คำค้นหา : ธุรกิจแอลกอฮอล์

คำนี้ค้นหามาแล้ว : 410 ครั้ง
ธุรกิจแอลกอฮอล์กับ Pride Month: ฉลองความหลากหลาย หรือฉวยโอกาสทางการตลาด บนความเสี่ยงของ LGBTQ+
https://cas.or.th/content?id=938

ธุรกิจแอลกอฮอล์กับ Pride Month: ฉลองความหลากหลาย หรือฉวยโอกาสทางการตลาด บนความเสี่ยงของ LGBTQ+

ทุกเดือนมิถุนายน โลกเฉลิมฉลอง Pride Month เพื่อสนับสนุนสิทธิ ความเท่าเทียม และอัตลักษณ์ของกลุ่ม LGBTQ+

แต่ในขณะเดียวกัน ธุรกิจแอลกอฮอล์จำนวนไม่น้อยกลับเข้ามา "แทรก" ในพื้นที่เฉลิมฉลองนี้ ด้วย วาทกรรมของความเป็นพันธมิตร การสนับสนุนกิจกรรม Pride หรือแม้แต่การออกแบบขวดรุ่นพิเศษที่ใช้สีรุ้ง ทั้งหมดนี้ดูเหมือนเป็น "ความหวังดี"... แต่จริง ๆ แล้วมีอะไรซ่อนอยู่

ในสิ่งที่ดูเหมือนมิตรภาพ อาจมีความเสี่ยงซ่อนอยู่

  • งานวิจัยพบว่า กลุ่ม LGBTQ+ ดื่มแอลกอฮอล์มากและบ่อยกว่ากลุ่มทั่วไป โดยเฉพาะหญิงรักหญิงและหญิงไบเซ็กชวล ซึ่งเสี่ยงต่อผลกระทบทางสุขภาพมากกว่ากลุ่มอื่น
  • การดื่มของกลุ่ม LGBTQ+ ไม่ใช่แค่ "เพื่อเข้าสังคม" แต่ยังเป็นเครื่องมือคลายความเครียดจากการถูกกีดกัน หรือตอบสนองอัตลักษณ์ทางเพศ
  • สถานบันเทิงใน “gay scene” กลายเป็นพื้นที่ดื่มหลัก ที่มีทั้ง โปรโมชันเหล้าแรง เกมแจกเครื่องดื่ม และพนักงานขายแบบยั่วยวน เพื่อกระตุ้นยอดขาย
  • แบรนด์แอลกอฮอล์จำนวนมากใช้กลยุทธ์ทาง CSR และ “พันธมิตรแท้” เพื่อสร้างภาพลักษณ์ดี แต่แท้จริงแล้วคือ การตลาดแฝง ที่หลีกเลี่ยงกฎหมายและเพิ่มยอดขาย

ทำไมเราควรตั้งคำถาม?

  • เพราะการ "รวมสีรุ้ง" กับธุรกิจที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ อาจกลายเป็นการทำลายสุขภาพของกลุ่มเปราะบางโดยไม่รู้ตัว
  • เพราะการตลาดลักษณะนี้อาจทำให้เราลืมไปว่า “การดื่มคือความเสี่ยง” ไม่ใช่แค่สัญลักษณ์แห่งการเฉลิมฉลอง
  • เพราะสุขภาพของชุมชน LGBTQ+ ไม่ควรตกเป็นเหยื่อของผลประโยชน์ทางธุรกิจ

ขอชวนทุกคนตั้งคำถามว่า... Pride ที่เราฉลองกันนั้น เพื่อใคร? เราสนับสนุนสิทธิและสุขภาพของ LGBTQ+ จริง ๆ หรือแค่เปิดทางให้แบรนด์แสวงหากำไร?

ร่วมกันจับตาการตลาดแฝง และสร้างพื้นที่ปลอดภัย ปลอดเหล้า เพื่อ Pride ที่แท้จริง

อ้างอิง: Souto Pereira S, Lyons A. Rainbow-washing or genuine allyship? How alcohol companies target the LGBTQ+ community [Internet]. London: Institute of Alcohol Studies; 2025 Mar 10 [cited 2025 Jun 12]. Available from: https://www.ias.org.uk/.../rainbow-washing-or-genuine.../

ความเสี่ยงที่แฝงอยู่ในแอปพลิเคชันติดตามการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
https://cas.or.th/content?id=19

ในปัจจุบันกลุ่มผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความสนใจในการดูแลตนเองมากขึ้น ส่งผลให้มีการพัฒนาแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์เพื่อให้ความรู้ ติดตามและประเมินความเสี่ยงของการดื่มส่วนหนึ่งเป็นแอปพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาโดยองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจากอุตสาหกรรมแอลกอฮอล์ ซึ่งจากการศึกษาก่อนหน้าพบว่าเครื่องมือเหล่านี้อาจมีข้อมูลที่บิดเบือนปะปนอยู่ส่งผลให้ผู้ใชแอปพลิเคชันมีการดื่มที่เพิ่มขึ้นหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ยากขึ้น จึงเกิดคําถามว่าเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านั้นมีความแม่นยําและประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

นักวิชาการชี้ โฆษณาเหล้าเบียร์มีผลให้คนเริ่มดื่มหรือดื่มมากขึ้น
https://cas.or.th/content?id=628


นักวิชาการชี้ โฆษณาเหล้าเบียร์มีผลให้คนเริ่มดื่มหรือดื่มมากขึ้น แนะการควบคุมโฆษณาแบบเบ็ดเสร็จมีประสิทธิภาพมากที่สุด การห้ามโฆษณาเพียงบางส่วนหรือการควคุมตนเองภาคสมัครใจของธุรกิจสุราไม่สามารถป้องกันการสัมผัสโฆษณาในเยาวชนได้

รศ.ดร.วิทย์ วิชัยดิษฐ นักวิชาการ ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และอาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ปัจจุบัน เด็กและเยาวชนทั่วโลกได้รับสื่อโฆษณาและกิจกรรมการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่องในระดับสูงและเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ อุตสาหกรรมแอลกอฮอล์มีการขยายฐานลูกค้ามุ่งเป้าไปกลุ่มเยาวชน และกลุ่มผู้หญิง โดยพยายามจะเน้นไปที่ความสำคัญของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการสร้างบุคลิกลักษณะความเป็นตัวตนหรืออัตลักษณ์ของเยาวชน เนื้อหาการโฆษณาจึงได้รับการออกแบบเพื่อนำเสนอความตลกขบขัน ความคิดที่น่าสนใจ ภาพลักษณ์ สำนวน ถ้อยคำและสิ่งอื่นๆ ที่ใช้ได้ในการพูดคุยสื่อสารระหว่างเพื่อน เพื่อให้เยาวชนใช้สร้างอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกัน หลักฐานทางวิชาการในปัจจุบันบ่งชี้อย่างชัดเจนว่า โฆษณาหรือกิจกรรมการตลาดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลต่อการดื่ม มีการสรุปข้อมูลจากการทดลองในนักศึกษา ที่ให้ดูโฆษณาแอลกอฮอล์เทียบกับโฆษณาอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งพบว่า การดูโฆษณาแอลกอฮอล์มีผลเพิ่มเจตนาและพฤติกรรมการดื่มชัดเจน การเก็บข้อมูลระยะยาวในประชาชนทั่วไปก็ชี้ว่า การโฆษณามีผลทบต้น ยิ่งได้รับโฆษณาซ้ำๆ กันมากเท่าไหร่ ยิ่งมีพฤติกรรมการดื่มมากขึ้นเท่านั้น ในเยาวชนและคนหนุ่มสาว การได้รับโฆษณามีผลต่อการเริ่มดื่มในผู้ที่ไม่เคยดื่ม และการดื่มหนักในผู้ที่ดื่มอยู่แล้ว

ดร.วิทย์ กล่าวเสริมอีกว่า ในตลาดที่กำลังเติบโต การพยายามเปลี่ยนให้ผู้ที่ไม่ดื่มกลายเป็นนักดื่ม ถือเป็นหน้าที่สำคัญของการตลาดของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลยทีเดียว และการตลาดแนวนี้จะพยายามสร้างการยอมรับการดื่มให้กลายเป็นบรรทัดฐานสังคมในหลายวาระโอกาส ถ้าอิงตามทฤษฎีกระบวนการตีความสาร จะเห็นว่า การได้รับสารจากการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซ้ำๆ สารที่ผู้นั้นรับรู้ว่าเชื่อมโยงกับตนเอง จะค่อย ๆ ซึมลึกลงไปสู่ความรู้สึกนึกคิดของผู้รับสาร ทำให้มันพร้อมที่จะโผล่ออกมาในความนึกคิดได้ง่ายขึ้น หากอยู่ในภาวะที่ต้องตัดสินใจ กระบวนการนี้ คือกระบวนการสร้างบรรทัดฐาน หรือทำให้คนมองว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีอยู่อย่างแพร่หลายเป็นเรื่องธรรมดา (normalization) และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตปกติ ซึ่งเป็นการรับรู้ที่น่ากลัว และมีผลต่อพฤติกรรมของประชาชนในอนาคต ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นช้า ๆ และค่อยๆ สะสมมาเรื่อย ๆ จนผู้ที่ได้รับสื่อโฆษณาแทบจะไม่รู้ตัวว่า โฆษณามีผลต่อความรู้สึกนึกคิดของตนเพียงไร

ในด้านการควบคุมโฆษณาการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร.ศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว นักวิชาการ ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และอาจารย์ประจำสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า ในยุคปัจจุบันที่มีการใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียอย่างแพร่หลาย ทำให้เป็นการยากที่จะควบคุมการเข้าถึงโฆษณาของกลุ่มเยาวชนได้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากแพล็ตฟอร์มผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียเอง การทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโซเชียลมีเดีย พบว่า การกดไลค์ กดแชร์ การคลิกดูโฆษณา หรือการเข้าชมเว็บไซต์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น มีความสัมพันธ์ชัดเจนกับการเพิ่มการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่น่าเป็นห่วง คือ การครอบครองสินค้า ของใช้ ของที่ระลึกที่มีตราสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศไทยในช่วงหลายปีมานี้จากการเข้าเป็นผู้สนับสนุนของทีมกีฬาโดยเฉพาะกีฬาฟุตบอลของธุรกิจแอลกอฮอล์ การศึกษาในประชาชนในประเทศไทยเองก็พบว่า ประชาชนที่ใช้สินค้าที่มีตราผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์มีโอกาสดื่มหนักมากกว่าประชาชนที่ไม่ใช้สินค้ามีตราดังกล่าว นอกจากนี้ การศึกษาวิจัยของทีมวิจัยเราเองซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 89,154 คน จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติก็พบความสัมพันธ์เช่นเดียวกันกับการศึกษาในต่างประเทศ คือ ผู้ที่พบเห็นการโฆษณาแอลกอฮอล์มีโอกาสเป็นผู้ดื่มเพิ่มขึ้น 16% และมีโอกาสเป็นผู้ดื่มหนักเพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้พบเห็นการโฆษณา และในกลุ่มคนที่เป็นนักดื่มอยู่แล้วการพบเห็นโฆษณาจะเพิ่มโอกาสในการดื่มหนักขึ้นถึง 51%

นพ.อุดมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้มีข้อมูลทั้งจากของต่างประเทศและประเทศไทยเอง จึงย้ำให้เห็นได้ชัดว่า การทำการโฆษณาการตลาดซึ่งมีเทคนิคหลากหลายส่งผลต่อการกระตุ้นการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารแพร่ผ่านกันได้ทางออนไลน์ การควบคุมการเข้าถึงโฆษณาหรือกิจกรรมการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉพาะกลุ่มประชากร รวมทั้งการควบคุมเฉพาะเนื้อหานั้นทำได้ยาก หรือในทางปฏิบัติอาจจะทำไม่ได้เลย การศึกษาในต่างประเทศในเรื่องด่านตรวจอายุในแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างเช่น ยูทูป ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม ก็ยังพบว่า เทคโนโลยีในการระบุอายุของผู้เข้าชมไร้ประสิทธิภาพ หากต้องการปกป้องเยาวชนจากการถูกจูงใจให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การยังคงการควบคุมโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบครบวงจรหรือการควบคุมแบบเบ็ดเสร็จจะส่งผลต่อการปกป้องเยาวชนได้ดีกว่าการควบคุมบางส่วน หรือการควบคุมภาคสมัครใจโดยภาคธุรกิจควบคุมกันเอง

สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา
https://cas.or.th/content?id=32
Tags : สุรา

ปัญหาแอลกอฮอล์มิใช่เป็นเพียงปัญหาระดับประเทศเท่านั้น หากแต่เป็นปัญหาระดับโลกที่แต่ละประเทศต่างมุ่งแก้ไขปัญหานี้ให้หมดสิ้นไป แนวคิดยุทธศาสตร์ มาตรการและนโยบายการแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์ของโลกในช่วงที่ผ่านมาที่มีประสิทธิผล และเป็นแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด คือ แนวทางการจำากัดการเข้าถึง ความสามารถในการซื้อและกิจกรรมการตลาดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการผสมผสานยุทธศาสตร์และมาตรการเพื่อจัดการกับมิติต่าง ๆ ของแอลกอฮอล์ได้อย่างครบวงจร นโยบายเข้มแข็งเหล่านี้เป็นความหวังของหลายประเทศที่จะขจัดปัญหาแอลกอฮอล์ให้หมดสิ้นอย่างได้ผล แต่ในช่วงห้าสิบปีมานี้ หลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์นับร้อยฉบับกลับทำาให้เห็นภาพที่ไม่สอดคล้องกันในเรื่องนัยยะต่อนโยบายแอลกอฮอล์ เนื่องจากเกือบทุกประเทศยังคงกำาหนดให้ปัญหาแอลกอฮอล์ถูกจัดให้เป็นภารกิจของหน่วยงานด้านสาธารณสุข และไม่ใช่งานของภาค
ส่วนอื่น ๆ ในสังคม รวมถึงการที่ธุรกิจแอลกอฮอล์เข้ามามีบทบาทในการกำาหนดนโยบายแอลกอฮอล์ทั่วโลก กลับทำาให้ปัญหาแอลกอฮอล์ขยายตัว มีความซับซ้อน จนดูเหมือนว่าหากดำาเนินนโยบายนี้ต่อไป ก็ยากที่จะประสบผลสำเร็จ

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.)

Centre for Alcohol Studies (CAS)

สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและเวชศาสตร์ป้องกัน อาคารศรีเวชวัฒน์ ชั้น 11 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถนนกาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110

083-5775533

https://www.facebook.com/cas.org.th

เข้าชมแล้ว 0 ครั้ง
Copyright © 2025 CAS All rights reserved.