คำค้นหา : ปัญหาสุรา

คำนี้ค้นหามาแล้ว : 119 ครั้ง
การสัมมนาวิชาการ นโยบายแอลกอฮอล์ในยุคโควิด-19
https://cas.or.th/content?id=492

การสัมมนาวิชาการ นโยบายแอลกอฮอ์ในยุคโควิด-19

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) จัดการสัมมนาวิชาการ นโยบายแอลกอฮอล์ในยุคโควิด-19 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ผ่านระบบ Zoom Video Conference

เอกสารประกอบการสัมมนา

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย และต่างประเทศ และผลพ่วงต่อการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF

ผลกระทบของวิกฤติโควิด-19 ต่อการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย PDF

สถานการณ์เด่นและบทเรียนนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในยุคโควิด-19 จากทั่วโลก  PDF

แนวทางการปรับตัวเข้าสู่ new normal ในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบไทยๆ PDF

ความท้าทายและโอกาสการพัฒนาในการทำงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของภาครัฐในยุคโควิด-19 PDF

ความท้าทายและโอกาสการพัฒนาในการทำงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของภาคประชาสังคมในยุคโควิด-19 PDF

 

การสัมมนา แนวทางการดูแลผู้ติดตามสุราในชุมชนในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
https://cas.or.th/content?id=493

การสัมมนา แนวทางการดูแลผู้ติดตามสุราในชุมชนในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

เมื่อวันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ผ่านทาง Zoom Video Conference จัดโดย ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) 

เอกสารประกอบการสัมมนา

PDF

PDF

PDF

PDF

ข้อเท็จจริงและตัวเลข เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ. 2562-2564
https://cas.or.th/content?id=31

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) เป็นหน่วยงานทางวิชาการที่สร้างและจัดการองค์ความรู้ พัฒนากลไกการประสานและศักยภาพทางวิชาการ เพื่อสนับสนุนกระบวนการจัดการกับปัญหา จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการสนับสนุนทุนวิจัย จัดเวทีสัมมนา และมีผลงานทางวิชาการต่าง ๆ มากมาย รวมถึงเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการผ่านทางหนังสือ บทความ รายงานวิจัย อินโฟกราฟิก และสื่อมัลติมีเดีย เป็นต้น

เนื่องด้วยการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประกอบกับโครงสร้างของประชากรไทยที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ทำาให้แนวโน้มการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนไทยมีความแตกต่างจากในอดีตที่ผ่านมา ชุดหนังสือนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ในประเด็นที่สำาคัญเกี่ยวกับแบบแผนและแนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรไทยในบทที่ 1 กระแสโฆษณาและการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบทที่ 2 นอกจากนี้ยังมีบทที่ 3 ผลกระทบต่อสุขภาพและสังคมของการดื่มสุรา และบทที่ 4 นโยบายและมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นเนื้อหาของหนังสือข้อเท็จจริงและตัวเลข ปี พ.ศ. 2562-2564 โดยเน้นการนำาเสนอในรูปแบบแผนภาพประกอบ เพื่อให้สามารถทำาความเข้าใจได้โดยง่าย

ทั้งนี้ ทางคณะผู้จัดทำาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่าง ๆ โดยสามารถนำาข้อมูลดังกล่าวไปใช้อ้างอิง วางแผนการควบคุม ส่งเสริมและป้องกันปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยต่อไปได้ในอนาคต

การสังเคราะห์ผลการศึกษาประเด็นดื่มแล้วขับในประเทศไทย พ.ศ. 2564
https://cas.or.th/content?id=34

แม้ว่าการบาดเจ็บและการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยจะมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย แต่ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในเอเชีย อุบัติเหตุเหล่านี้สร้างความสูญเสียทั้งทางร่างกายและจิตใจให้กับผู้ประสบเหตุและครอบครัว รวมถึงส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม

ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากอุบัติเหตุจราจรในประเทศไทยมีมูลค่าเฉลี่ยต่อปีประมาณ 545,435 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) โดยสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่เอง เช่น การขับรถเร็วและการเมาแล้วขับ

ในปี พ.ศ. 2564 ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้สนับสนุนการวิจัยเพื่อศึกษาประเด็น ดื่มแล้วขับในบริบทของประเทศไทย ซึ่งนำไปสู่ข้อค้นพบสำคัญที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนานโยบายเพื่อลดปัญหานี้ในปัจจุบัน

เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมข้อค้นพบและสรุปสาระสำคัญของการศึกษาดังกล่าว ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านในการทำความเข้าใจปัจจัยที่ทำให้ พฤติกรรมดื่มแล้วขับ ยังคงเป็นปัญหาในสังคมไทย รวมถึงช่วยสะท้อนให้ผู้กำหนดนโยบายได้รับทราบและพัฒนาแนวทางในการลดปัญหานี้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นแนวทางในการพัฒนางานวิจัยต่อยอดเพื่อแก้ไขปัญหาการดื่มแล้วขับอย่างต่อเนื่อง

สรุปข้อมูลวิชาการที่สำคัญ มาตรการควบคุมกิจกรรมการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนในยุคดิจิทัลและโลกเสรีทางการค้า
https://cas.or.th/content?id=35

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) เป็นสถาบันวิชาการชั้นนำที่มุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้และชี้นำ นโยบายสาธารณะ ด้านการจัดการปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย โดยกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานให้สอดคล้องกับ แผนปฏิบัติการระดับโลก พ.ศ. 2565 - 2573 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์โลกในการ ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบอันตราย

หนึ่งในแผนกิจกรรมสำคัญของ ศวส. คือ การสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ ซึ่งครอบคลุมโครงการวิจัยหลายประเภท ได้แก่

  • โครงการวิจัยแบบมุ่งเป้า ในประเด็นเกี่ยวกับมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตาม กรอบ SAFER และ แผนปฏิบัติการระดับชาติฯ ระยะที่ 2
  • โครงการวิจัยมุ่งเป้าเพื่อสนับสนุนการพัฒนากฎหมายลูกหรือมาตรการใหม่
  • โครงการเฝ้าระวังสถานการณ์
  • งานสังเคราะห์และประเมินผลนโยบาย
  • งานวิจัยทั่วไปและงานวิจัยเร่งด่วนตามสถานการณ์
  • งานพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ
  • โครงการวิจัยสำหรับวิทยานิพนธ์

การดำเนินงานทั้งหมดนี้มุ่งเน้นไปที่ การพัฒนาข้อเสนอทางวิชาการ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและผลักดัน นโยบายด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

การแข่งขันดื่มเบียร์เร็วหมดเหยือก จนมีผู้ร่วมแข่งขันเสียชีวิตหนึ่งราย แล้วใครคือผู้รับผิดชอบ??
https://cas.or.th/content?id=609

จากกรณีที่มีร้านอาหารจัดการแข่งขันดื่มเบียร์เร็วหมดเหยือก จนมีผู้ร่วมแข่งขันเสียชีวิตหนึ่งราย

ทางศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) ได้สอบถามไปยังนักวิชาการด้านกฎหมาย ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วศิน สุวรรณรัตน์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

ผศ.วศิน ได้ให้ความเห็นว่า “กรณีที่ร้านอาหารจัดการแข่งขันจนทำให้มีผู้เสียชีวิต ตามหลักกฎหมายไทย ผู้ประกอบการ (ร้านอาหารที่จัดการแข่งขัน) อาจจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ฐานกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้ นอกจากนั้น ในทางแพ่ง ก็ถือเป็นการทำละเมิดของร้าน ซึ่งต้องชดใช้ค่าเสียหายด้วย จึงถือว่าเป็นความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาได้”

เบียร์

นักวิชาการชี้ โฆษณาเหล้าเบียร์มีผลให้คนเริ่มดื่มหรือดื่มมากขึ้น
https://cas.or.th/content?id=628


นักวิชาการชี้ โฆษณาเหล้าเบียร์มีผลให้คนเริ่มดื่มหรือดื่มมากขึ้น แนะการควบคุมโฆษณาแบบเบ็ดเสร็จมีประสิทธิภาพมากที่สุด การห้ามโฆษณาเพียงบางส่วนหรือการควคุมตนเองภาคสมัครใจของธุรกิจสุราไม่สามารถป้องกันการสัมผัสโฆษณาในเยาวชนได้

รศ.ดร.วิทย์ วิชัยดิษฐ นักวิชาการ ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และอาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ปัจจุบัน เด็กและเยาวชนทั่วโลกได้รับสื่อโฆษณาและกิจกรรมการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่องในระดับสูงและเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ อุตสาหกรรมแอลกอฮอล์มีการขยายฐานลูกค้ามุ่งเป้าไปกลุ่มเยาวชน และกลุ่มผู้หญิง โดยพยายามจะเน้นไปที่ความสำคัญของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการสร้างบุคลิกลักษณะความเป็นตัวตนหรืออัตลักษณ์ของเยาวชน เนื้อหาการโฆษณาจึงได้รับการออกแบบเพื่อนำเสนอความตลกขบขัน ความคิดที่น่าสนใจ ภาพลักษณ์ สำนวน ถ้อยคำและสิ่งอื่นๆ ที่ใช้ได้ในการพูดคุยสื่อสารระหว่างเพื่อน เพื่อให้เยาวชนใช้สร้างอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกัน หลักฐานทางวิชาการในปัจจุบันบ่งชี้อย่างชัดเจนว่า โฆษณาหรือกิจกรรมการตลาดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลต่อการดื่ม มีการสรุปข้อมูลจากการทดลองในนักศึกษา ที่ให้ดูโฆษณาแอลกอฮอล์เทียบกับโฆษณาอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งพบว่า การดูโฆษณาแอลกอฮอล์มีผลเพิ่มเจตนาและพฤติกรรมการดื่มชัดเจน การเก็บข้อมูลระยะยาวในประชาชนทั่วไปก็ชี้ว่า การโฆษณามีผลทบต้น ยิ่งได้รับโฆษณาซ้ำๆ กันมากเท่าไหร่ ยิ่งมีพฤติกรรมการดื่มมากขึ้นเท่านั้น ในเยาวชนและคนหนุ่มสาว การได้รับโฆษณามีผลต่อการเริ่มดื่มในผู้ที่ไม่เคยดื่ม และการดื่มหนักในผู้ที่ดื่มอยู่แล้ว

ดร.วิทย์ กล่าวเสริมอีกว่า ในตลาดที่กำลังเติบโต การพยายามเปลี่ยนให้ผู้ที่ไม่ดื่มกลายเป็นนักดื่ม ถือเป็นหน้าที่สำคัญของการตลาดของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลยทีเดียว และการตลาดแนวนี้จะพยายามสร้างการยอมรับการดื่มให้กลายเป็นบรรทัดฐานสังคมในหลายวาระโอกาส ถ้าอิงตามทฤษฎีกระบวนการตีความสาร จะเห็นว่า การได้รับสารจากการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซ้ำๆ สารที่ผู้นั้นรับรู้ว่าเชื่อมโยงกับตนเอง จะค่อย ๆ ซึมลึกลงไปสู่ความรู้สึกนึกคิดของผู้รับสาร ทำให้มันพร้อมที่จะโผล่ออกมาในความนึกคิดได้ง่ายขึ้น หากอยู่ในภาวะที่ต้องตัดสินใจ กระบวนการนี้ คือกระบวนการสร้างบรรทัดฐาน หรือทำให้คนมองว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีอยู่อย่างแพร่หลายเป็นเรื่องธรรมดา (normalization) และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตปกติ ซึ่งเป็นการรับรู้ที่น่ากลัว และมีผลต่อพฤติกรรมของประชาชนในอนาคต ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นช้า ๆ และค่อยๆ สะสมมาเรื่อย ๆ จนผู้ที่ได้รับสื่อโฆษณาแทบจะไม่รู้ตัวว่า โฆษณามีผลต่อความรู้สึกนึกคิดของตนเพียงไร

ในด้านการควบคุมโฆษณาการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร.ศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว นักวิชาการ ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และอาจารย์ประจำสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า ในยุคปัจจุบันที่มีการใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียอย่างแพร่หลาย ทำให้เป็นการยากที่จะควบคุมการเข้าถึงโฆษณาของกลุ่มเยาวชนได้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากแพล็ตฟอร์มผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียเอง การทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโซเชียลมีเดีย พบว่า การกดไลค์ กดแชร์ การคลิกดูโฆษณา หรือการเข้าชมเว็บไซต์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น มีความสัมพันธ์ชัดเจนกับการเพิ่มการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่น่าเป็นห่วง คือ การครอบครองสินค้า ของใช้ ของที่ระลึกที่มีตราสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศไทยในช่วงหลายปีมานี้จากการเข้าเป็นผู้สนับสนุนของทีมกีฬาโดยเฉพาะกีฬาฟุตบอลของธุรกิจแอลกอฮอล์ การศึกษาในประชาชนในประเทศไทยเองก็พบว่า ประชาชนที่ใช้สินค้าที่มีตราผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์มีโอกาสดื่มหนักมากกว่าประชาชนที่ไม่ใช้สินค้ามีตราดังกล่าว นอกจากนี้ การศึกษาวิจัยของทีมวิจัยเราเองซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 89,154 คน จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติก็พบความสัมพันธ์เช่นเดียวกันกับการศึกษาในต่างประเทศ คือ ผู้ที่พบเห็นการโฆษณาแอลกอฮอล์มีโอกาสเป็นผู้ดื่มเพิ่มขึ้น 16% และมีโอกาสเป็นผู้ดื่มหนักเพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้พบเห็นการโฆษณา และในกลุ่มคนที่เป็นนักดื่มอยู่แล้วการพบเห็นโฆษณาจะเพิ่มโอกาสในการดื่มหนักขึ้นถึง 51%

นพ.อุดมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้มีข้อมูลทั้งจากของต่างประเทศและประเทศไทยเอง จึงย้ำให้เห็นได้ชัดว่า การทำการโฆษณาการตลาดซึ่งมีเทคนิคหลากหลายส่งผลต่อการกระตุ้นการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารแพร่ผ่านกันได้ทางออนไลน์ การควบคุมการเข้าถึงโฆษณาหรือกิจกรรมการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉพาะกลุ่มประชากร รวมทั้งการควบคุมเฉพาะเนื้อหานั้นทำได้ยาก หรือในทางปฏิบัติอาจจะทำไม่ได้เลย การศึกษาในต่างประเทศในเรื่องด่านตรวจอายุในแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างเช่น ยูทูป ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม ก็ยังพบว่า เทคโนโลยีในการระบุอายุของผู้เข้าชมไร้ประสิทธิภาพ หากต้องการปกป้องเยาวชนจากการถูกจูงใจให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การยังคงการควบคุมโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบครบวงจรหรือการควบคุมแบบเบ็ดเสร็จจะส่งผลต่อการปกป้องเยาวชนได้ดีกว่าการควบคุมบางส่วน หรือการควบคุมภาคสมัครใจโดยภาคธุรกิจควบคุมกันเอง

ไหวไหมประเทศไทย กับการเปิดผับบาร์ถึงตี 4 !?
https://cas.or.th/content?id=634


ไหวไหมประเทศไทย กับการเปิดผับบาร์ถึงตี 4 ⁉️

ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ
นักวิชาการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา
อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

 

_____
เช้านี้ดูข่าวที่น่าหดหู่ใจ กับการเสียชีวิตของหนุ่มนักเที่ยวคนหนึ่ง ที่จังหวัดภูเก็ต เหตุเกิดในช่วงเวลา ตี 4 พอดีเป๊ะ ผู้เสียชีวิตที่เมาหมดสตินอนกลิ้งบนถนน และถูกรถยนต์ที่ขับด้วยความเร็วชนจนเสียชีวิต ทั้ง ๆ ที่รอบข้างนั้นมีเพื่อน ๆ รายล้อมอยู่หลายคน

การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรไม่ว่าด้วยสาเหตุใดล้วนเป็นเรื่องน่าเสียใจ ยิ่งกรณีเช่นนี้ที่มีเพื่อนอยู่ในเหตุการณ์หลายคนคงน่าสะเทือนมากยิ่งขึ้น

การขยายเวลาปิดสถานบันเทิงในไทย ทำให้นักเที่ยวดื่มได้มากขึ้น มีโอกาสเมาเพิ่มขึ้น ยิ่งดึกร่างกายยิ่งเหนื่อยล้า บวกกับฤทธิ์แอลกอฮอล์ โอกาสของอุบัติเหตุและเหตุไม่คาดฝันเพิ่มขึ้นเสมอ ตัวเลขจากการวิจัยในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น ประเทศออสเตรเลีย ไอซ์แลนด์ แคนาดา นอร์เวย์ และเนเธอแลนด์ ล้วนไปในทางเดียวกันว่าการผ่อนคลายให้มีการเพิ่มเวลาในการดื่มแบบนั่งดื่มที่ร้าน มีผลเสียด้านอุบัติเหตุ ความรุนแรง อาชญากรรม เพิ่มขึ้น ไม่รู้ว่าส่วนที่ได้มานั้นคุ้มค่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือไม่

อย่างกรณีที่เอามาเล่าประกอบข่าวนั้น คนขับรถที่ขับรถมาอย่างถูกต้องอย่างน้อยก็ต้องเป็นผู้เสียหาย ในฐานะที่ขับรถชนผู้เสียชีวิตที่เมาหมดสติกลางถนนไปแล้ว เหล้าที่เข้าปากคนหนึ่งคนจึงส่งผลกระทบทั้งต่อคนที่ดื่มและไม่ดื่ม

ถ้าสถานการณ์กลับกัน เป็นคนดื่มเหล้าจนเมามายหมดสติเป็นคนขับรถเสียเอง และไล่ชนชาวบ้านชาวช่องที่ทำมาหากินสุจริตในช่วงเช้าของวัน เรื่องน่าเศร้าจะเศร้าแบบทวีคูณเลยครับ อย่าปล่อยให้ถึงขั้นนั้นเลย สำรวจความพร้อมของบ้านเมืองก่อนได้ไหม ก่อนจะปล่อยให้ผับเปิดถึงตีสี่ทั่วประเทศ

 

นักวิชาการต่างประเทศชี้ ยิ่งลดระดับความเข้มข้นของ กม. เสี่ยงดื่มเพิ่ม เจ็บตายเพิ่ม สูญเสียทางเศรษฐกิจเพิ่ม แนะ!! ไทยควรมีกฎในการปกป้องผู้เยาว์ และกลุ่มเปราะบาง
https://cas.or.th/content?id=635

 

 

 

นักวิชาการต่างประเทศชี้ ยิ่งลดระดับความเข้มข้นของ กม. เสี่ยงดื่มเพิ่ม เจ็บตายเพิ่ม สูญเสียทางเศรษฐกิจเพิ่ม แนะ‼️ ไทยควรมีกฎในการปกป้องผู้เยาว์ และกลุ่มเปราะบาง

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ Professor Jϋrgen Rehm ที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลกด้านแอลกอฮอล์ นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยนโยบายสุขภาพจิต มหาวิทยาลัยโตรอนโต ประเทศแคนาดา ให้สัมภาษณ์กับศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) ในกรณีที่ว่า “จะเกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย หากลดการควบคุมการตลาดและการขายแอลกอฮอล์?”

Professor Jϋrgen กล่าวว่า ผมขออ้างถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล ได้แก่ Angus Deaton ที่ศึกษาว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้สังคมมีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร ซึ่งเป็นการศึกษาในอังกฤษและในยุโรป และในหนังสือเล่มนี้มีข้อความในหน้าหนึ่ง เขียนว่า “เหตุผลหนึ่งที่สหภาพโซเวียตล่มสลายเพราะขาดการควบคุมแอลกอฮอล์ ทำให้เศรษฐกิจชะลอการเติบโต และลดประโยชน์ที่สังคมพึงได้รับจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ” สิ่งที่กล่าวถึงนี้ค่อนข้างสุดโต่ง เพราะว่าตอนที่ Deaton ศึกษาและเขียนหนังสือเล่มนั้น สหภาพโซเวียตมีระดับการบริโภคแอลกอฮอล์ค่อนข้างสูง และเป็นประเทศที่มีอัตราโรคติดสุราสูงที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง แต่ในอีกแง่หนึ่ง การไม่ควบคุมแอลกอฮอล์ก็เป็นเรื่องสุดโต่งเช่นกัน นั่นแปลว่า เราจำเป็นต้องมีการควบคุมแอลกอฮอล์บ้าง ไม่มีประเทศใดในโลกไม่เก็บภาษีแอลกอฮอล์ และมีแค่ไม่กี่ประเทศในโลกที่ไม่มีการจำกัดอายุผู้ซื้อแอลกอฮอล์ หรือให้เด็กอายุ 10 ขวบสามารถดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยเสรีเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นผมคิดว่า การควบคุมในตอนนี้ของประเทศไทยก็ไม่ได้เป็นการควบคุมที่เข้มงวดจนกลายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ในทางกลับกันการลดระดับความเข้มงวดของการควบคุมแอลกอฮอล์ในประเทศไทย จะยิ่งเสี่ยงต่อการที่ประชาชนบริโภคแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น และนำไปสู่การเสียชีวิต เจ็บป่วย ภาระโรคเพิ่มขึ้น รวมถึงคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่จะส่งผลกระทบตามมา และส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจจากการสูญเสียอำนาจการผลิต การมีกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เป็นการปกป้องประชาชน และการปกป้องประชาชนที่เกี่ยวกับแอลกอฮอล์นั้นมีพื้นฐานทางชีววิทยา เนื่องจากสมองมนุษย์จะไม่หยุดมีพัฒนาการจนกว่าจะอายุเกิน 20 ปี และสมองนั้นมีโอกาสได้รับผลกระทบจากแอลกอฮอล์ค่อนข้างมากในช่วงที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ดังนั้น ประเด็นหลักคือ ประเทศควรมีกฎ และควรมีการปกป้องผู้เยาว์ และปกป้องประชากรกลุ่มเปราะบาง นี่คือหน้าที่ของสังคม Professor Jϋrgen กล่าว

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.)

Centre for Alcohol Studies (CAS)

สาขาวิชาระบาดวิทยา ชั้น 6 อาคารบริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถนนกาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110

083-5775533

https://www.facebook.com/cas.org.th

เข้าชมแล้ว 0 ครั้ง
Copyright © 2025 CAS All rights reserved.