีมพนักงานเสิร์ฟมีความผิด “โดยเคร่งครัด (Strict Liability Rule)” เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ได้มีการขายตามกฎหมาย หรือ เป็นเพราะความประมาทเลินเล่อ ของผู้ที่ได้รับความเสียหายจากลูกค้าของตนเอง
จากงานศึกษาต่าง ๆ พบว่า การกำหนดความรับผิดของผู้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกรณีนี้ สามารถช่วยลดอุบัติเหตุร้ายแรงในสหัรัฐอเมริกา ได้อย่างมีนัยสำคัญ

Q6: อาจารย์คิดว่า ถ้าจะนำหลักการนี้ มาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย มีความเป็นไปได้หรือไม่ อย่างไร
A6: ผมว่า เป็นไปได้ คือเอาตรง ๆ นะ บทลงโทษเมาแล้วขับ ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก ในปัจจุบันนี้ แม้จะมีบทลงโทษหนัก แต่ก็ เอาไม่อยู่
1) พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551 เปิดช่องไว้แล้วว่า ให้สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เสนอต่อรัฐมนตรี เพื่อขอปรับเรื่อง “วิธีหรือลักษณะการจำหน่ายที่ต้องห้าม” ได้
2) ควรพิจารณาแก้คำว่า “ขายให้ผู้ที่มึนเมาครองสติไม่ได้” เพราะบังคับใช้ไม่ได้ จากการพูดคุยกับร้านค้าต่าง ๆ ส่วนใหญ่เห็นว่า การประเมินอาการลูกค้า “เมา หรือ ไม่เมา” ดูยาก จึงควรปรับเป็นคำว่า “ผู้มีอาการมึนเมาอย่างเห็นได้ชัด (Visibly Intoxicated)” อย่างในคู่มือของมลรัฐ Oregon เพื่อแนะนำร้านค้าต่าง ๆ
3) ประเทศไทย ควรเลือกหลักการ “ความรับผิดโดยเคร่งครัด (Strict Liability Rule)” ให้ผู้ขายต้องร่วมรับผิดในผลเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น จากลูกค้าผู้ซึ่งมึนเมาออกจากร้านตน โดยผู้ขายต้องมีภาระการพิสูจน์ในการนั้น ยกเว้นเป็นเหตุสุดวิสัย หรือ เป็นความประมาทเลินเล่อของผู้ได้รับความเสียหายนั้นเอง ผู้ขายจึงจะพ้นผิด พวกเราจะได้ไม่ต้องปวดหัว กับหลักการ “ประมาทเลินเล่อ (Negligence Rule)” ครับ

______
ผศ.ดร.สมัย โกรทินธาคม
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

การลดหย่อนนโยบายควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช่วยการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้จริงหรือ?
https://cas.or.th/content?id=633

การลดหย่อนนโยบายควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วยการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้จริงหรือ

โดย นางสาวจินตนา จันทร์โคตรแก้ว สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ

รัฐบาลได้มีความพยายามลดหย่อนนโยบายควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อเอื้อประโยชน์ในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา เช่น มาตรการขยายเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การลดภาษีไวน์ การสนับสนุนการผลิตสุราชุมชน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่การดำเนินมาตรการดังกล่าวเกิดประโยชน์มากกว่าความสูญเสียของประเทศจริงหรือ

ประเทศไทยประสบความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปีละ 165,450.5 ล้านบาทหรือประมาณร้อยละ 1.05 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (1) รัฐบาลกลับมองผลระยะสั้นที่เกิดขึ้น ผลเสียที่ตามมา กลับทวีคูณ การสูญเสียดังกล่าวเกิดจากการสูญเสียผลิตภาพที่เกิดจากการตายก่อนวัยอันควรและความพิการที่ไม่สามารถทำงานได้ ทั้งที่ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ การดำเนินมาตรการที่ก่อให้การตายก่อนวัยอันควรและความพิการที่เกิดขึ้นย่อมนำไปสู่ผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งเป็นมาตรการที่ได้ไม่คุ้มเสีย แต่ละปีมีประชากรไทยเสียชีวิตเนื่องจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 4 หมื่นคนต่อปีทั้งที่เกิดจากโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บทางถนน (2) โดยเฉพาะในชายไทยอายุ 30-59 ปีที่อยู่ในวัยทำงานเกิดการสูญเสียปีสุขภาวะที่จะมีสุขภาพดีทั้งที่เกิดจากความพิการและการตายก่อนวัยอันควร เนื่องจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 163,000 ปี หรือคิดเป็นร้อยละ 3 ของการสูญเสียปีสุขภาวะทั้งหมด จำนวนปีดังกล่าวแทนที่ชายไทยจะนำไปสร้างผลิตภาพให้กับเศรษฐกิจไทย (3) แทนที่รัฐบาลจะลงทุนกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตในระยะยาว เช่น การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาฝีมือแรงงาน แต่กลับใช้นโยบายที่หวังผลระยะสั้น ที่นำไปสู่การสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนี้การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุหลักนำไปสู่โรคไม่ติดต่อหลายสาเหตุ เช่น มะเร็ง โรคตับ โรคหัวใจ (4) ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นำไปสู่ภาระทางสุขภาพที่รัฐบาลจะต้องแบกรับในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยและกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับความคุ้มค่าของการดำเนินนโยบายแอลกอฮอล์ประกอบไปด้วย การควบคุมวัน เวลา สถานที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการควบคุมโฆษณา การควบคุมการดื่มแล้วขับและการคัดกรองและบำบัดรักษาให้มีประสิทธิภาพ ภายใน 5 ปีหากภาครัฐลงทุนเพียง 22 ล้านล้านบาทจะได้ผลประโยชน์จากการรักษาประสิทธิภาพของคนวัยทำงานที่ไม่ต้องลางานขาดงานสูงถึง 59 ล้านล้านบาท โดยทุก 1 บาทที่รัฐลงทุนในการดำเนินมาตรการจะได้รับประโยชน์กลับมา 2.64 บาท (5)

การลดภาษีไวน์กระตุ้นเศรษฐกิจจริงเหรอ ผู้บริโภคไวน์ส่วนใหญ่ คือ ผู้มีรายได้สูง แทนที่รัฐบาลจะเก็บภาษีจากการจำหน่ายไวน์เพื่อเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข ให้เกิดขึ้นในสังคม แต่กลับเอื้อผลประโยชน์ให้บริษัทผลิตไวน์และผู้บริโภคที่มีรายได้สูง จากหลักฐานองค์การอนามัยโลกได้ยืนยันชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิภาพของมาตรการทางภาษีและราคาในการลดการบริโภคการดื่มและความสูญเสียทางสุขภาพและสังคม นอกจากนี้การลดภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นำไปสู่การเพิ่มความเหลื่อมล้ำ คนที่ได้รับผลกระทบจากการดื่มมากที่สุด คือ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ทั้งค่าใช้จ่ายทางสุขภาพที่ต้องแบกรับจากโรคไม่ติดต่อ และปัญหาทางสังคม เช่น ปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัวที่พบมากในกลุ่มครัวเรือนที่ยากจน(6) การลดภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นำไปสู่ความถ่างกว้างของความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยโดยไม่จำเป็น ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินมาตรการราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อปกป้องสุขภาพประชาชน คือ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อรัฐบาลประกาศใช้มาตรการนโยบายการกำหนดราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขั้นต่ำ รวมทั้งไวน์ นำไปสู่การลดการตายที่เกิดจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงถึงร้อยละ 13.4 และอัตราการผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลได้ร้อยละ 4.1 (7) จากการศึกษาที่ถูกรวบรวมอย่างเป็นระบบได้ยืนยันประสิทธิผลของมาตรการภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นำไปสู่การลดการป่วยและการตายจากโรคและการบาดเจ็บ (8)

การเพิ่มเวลาขายกระตุ้นให้มีนักท่องเที่ยวมากขึ้น ในทางกลับกัน ประเทศกลับเสียผลประโยชน์จากค่ารักษาพยาบาลและความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนและการทะเลาะวิวาท รวมทั้งอาชญากรรมที่ตามมา รวมถึงภาพลักษณ์ของประเทศในการเป็นประเทศท่องเที่ยวแบบปลอดภัย จากประสบการณ์ของประเทศออสเตรเลียในรัฐนิวเซาท์เวลส์ในเขตเมืองนิวคาสเซิล ได้มีการลดเวลาเปิดผับจากตี 5 เป็นตี 3.30 และห้ามรับลูกค้าเพิ่มหลังเวลาตี 1.30 แต่ยังนั่งดื่มได้จนถึงตี 3.30 หลังจากการดำเนินมาตรการมีการศึกษาพบว่าคดีทำร้ายร่างกายลดลงร้อยละ 34 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนดำเนินมาตรการ(9) เช่นเดียวกันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่กรุงอัมสเตอร์ดัมประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้มีการประกาศขยายเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ออกไป 1 ชั่วโมงเพื่อกระตุ้นนักท่องเที่ยว[1] แต่เมื่อมีการขยายเวลาขายกลับพบว่า อัตราของการเกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 ในพื้นที่ที่มีการขยายเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เมื่อเทียบกับพื้นที่ที่ไม่ได้ขยายเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (10) นอกจากนี้การขยายเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นำไปสู่อาชญากรรม อุบัติเหตุซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยในการท่องเที่ยว

การผลิตสุราชุมชน กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ถึงแม้การผลิตสุราชุมชนจะเป็นการกระจายรายได้จากรายใหญ่ไปสู่รายย่อย แต่ผลที่ตามมาอาจจะได้ไม่คุ้มเสีย ทั้งการควบคุมมาตรฐานของสุราที่ส่งผลเสียต่อผู้บริโภคในภายหลัง (11) การที่ต้องเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าตรวจโรงผลิตสุราชุมชนที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

สรุป
รัฐบาล มองแห็นผลประโยชน์ระยะสั้นในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ประเทศจะต้องทนรับผลเสียจากนโยบายที่เล็งเห็นเฉพาะผลระยะสั้นไปอีกยาว และส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว เพราะการดำเนินมาตรการขยายเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดภาษีไวน์ และการสนับสนุนการผลิตสุราชุมชน นำไปสู่ความสูญเสียทางสุขภาพและสังคมของประชากรไทยทั้งระยะสั้นและระยะยาว


เอกสารอ้างอิง
1. Luangsinsiri C, Youngkong S, Chaikledkaew U, Pattanaprateep O, Thavorncharoensap M. Economic costs of alcohol consumption in Thailand, 2021. Glob Health Res Policy. 2023;8(1):51.
2. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทย พ.ศ.2562. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ 2566.
3. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2562. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2566.
4. Babor TF, Casswell S, Graham K, Huckle T, Livingston M, Österberg E, et al. Alcohol: No Ordinary Commodity: Research and public policy: Oxford University Press; 2022. Available from: https://doi.org/10.1093/oso/9780192844484.001.0001.
5. United Nations Thailand, Ministry of Public Health, United Nations Development Programme (UNDP), United Nations Inter-Agency Task Force (UNIATF) on the Prevention and Control of NCDs. Prevention and control of noncommunicable diseases in Thailand: The case for investment. Bangkok; 2021.
6. Bryant L, Lightowlers C. The socioeconomic distribution of alcohol-related violence in England and Wales. PLOS ONE. 2021;16(2):e0243206.
7. Wyper GMA, Mackay DF, Fraser C, Lewsey J, Robinson M, Beeston C, et al. Evaluating the impact of alcohol minimum unit pricing on deaths and hospitalisations in Scotland: a controlled interrupted time series study. The Lancet. 2023;401(10385):1361-70.
8. Wagenaar AC, Tobler AL, Komro KA. Effects of alcohol tax and price policies on morbidity and mortality: a systematic review. American Journal of Public Health. 2010;100(11):2270-8.
9. Kypri K, Jones C, McElduff P, Barker D. Effects of restricting pub closing times on night-time assaults in an Australian city. Addiction. 2011;106(2):303-10.
10. de Goeij MC, Veldhuizen EM, Buster MC, Kunst AE. The impact of extended closing times of alcohol outlets on alcohol-related injuries in the nightlife areas of Amsterdam: a controlled before-and-after evaluation. Addiction. 2015;110(6):955-64.
11. Manning L, Kowalska A. Illicit alcohol: public health risk of methanol poisoning and policy mitigation strategies. Foods. 2021;10(7).

เมื่อรัฐบาล จะลดภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์!?
https://cas.or.th/content?id=654

“ความวัว” ยังไม่ทันจะจางหายไป แล้ว “ความควาย” กำลังจะเข้ามาทับถม เริ่มจากรัฐบาลปัจจุบัน ได้ประกาศปลดล็อค ให้สถานบริการในโรงแรม และนอกโรงแรมของ 5 พื้นที่นำร่อง สามารถขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้ถึงเวลาตี 4 แล้วถัดมาไม่กี่วัน กรมสรรพสามิตเผยว่าอยู่ในระหว่างปรับโครงสร้างภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มีความเหมาะสม เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ จึงเสนอให้รัฐบาลลดภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเน้นการลดภาษีไวน์ และสุราชุมชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวให้กระจายทั่วไทย

ในทางวิชาการนั้น หลักการเก็บภาษีจากผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็น “ทำนบกั้น” มิให้ปัญหา ต่าง ๆ ลุกลาม ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกประเทศล้วนต้องจำกัดปัญหาต่อสังคมจากการขายและการดื่ม ถ้ารัฐบาลจะลดทำนบนั้นลง โดยลดภาษีให้แก่ผู้ผลิต ประชาชนเราทั่วไป เดาได้ไม่ยากเลยว่า ราคาขายปลีก ย่อมลดลง แล้วผลลัพธ์อันไม่พึงประสงค์จะมีตามมา อย่างไรบ้าง

ผลการศึกษาในต่างประเทศ เช่น ฟินแลนด์ กับ เดนมาร์ก ภายหลังปรับลดภาษีเหล้า เบียร์ ไวน์ 45% ปรากฏว่า ราคาขายได้ลดลงไป 25% คนในประเทศฟินแลนด์ มีการดื่มเพิ่มขึ้น 10% เพราะราคาขายปลีกถูกลง ส่วนคนในประเทศเดนมาร์ก มีการดื่มเท่าเดิม ซึ่งดูเหมือนว่า จะมีการอิ่มตัวของการบริโภคในเดนมาร์ก แต่ถ้าเราตีความจากผลการศึกษาในเดนมาร์ก ให้พึงนึกถึงบริบทวัฒนธรรมการกินดื่มในยุโรปหลายประเทศนั้น ต่างจากในไทยเราอย่างสิ้นเชิง

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในรอบ 4 ปีมานี้ พบว่า คนไทยมีผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 30% อีก 70% ไม่ได้ดื่ม คือ อาจเคยดื่มและเลิกแล้ว หรือไม่ดื่มเลย ที่น่าสนใจคือ ไทยเรามีนักดื่มหน้าใหม่ ที่อายุ 15 ปีขึ้นไปมากขึ้น อย่างในปี 2564 มีราว ๆ 1.4 ล้านคน ที่น่าตกใจกว่านั้น วัยรุ่นหญิงที่ดื่มในปัจจุบัน มีจำนวนเพิ่มขึ้น

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นเป็นสิ่งที่ผู้ซื้อ ไม่ได้สนใจราคามาก คือ ยามต้องการจะดื่ม แม้ราคาสูงขึ้น ก็ยินดีซื้อกินดื่ม แล้วถ้ายิ่งรัฐบาลจะลดภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยแล้ว ราคาขายปลีกจะถูกลง ย่อมมีผลจูงใจผู้ซื้ออย่างเยาวชน และผู้มีรายได้น้อย ให้ซื้อดื่มมากขึ้นไปอีก

ทำไมรัฐจึงไม่ห่วงใยสุขภาพและความปลอดภัยแก่สาธารณชนโดยรวมเลย แล้วไทยเรายังมีกรอบใหญ่อีกอันรออยู่ คือ กลุ่มประเทศยุโรป (EU) กำลังขอเจรจาเปิดเสรีการค้ากับไทย ซึ่งถ้าผลการเจรจาตกลงแล้วเสร็จ โดยไม่มีการยกเว้นสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ออกจากกรอบข้อตกลงการค้าเสรี สินค้าผ่านแดนเข้า-ออก ระหว่างไทยกับยุโรป อัตราภาษีจะเป็น 0% หรือ บางรายการเก็บในอัตราที่ต่ำมากในอนาคต รวมถึงไวน์กับเหล้า ที่รอหลากทะลัก เข้ามายังไทยอีกมากมาย

ที่น่ากังวลในทางสาธารณสุข คือ สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจมีผู้ท้วงว่า การลดภาษีลง ราคาขายปลีกลดลง แล้วถ้าไม่ได้มีอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น ก็จะไม่เป็นปัญหาอันใด ซึ่งก็จริง แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นเล่า ผลจะเป็นอย่างไร ไทยเรามีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ปีละ 2 หมื่นคน แล้ว 1 ในสาเหตุนั้น เกิดจากการเมาแล้วขับ มีคนตายประมาณ 1,000–2,000 คน และได้รับบาดเจ็บอีกหลายพันคนต่อปี แล้วยังต้องสูญเสียทรัพย์สิน และสร้างภาระต่อเนื่องไปยังสมาชิกครอบครัวผู้อยู่ข้างหลังในระยะยาว

ดูผิวเผิน รัฐบาลมีเจตนาต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มการจ้างงานและรายได้ ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์นั้น มีอยู่หลายวิธี แต่ครั้นดูจากรายงานข่าว น่าประหลาดที่รัฐบาลจะเลือกวิธีกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวกินดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยมากขึ้น และ แน่นอนว่าคนไทยเราเอง ย่อมดื่มเพิ่มขึ้นด้วย เพราะราคาถูกลง แล้วเช่นนั้น สังคมไทยจะต้องแลกอะไรบ้างกับนโยบายนี้ อย่างแรก รัฐจะเสียรายได้บางส่วนอันควรได้จากภาษี ต่อมา ถ้ามีผู้มึนเมาแล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น มีผู้ได้รับความเสียหาย ย่อมเกิดภาระยุ่งยากแก่หลายฝ่ายตามมา

คนไทยเราได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนประกันสังคม และสิทธิ์เบิกจ่ายข้าราชการ กลุ่มนี้มีจำนวนรวม 28% เท่านั้น อีก 70% ได้รับสิทธิ์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือได้รักษาฟรี 16 อาการ ซึ่ง 1 ในนั้น เป็นการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เหตุเกิดที่ใด ให้เข้ารักษาโรงพยาบาลใกล้จุดนั้น เพื่อเยียวยาเบื้องต้น แต่ท้ายที่สุดแล้ว ผู้ประสบเหตุจะถูกส่งไปรักษาต่อ ในโรงพยาบาลที่ผู้นั้นได้ลงทะเบียนไว้แต่แรก โดยรัฐออกค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้ มีบางรายการที่ผู้ประสบเหตุต้องจ่ายเอง เช่น ค่าสแกนสมอง แล้วยังต้องแบกรับภาระการรักษาต่อเนื่อง การกายภาพบำบัด ความพิการ การสูญเสียหน้าที่การงาน หรือ แม้กระทั่งเสียชีวิต ซึ่งเป็นต้นทุนที่ต้องสูญไปไม่น้อยแก่ครอบครัวเลย

ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา รัฐบาลในอดีตเน้นการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยต่อสาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนาคตของเยาวชนและการป้องกันปัญหาดื่มเมาแล้วขับ การตัดสินใจของรัฐบาลปัจจุบัน ด้วยการหย่อนการควบคุมลง ย่อมนำพาให้เกิดการสูญเสียทางสังคมเพิ่มมากขึ้นไปอีก ประชาชนชาวบ้านอาจเกิดคำถามในใจว่า โดยเนื้อในหวังเพียงเพิ่มพูนรายได้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจเหล่านี้ โดยห่อหุ้มด้วยคำว่า “เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวไทย” รัฐบาลควรทบทวนว่า ประชาชนไทยส่วนใหญ่ คิดเห็นกันอย่างไร และสนับสนุนนโยบายลดทอนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ทยอยออกมากันเช่นนี้ จริงหรือไม่

____________
โดย…
ผศ.ดร.สมัย โกรทินธาคม
ดร.นัฐพร โรจนหัสดิน
คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะทำงาน ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
https://cas.or.th/content?id=164

วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปีวันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีสากล

_________
งด ลด ดื่มแอลกอฮอล์ = ยุติความรุนแรง

“ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีสากลด้วยการไม่ดื่มแอลกอฮอล์”

นอกจากแอลกอฮอล์จะจัดเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งปี 2030 ในเป้าหมายที่ 3 สุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่แล้วนั้น ยังนับเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายที่ 16 สันติภาพและความยุติธรรม โดยเฉพาะในเป้าหมายที่ 16.1 ลดการใช้ความรุนแรง และการเสียชีวิตจากความรุนแรงทุกรูปแบบ และทุกหนแห่งอีกด้วย ซึ่งสามารถยืนยันได้จากงานวิจัย ดังนี้

  • จากข้อมูลโครงการสำรวจการได้รับผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้อื่นในประเทศไทย1 โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใหญ่ที่มีเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีอยู่ในความดูแล จำนวน 937 คน พบว่า ร้อยละ 24.6 เด็กที่ตนดูแลอยู่ได้รับผลกระทบจากการดื่มของคนอื่น โดยเป็นผลกระทบจากการถูกตีหรือทำร้ายร่างกายร้อยละ 1.7

  • จากการศึกษาลักษณะและผลกระทบของภัยเหล้ามือสองต่อสมาชิกครอบครัวในชนเผ่าลาหู่ในจังหวัดเชียงราย2 พบว่า ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,031 คน มีผู้หญิงและกลุ่มอายุน้อยกว่าและเท่ากับ 15 ปี เคยถูกลวนลามทางเพศร้อยละ 6.0 และร้อยละ 4.5 ตามลำดับ

  • ผลการศึกษาประสบการณ์ (ปัญหา) ของผู้หญิงจากผลกระทบจากการดื่มสุราของสมาชิกใน ครอบครัว3 พบว่า ผู้หญิงได้รับผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ การเงินของครอบครัว และผู้ดื่มสุรายังสร้างความรุนแรงต่อกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ ในบ้านทั้งเด็ก เยาวชน คนชราและผู้พิการ

  • ผลกระทบจากการดื่มสุราที่มีต่อเด็ก ร้อยละ 16 ของประเทศ เคยได้รับผลกระทบจากการดื่มสุราของคนรอบข้าง โดยปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ความรุนแรงในครอบครัวร้อยละ 7.5 ซึ่งความรุนแรงดังกล่าวประมาณร้อยละ 30 – 35 เกิดจากพ่อและแม่ของเด็กที่ดื่มสุราเอง และถ้าคนรอบข้างดื่มหนัก (Binge Drinking) หรือดื่มบ่อย (Regular Drinking) เด็กจะมีโอกาสเกิดผลกระทบเพิ่มสูงขึ้นถึง 4.8 และ 1.9 เท่า ตามลำดับ เมื่อเทียบกับการไม่มีคนรอบข้างดื่มสุรา4

  • จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสามีกับความรุนแรงจากคู่สมรสในผู้หญิงหลังคลอด จำนวน 1,207 คน ในโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย และจังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. 25665 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 4.7 เคยถูกสามีกระทำความรุนแรงขณะตั้งครรภ์ โดยร้อยละ 4.1 เคยถูกกระทำความรุนแรงทางวาจา ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด รองลงมาเป็นการถูกกระทำความรุนแรงทางร่างกายร้อยละ 1.1 และการถูกกระทำความรุนแรงทางเพศร้อยละ 0.9 โดยสามีที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นบางครั้งและดื่มหนัก และสามีที่ดื่มประจำและดื่มหนัก จะเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความรุนแรงต่อภรรยาที่ตั้งครรภ์ถึง 16.9 เท่า และ 12.8 เท่า ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสามีที่ไม่ดื่มเลย

จากข้อมูลข้างต้น สะท้อนให้เห็นผลกระทบในมิติของความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กและสตรีจากการดื่มแอลกอฮอล์ของบุคคลในครอบครัวและบุคคลรอบข้าง โดยแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์ที่ทำให้ผู้ดื่มขาดการยับยั่งชั่งใจ ควบคุมตัวเองไม่ได้ รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการทำร้ายร่างกายและการคุมคามทางเพศนั่นเอง ดังนั้น การงด ลด การดื่มแอลกอฮอล์ จึงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดและยุติความเสี่ยงในการเกิดความรุนแรงต่อคนที่คุณรัก ครอบครัว และสังคม

 

________
เอกสารอ้างอิง

[1] อรทัย วลีวงศ์ และคณะ. (2558). รายงานโครงการศึกษาวิจัย การศึกษาผลกระทบของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อบุคคลรอบข้างผู้ดื่ม ในประเทศไทย (ระยะที่ 1). ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

[2] ธวัชชัย อภิเดชกุล และคณะ. (2561). ลักษณะและผลกระทบของภัยเหล้ามือสองต่อสมาชิกครอบครัวในชนเผ่าลาหู่. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

[3] ไมซาเร๊าะ ขุนรักษ์ หมานระเด็น และคณะ. (2564). พื้นที่ชีวิตของผู้หญิง (Living Space of Women) : ประสบการณ์การเผชิญสถานการณ์ (ปัญหา) ของผู้หญิงกับบุคคลในครอบครัวที่ดื่มสุรา. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

[4] พลเทพ วิจิตรคุณากร และคณะ. (2564). การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อบุคคลรอบข้างผู้ดื่มในประเทศไทย. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

[5] ไพฑูรย์ สอนทน และคณะ. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสามีกับความรุนแรงจากคู่สมรสในผู้หญิงหลังคลอดในโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

ถาม-ตอบ ประเด็นร้อน จะเกิดอะไรขึ้น? หากมีการลดภาษีไวน์และสุราชุมชน กับ รศ.ดร.นพ.พลเทพ วิจิตรคุณากร
https://cas.or.th/content?id=118

ถาม-ตอบ ประเด็นร้อน จะเกิดอะไรขึ้น? หากมีการลดภาษีไวน์และสุราชุมชน

โดย รศ.ดร.นพ.พลเทพ วิจิตรคุณากร
รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
______


Q1: การลดราคาหรือภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อการดื่มของเยาวชนหรือผู้ใหญ่มากกว่ากัน?
A1: การลดราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลกระทบที่แตกต่างกันระหว่างเยาวชนและผู้ใหญ่ ตามการวิจัยของต่างประเทศในปี 2007 พบว่า การลดราคามีผลต่อเยาวชนมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากความยืดหยุ่นในการบริโภคของเยาวชน (-0.39) ต่ำกว่าในกลุ่มผู้ใหญ่ (-0.56) นั่นหมายความว่า เยาวชนมีแนวโน้มที่จะเพิ่มการบริโภคแอลกอฮอล์มากกว่าเมื่อราคาลดลง ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพและสังคม ดังนั้น หากรัฐบาลจะพิจารณาลดราคา ก็ควรคำนึงถึงผลกระทบเหล่านี้ต่อเยาวชนในสังคมไทยด้วยเช่นกัน

Q2: ราคาแอลกอฮอล์ลดลง ทำให้ชีวิตเยาวชนไทยเสี่ยงตายเพิ่ม?
A2: การศึกษาในสหรัฐอเมริกา พบว่าราคาไม่ใช่แค่ตัวเลข เนื่องจากราคาแอลกอฮอล์ที่สูงขึ้นช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายในเยาวชน ดังนั้นในทางกลับกัน การลดราคาอาจทำให้วัยรุ่นไทยเผชิญกับความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นได้

Q3: แอลกอฮอล์ถูกลง ทำให้ความเสี่ยงบนท้องถนนสูงขึ้น?
A3: แอลกอฮอล์ถูกลง ทำให้ความเสี่ยงต่อความปลอดภัยบนท้องถนนสูงขึ้นจริง เนื่องจากงานวิจัยในอเมริกาและแคนนาดา ชี้ให้เห็นว่า “การเพิ่มราคาแอลกอฮอล์ช่วยลดอุบัติเหตุทางถนน” ดังนั้น “การลดราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้เยาวชนไทยเสี่ยงต่ออุบัติเหตุทางถนนมากขึ้น!”

Q4: แอลกอฮอล์ราคาถูกลง จะทำให้ปัญหาสุขภาพทางเพศเพิ่มขึ้น?
A4: แอลกอฮอล์ถูกลง จะทำให้ปัญหาสุขภาพทางเพศเพิ่มขึ้นจริง เนื่องจากงานวิจัยในสหรัฐอเมริกาเผยว่า “การเพิ่มราคาแอลกอฮอล์ลดความเสี่ยงด้านสุขภาพเหล่านี้”ดังนั้น “การลดราคาอาจนำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยงและปัญหาสุขภาพเพิ่มเติมในหมู่เยาวชนไทย!”

Q5: ราคาแอลกอฮอล์ลดลง ทำให้ความปลอดภัยบนท้องถนนลดลง?
A5: การลดราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้การดื่มหนัก (heavy episodic drinking) เกิดง่ายขึ้น ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการขับรถในสภาพเมา ทำให้อุบัติเหตุทางถนนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าหากราคาแอลกอฮอล์ถูกลงอาจนำไปสู่ความเสี่ยงที่สูงขึ้นบนท้องถนน!

Q6: การลดราคาแอลกอฮอล์จะมีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมการดื่มและความปลอดภัยสุขภาพของเรา?
A6: ราคาที่ถูกลงอาจส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการดื่มหนักมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่เพิ่มความเสี่ยงทางถนนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคตับ และปัญหาสังคม เช่น ความรุนแรงในครอบครัวและการทะเลาะวิวาท

Q7: ลดราคาแอลกอฮอล์ ส่งผลต่อเยาวชนไทยอย่างไร?
A7: การลดราคาแอลกอฮอล์อาจทำให้เยาวชนเข้าถึงแอลกอฮอล์ได้ง่ายขึ้น นำไปสู่การเริ่มต้นในการดื่มในวัยที่น้อยลง และอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ ซึ่งเป็นปัญหาที่สังคมต้องให้ความสำคัญ

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.)

Centre for Alcohol Studies (CAS)

สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและเวชศาสตร์ป้องกัน อาคารศรีเวชวัฒน์ ชั้น 11 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถนนกาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110

083-5775533

https://www.facebook.com/cas.org.th

เข้าชมแล้ว 0 ครั้ง
Copyright © 2025 CAS All rights reserved.