คำค้นหา : พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

คำนี้ค้นหามาแล้ว : 125 ครั้ง
ระบบบริการผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
https://cas.or.th/content?id=394

ภายใต้โครงการประเมินผล พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ภายหลังการบังคับใช้เป็นระยะเวลา 10 ปี

มติการประชุม คณะทำงานด้านวิชาการในการสนับสนุนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
https://cas.or.th/content?id=889

มติการประชุม คณะทำงานด้านวิชาการในการสนับสนุนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
ภายใต้อนุกรรมการวิชาการ คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ความเสี่ยงในการแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือประกาศที่ใช้บังคับในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568

1) การยกเลิกกำหนดเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยการให้โรงแรมที่จดทะเบียนสามารถขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือการขยายเวลาขายให้สถานประกอบการคล้ายสถานบริการขายได้ถึงตีสี่:

        ปัจจุบันมีโรงแรมที่จดทะเบียนประมาณ 15,000 แห่ง แขกในโรงแรมสามารถดื่มจากสินค้าที่วางขายในห้องอยู่แล้ว หากครอบคลุมไปถึงร้านค้า ร้านอาหารในโรงแรม มาตรการนี้จะทำให้เกิดการบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างมาก แขกและลูกค้าภายนอกของโรงแรมสามารถเข้ามาใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง จะเกิดการดื่มแล้วขับทำให้บาดเจ็บและการตายบนท้องถนนเพิ่มมากขึ้นในหลายจังหวัดอย่างแน่นอน ประมาณ 15-20% เป็นอย่างน้อย ดังปรากฏข้อเท็จจริงว่าในการขยายเวลาให้สถานบริการในพื้นที่ จังหวัดชลบุรีและภูเก็ตที่รวมประมาณ 1,000 สถานบริการ โดยขยายเวลาบริการได้ถึงตีสี่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุในช่วงตีสองถึงเจ็ดโมงเช้าเพิ่มขึ้นทั้งสองจังหวัด เกิดการบาดเจ็บเพิ่ม 900 ราย (เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 14%) และมีการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทั้งสองจังหวัดรวมกัน 37 ราย (เพิ่มขึ้น 25%) โดยแม้แต่พื้นที่นำร่องที่ขยายเวลาฯ ก็ยังไม่ได้ดำเนินการให้เป็นตามมาตรการที่กำหนด ยิ่งไปกว่านั้นในพื้นที่เขตโซนนิ่งมีปัญหาอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ป่าตอง มีเหตุทุกวัน ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว ชาวบ้านในพื้นที่ใช้ชีวิตลำบากมากขึ้น โจรขโมยเยอะขึ้น และแน่นอนว่าเป็นการเพิ่มภาระงานให้กับบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่กู้ภัย และที่พัทยา พบนักท่องเที่ยวโดนคนเมาทำร้าย อย่างไรก็ดีหากโรงแรมที่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศมากและใช้บริการอาหารเที่ยงของโรงแรมมีความประสงค์ขอขยายเวลาการขายในช่วง 14.00-17.00 น. อาจพิจารณาเป็นข้อยกเว้นภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดขึ้น และตรวจสอบรับรองโดยคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของ พ.ร.บ. ฉบับแก้ไขที่กำลังพิจารณาในสภาขณะนี้

2) การห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันสำคัญทางศาสนา:

        การอนุญาตให้ขายในวันสำคัญทางศาสนาเพียง 5 วัน ประชาชนส่วนใหญ่อาจไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะที่นับถือศาสนาพุทธ เนื่องจากมีมิติทางสังคมวัฒนธรรม และเมื่อพิจารณาสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า ประชาชนยังสามารถหาซื้อได้ในร้านขายของชำทั่วไป โดยสามารถซื้อได้ตลอด แม้ว่าเป็นช่วงเวลาห้ามขายก็ตาม สะท้อนให้เห็นถึงการบังคับใช้กฎหมายที่ผ่านมา ไม่มีการตรวจสอบหรือสุ่มตรวจร้านค้า คณะทำงานด้านวิชาการฯ เสนอให้คงการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันสำคัญทางศาสนาไว้ 5 วันคงเดิม และไม่เห็นด้วยที่จะยกเว้นให้ขายได้ในสถานประกอบการคล้ายสถานบริการ เพราะจะไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งจำนวนสถานประกอบการคล้ายสถานบริการมีมากกว่า 1 แสนราย ส่วนสถานบริการตามกฎหมายสถานบริการ 2,000 ราย ควรจะห้ามเช่นเดิม แต่อาจมีข้อยกเว้นให้กับบางพื้นที่เท่านั้น เช่น ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ โรงแรม โดยคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดต้องรับรองตรวจสอบให้มีมาตรการเฝ้าระวัง ติดตาม และป้องกันผลกระทบอย่างจริงจัง

3) การขายออนไลน์:

        ไม่ควรอนุมัติให้มีการยกเลิกกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือประกาศที่ใช้บังคับปัจจุบันเพื่อให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อผู้บริโภคโดยตรงได้ และควรชะลอการตัดสินใจเพื่อสั่งการให้มีคณะศึกษาผลกระทบในเรื่องนี้อย่างละเอียด เนื่องจากปัจจุบันมีร้านค้าที่พร้อมจะขายออนไลน์ เช่น ร้านสะดวกซื้อแบบธุรกิจขนาดใหญ่เกือบสองหมื่นร้าน ร้านอาหาร ผับ บาร์ อีกประมาณสองแสนร้าน หรืออาจเกือบครึ่งหนึ่งจากใบอนุญาตขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 570,000 ใบ ประกอบกับมีแพลตฟอร์มการสั่งซื้อที่สะดวกมากมายหลากหลายที่ไม่มีการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ซื้อ จะทำให้เยาวชนเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ง่ายโดยปราศจากการตรวจสอบอายุตามที่กฎหมายกำหนด ไม่สามารถตรวจสอบตัวตนของผู้ขายและตรวจสอบใบอนุญาตขาย ซึ่งมีความย้อนแย้งกับมติคณะรัฐมนตรีที่ให้ดำเนินการแก้ไขโดยที่ต้องคำนึงถึงการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่เหมาะสมของเยาวชนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อผู้บริโภคโดยตรงนั้นก็ไม่ได้เป็นวิธีการส่งเสริมการท่องเที่ยวแต่อย่างใด และในทางกลับกันอาจกลายเป็นช่องทางที่มีการสั่งสินค้าแอลกอฮอล์จากต่างประเทศได้ ประกอบกับผลจากการบังคับใช้การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ผ่านมา พบว่า มีการสื่อสารโพสต์คอนเทนต์โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และได้ลองดำเนินการแจ้งทางแพลตฟอร์มโซเชียล ก็ไม่ได้รับความร่วมมือ จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินคดีต่อได้

4) ประเด็นอื่น ๆ:

  • การดำเนินงานในแต่ละประเด็น ควรต้องสร้างตัวเลือกในการดำเนินงาน อาจประกอบด้วยแนวทางหลักและแนวทางสำรอง เช่น อาจจะลองดำเนินการในบางพื้นที่ ซึ่งรัฐต้องมีการควบคุม ติดตาม และรายงานผลของนโยบายให้เป็นที่ประจักษ์ เพื่อลดผลกระทบ โดยมาตรการความพร้อมต้องเกิดก่อนออกมาตรการ
  • ควรมีการศึกษาวิจัยมิติทางสังคมที่มาช่วยยืนยันได้ว่า นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวประเทศไทย มาเพราะอยากดื่มเหล้า มาเล่นคาสิโน และมีงานวิจัยต่างประเทศที่ชี้ว่าการส่งเสริมการท่องเที่ยวในการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นไม่ได้ส่งเสริมรายได้ทางเศรษฐานะของประชาชนได้จริง
  • การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ย่อมเพิ่มผลกระทบแน่นอน ส่วนใหญ่จะพบข้อมูลผลกระทบที่เป็นภัยทางถนนเป็นส่วนใหญ่และเห็นแนวโน้มชัดเจน ซึ่งอาจต้องพิจารณาถึงผลกระทบด้านอื่นร่วมด้วย เช่น เหตุทะเลาะวิวาทจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มจนเสียชีวิต การติดสุรา ข้อมูลความรุนแรง เป็นต้น ซึ่งยังไม่ค่อยมีข้อมูลด้านนี้ จึงไม่สามารถนำมาใช้ในการประกอบการพิจารณาได้อย่างรอบด้าน

5) บทสรุป:

        เนื่องจากการยกเลิกมาตรการต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องการให้ขายออนไลน์ ขยายเวลาขายในโรงแรม 24 ชั่วโมง หรือการขยายเวลาให้สถานบริการและสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการจะมีความเสี่ยงทำให้เกิดการเสียชีวิตประมาณ 600-800 ราย จากการดื่มขับ การเร่งรัดแก้ไขให้เสร็จเร็วเพื่อทันเทศกาลสงกรานต์สำหรับการท่องเที่ยวจึงอาจเป็นการละเลยและประมาทในการปกป้องความปลอดภัยของคนไทยตามหน้าที่ของรัฐที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ คณะทำงานด้านวิชาการฯ เสนอให้มีการศึกษาเพื่อพิจารณาความพร้อมต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ไม่ควรรีบดำเนินการเพราะไม่ได้เป็นภาวะฉุกเฉิน

ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่..) พ.ศ... ที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ในวาระ 2 และวาระ 3 เมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2568
https://cas.or.th/content?id=897

ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่..) พ.ศ... ที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ในวาระ 2 และวาระ 3 เมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2568

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.)

Centre for Alcohol Studies (CAS)

สาขาวิชาระบาดวิทยา ชั้น 6 อาคารบริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถนนกาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110

083-5775533

https://www.facebook.com/cas.org.th

เข้าชมแล้ว 0 ครั้ง
Copyright © 2025 CAS All rights reserved.