คำค้นหา : สารพิษ

คำนี้ค้นหามาแล้ว : 32 ครั้ง
ทำไมจึงต้องมี “พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”
https://cas.or.th/content?id=106

 

ทำไมจึงต้องมี “พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”

ตอบ เพราะ “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ใช่สินค้าธรรมดา” เนื่องด้วยเป็นสารที่มีฤทธิ์อันตรายอยู่ ๓ ประการด้วยกัน คือ

๑) เป็นสารพิษ สารก่อมะเร็ง และสารที่ก่อให้เกิดความพิการทั้งทางร่างกายและสมองในเด็กที่อยู่ในครรภ์มารดา

๒) เป็นสารที่ออกฤทธิ์กดประสาททำให้ขาดสติสัมปชัญญะและความยับยั้งชั่งใจ จึงก่ออาชญากรรมและความรุนแรงต่างๆ ได้ง่าย

๓) เป็นสารเสพติดหรือยาเสพติดประเภทหนึ่งนั่นเอง ที่แม้ฤทธิ์เสพติดอาจไม่รุนแรงเท่าเฮโรอีนแต่เนื่องจากเป็นสารเสพติดที่ถูกกฎหมายจึงมีผู้ใช้จำนวนมากส่งผลให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางมากกว่าผลกระทบจากยาเสพติดทุกตัวรวมกันเป็นร้อยเป็นพันเท่า (คล้ายกับโรคอีโบลาเป็นเฮโรอีน​ กับโรคโควิด-19 เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์)

จากสถิติทางสาธารณสุขของไทยเรา พบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของการสูญเสียคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยอันดับต้นๆ และมีแนวโน้มที่จะคุกคามคุณภาพชีวิตของคนไทยรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อลดภาวะคุกคามนี้

จากการศึกษาทั่วโลกพบว่าการที่จะหยุดยั้งภัยคุกคามนี้ที่มีประสิทธิภาพสูง ต้องใช้สามมาตรการดังต่อไปนี้

๑) การจำกัดการเข้าถึงทางกายภาพ (สถานที่/ วันเวลา/ บุคคล)

๒) การจำกัดการเข้าถึงทางเศรษฐศาสตร์ (ภาษี)

๓) การจำกัดการเข้าถึงทางใจ คือ การไม่ให้มีการโฆษณาสื่อสารการตลาด

ซึ่งจากรายงานวิจัยพบว่าไม่อาจจะทำเพียงมาตรการใดมาตรการหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้ แต่ต้องดำเนินการทุกมาตรการไปพร้อมๆ กัน จึงจะได้ผล แต่อย่างไรก็ดีมาตรการห้ามการโฆษณานี้สำคัญมากเพราะถ้าไม่ดำเนินการห้ามโฆษณาหรือปล่อยให้มีการสื่อสารการตลาดเชิญชวนเชิญเชื่อได้อิสระแล้ว มาตรการอื่นๆ แม้จะทำเต็มที่แล้วก็จะไม่ได้ผลสำเร็จ

จะเห็นได้ว่ามาตรการที่มีประสิทธิภาพเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของคนส่วนหนึ่งบ้าง เพื่อประโยชน์ของมหาชนส่วนรวม จึงมีความจำเป็นต้องตราออกมาเป็นกฎหมายนี้ขึ้น​มา

สำหรับประเด็นที่ขัดรัฐธรรมนูญนั้น ไม่เป็นการขัดรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน เพราะ

๑) กฎหมายฉบับนี้ร่างโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีศาสตราจารย์ทางกฎหมายมหาชน และกฎหมายอาญาระดับแนวหน้าของประเทศร่วมร่างอยู่ด้วย

๒) ร่างกฎหมายนี้ได้ผ่านการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนจากคณะกรรมการกฤษฎีกา

๓) ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้อย่างชัดเจนว่ามิได้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

๔) สำหรับกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ได้จำกัดสิทธิของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ขาย และผู้สูบบุหรี่ไว้มากกว่าที่กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้จำกัดไว้อย่างมาก

จึงขอย้ำว่ากฎหมายนี้ (พรบ​.ควบคุม​เครื่อง​ดื่มแอลกอฮ​อล์)​ ไม่ได้ขัดกับรัฐธรรมนูญ​และหลักสิทธิมนุษยชน​สากลแต่อย่างใด​ ตรงกันข้าม​กลับตรงตามเจตนารมณ์หรือจิตวิญญาณ​ที่แท้จริงอย่างเคร่งครัด​ ดังนี้​

๑) ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และช่วยสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน โดยให้ตระหนักถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งกำหนดมาตรการในการป้องกันเด็กและเยาวชนมิให้เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓๒ เป็นมาตรการหนึ่งในการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้กระทำได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ด้วยเหตุที่อิทธิพลจากการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน แม้ว่าการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะมีผลกระทบต่อการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ประกอบอาชีพดังกล่าว ซึ่งหากฝ่าฝืน มีความผิดและมีโทษทางอาญาอันเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพ อยู่บางส่วนก็ตาม แต่ก็เป็นการจำกัดเสรีภาพภายในขอบเขตตามที่รัฐธรรมนูญ ซึ่งให้อำนาจกระทำได้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นการจัดระเบียบการประกอบอาชีพ และเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค และบทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่จำกัดเสรีภาพเพียงเท่าที่จำเป็น เนื่องจากมิได้ห้ามการโฆษณาโดยเด็ดขาด หากการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์ย่อมสามารถกระทำได้ มิได้กระทบกระเทือน ต่อสาระสำคัญแห่งเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพของบุคคลแต่อย่างใด โดยมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปกับบุคคลที่ขายสินค้าประเภทนั้น และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง อันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ

๒) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนประกอบด้วยข้อความ ๓๐ ข้อ โดยขอยกเพียงสามข้อแรก ก็สนับสนุนกฎหมายนี้อย่างชัดเจน ข้อ ๑ ทุกคนมีศักดิ์ศรี สิทธิ และเสรีภาพเท่าเทียมกัน และต้องปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง ซึ่งถ้าเรามองประชาชนคนไทยเป็นพี่น้องของเรา คงจะไม่โฆษณาเชิญชวนให้ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นสารพิษ สารก่อมะเร็ง สารเสพติด มาดื่มอย่างแน่นอนใช่ไหม? ข้อ ๒ ทุกคนมีสิทธิ และเสรีภาพ อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ซึ่งจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็ชัดเจนแล้วว่ากฎหมายนี้มิได้มีการมุ่งหมายให้ใช้บังคับกับกรณีใดกรณีหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง คือมิได้มีการเลือกปฏิบัตินั่นเอง และ ข้อ ๓ ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิตอยู่ และมีความมั่นคง อันยิ่งชัดเจนว่าการโฆษณาส่งเสริมการขายสารทำลายสุขภาพและชีวิตแบบนี้ย่อมขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนอย่างชัดแจ้ง

ตีแผ่ความจริง การดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ทำให้เกิดผลดีเวลาออกกำลังกาย
https://cas.or.th/content?id=542

แปลและเรียบเรียงโดย ดร.วิทย์ วิชัยดิษฐ

หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ที่มา: แปลมาจากบทความ The Truth About Alcohol and Exercise ของ Yvonne O Brien (https://www.indi.ie/fact-sheets/fact-sheets-on-sports-nutrition/518-the-truth-about-alcohol-and-exercise.html)

ผลของแอลกอฮอล์ต่อการเล่นกีฬา

การดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างออกกำลังกาย อาจทำให้สมรรถภาพในการเล่นกีฬาของคุณเปลี่ยนไป เนื่องจาก…

1. การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ร่างกายขาดน้ำ แอลกอฮอล์เป็นสารขับปัสสาวะ ทำให้ไตผลิตปัสสาวะมากขึ้น การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจึงอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ การออกกำลังกายหลังดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้ร่างกายยิ่งขาดน้ำมากขึ้นไปอีก เพราะออกกำลังกายแล้วเสียเหงื่อ และเมื่อเราขาดน้ำ ก็ทำให้สมรรถภาพร่างกายลดลง หากจะออกกำลังกาย ควรดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อให้เลือดไหลไปทั่วร่างกายให้กล้ามเนื้อได้รับออกซิเจนและสารอาหารได้ดี ทำให้ออกกำลังกายได้เต็มที่

2. แอลกอฮอล์ส่งผลต่อการสร้างพลังงานในร่างกาย แอลกอฮอล์ถูกย่อยสลายในตับ และเมื่อตับเราย่อยสลายแอลกอฮอล์ หน้าที่อื่นๆ ของตับจะกลายเป็นเรื่องรอง ซึ่งรวมถึงการผลิตกลูโคสด้วย และร่างกายเราต้องการกลูโคสเป็นพลังงาน หากตับสร้างกลูโคสไม่พอเนื่องจากต้องขับแอลกอฮอล์ออกไป ร่างกายเราจะอ่อนเพลียและวิ่งตามคนอื่นไม่ทัน

3. แอลกอฮอล์ทำให้ระบบประสาทที่ส่งสัญญาณไปทั่วร่างกายทำงานช้าลง ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งฤทธิ์ในส่วนนี้อาจอยู่ได้สักพักหนึ่ง และทำให้ปฏิกิริยา การเคลื่อนไหว ความแม่นยำและสมดุลของร่างกายต่ำกว่าปกติระหว่างออกกำลังกายและแข่งกีฬา

คืนก่อนออกกำลังกาย และวันหลังออกกำลังกาย

– การดื่มแอลกอฮอล์คืนก่อนออกกำลังกายอาจส่งผลเสียต่อสมรรถภาพของร่างกายในวันต่อมาได้ หากเรามีอาการ “เมาค้าง” หรือแฮงค์ เช่น ขาดน้ำ ปวดหัว เราจะไม่สามารถเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายได้อย่างเต็มที่

– ระหว่างที่ออกกำลังกาย กล้ามเนื้อของเราจะเผาผลาญกลูโคสเพื่อให้ได้พลังงาน ทำให้เกิดกรดแลคติก ซึ่งหากมีกรดแลคติกมากเกินไป จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและเป็นตะคริว หากเราออกกำลังกายหลังดื่มแอลกอฮอล์ ตับจะต้องทำงานหนักเพื่อกำจัดสารพิษจากแอลกอฮอล์ ทำให้กำจัดกรดแลคติกไม่ได้เต็มที่ ทำให้มีโอกาสเป็นตะคริวได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้เราไม่มีแรงหรือรู้สึกเหนื่อยได้ง่ายขึ้นด้วย

– ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ในคืนก่อนออกกำลังกาย โดยเฉพาะหากมีกิจกรรมที่หนักปานกลางหรือหนักมาก อย่างไรก็ดี หากจะดื่ม ควรจำกัดจำนวนแก้วและดื่มระหว่างที่กินอาหาร

– หลังออกกำลังกายก็ไม่ควรดื่มเช่นกัน หากยังไม่ได้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอเพื่อทดแทนน้ำในร่างกายที่หายไปกับเหงื่อ

ผลต่อสุขภาพอื่นๆ

น้ำหนักเพิ่ม

แอลกอฮอล์มีแคลลอรี่สูง กรัมละเจ็ดแคลอรี่ แทบจะมากเท่ากับก้อนไขมัน หากคุณออกกำลังกายเพื่อจัดการน้ำหนัก การดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้คุณได้รับ “แคลลอรี่ไร้ประโยชน์” กลับมาและทำให้ลดน้ำหนักไม่สำเร็จ นอกจากนี้ เมื่อดื่มไปได้สักพัก คุณอาจรู้สึกอยากกินอาหารแคลอรี่สูง ซึ่งยิ่งทำให้การลดน้ำหนักยิ่งมีโอกาสล้มเหลวมากขึ้นอีก

กล้ามเนื้อเติบโตได้น้อย

แอลกอฮอล์ทำให้การนอนไม่เป็นปกติ ซึ่งร่างกายของเราจะหลั่งฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อออกมาในช่วงที่เราหลับสนิท การดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้การนอนหลับไม่เป็นปกติและทำให้กล้ามเนื้อโตได้ช้าลง

อัตราการเต้นหัวใจเปลี่ยนแปลง

เรื่องที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ การดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ ซึ่งความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นมากเมื่อออกกำลังกายภายในสองวันหลังจากดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก ความเสี่ยงนี้แตกต่างกันไปในแต่ละคน การออกกำลังกายทำให้ตัวใจเต้นเร็วขึ้น หากดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก หัวใจยิ่งต้องทำงานหนักยิ่งขึ้นไปอีก

แผลหายช้า

แอลกอฮอล์ทำให้เส้นเลือดที่ผิวหนัง แขน และขา ขยายตัว ทำให้มีเลือดไปหล่อเลี้ยงมากขึ้น เวลาเป็นแผลเลือดจะไหลเยอะและบวมมากกว่าปกติ ทำให้แผลหายช้า

หากเวลาเข้าสังคม ท่านต้องการลด ละ เลิกดื่ม ควรพิจารณาแนวทางต่อไปนี้

– วางแผนล่วงหน้า – คิดดูว่าจะไปไหน ไปเจอใคร และจะดื่มมากแค่ไหน แล้วทำตามแผน

– กินอาหารก่อนหรือระหว่างดื่มแอลกอฮอล์ – การกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากหลังออกกำลังกาย ช่วยชดเชยพลังงานที่กล้ามเนื้อสูญเสียไป การกินอิ่มท้องจึงช่วยทำให้เราดื่มแอลกอฮอล์ช้าลง

– ค่อยๆ ดื่ม – ดื่มแอลกอฮอล์สลับกับเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ หากเราหิวน้ำ เราจะดื่มแอลกอฮอล์เร็ว ดังนั้นจึงควรมีเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ดับกระหายก่อนที่จะเริ่มดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะหลังออกกำลังกาย

– ดื่มช้าๆ ค่อยๆ จิบ อย่าดื่มเป็นอึก จิบแล้วให้วางแก้ว

– เลือกเครื่องดื่มดีๆ เลือกเบียร์ที่มีแอลกอฮอล์ต่ำหรือใช้แก้วขนาดใหญ่ผสมเหล้าเข้ากับมิกเซอร์เยอะๆ

– เป็นคนอาสาขับรถพาเพื่อนกลับบ้าน (designated driver) หากคุณตัดสินใจไม่ดื่มและกลัวว่าจะโดนคนอื่นคะยั้นคะยอ ให้บอกคนอื่นว่าคุณตั้งใจจะเป็นคนที่ช่วยขับรถพาเพื่อนกลับบ้าน

– ดื่มให้หมดทีละแก้ว – อย่าให้คนอื่นเติมแก้วให้ก่อนที่จะดื่มหมดแก้ว หากทำแบบนั้น เราจะไม่รู้ว่าดื่มไปมากเท่าไหร่แล้ว

– ทำโน่นทำนี่ระหว่างดื่ม – เวลาที่เรายุ่งกับเรื่องอื่น เราจะดื่มน้อยลง ออกไปเต้นหรือเดินไปโน่นไปนี่ อย่ามัวแต่นั่งดื่มอย่างเดียว

– ก่อนนอนอย่าลืมดื่มน้ำเยอะๆ การดื่มน้ำก่อนนอนช่วยป้องกันการแฮงค์ได้ การดื่มน้ำเยอะๆ คั่นสลับกับการดื่มแอลกอฮอล์ ก็ช่วยป้องกันการแฮงค์ได้เช่นกัน

ทำไมจึงต้องมี “พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”
https://cas.or.th/content?id=814

ทำไมจึงต้องมี “พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”

ตอบ เพราะ “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ใช่สินค้าธรรมดา” เนื่องด้วยเป็นสารที่มีฤทธิ์อันตรายอยู่ ๓ ประการด้วยกัน คือ

๑) เป็นสารพิษ สารก่อมะเร็ง และสารที่ก่อให้เกิดความพิการทั้งทางร่างกายและสมองในเด็กที่อยู่ในครรภ์มารดา

๒) เป็นสารที่ออกฤทธิ์กดประสาททำให้ขาดสติสัมปชัญญะและความยับยั้งชั่งใจ จึงก่ออาชญากรรมและความรุนแรงต่างๆ ได้ง่าย

๓) เป็นสารเสพติดหรือยาเสพติดประเภทหนึ่งนั่นเอง ที่แม้ฤทธิ์เสพติดอาจไม่รุนแรงเท่าเฮโรอีนแต่เนื่องจากเป็นสารเสพติดที่ถูกกฎหมายจึงมีผู้ใช้จำนวนมากส่งผลให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางมากกว่าผลกระทบจากยาเสพติดทุกตัวรวมกันเป็นร้อยเป็นพันเท่า (คล้ายกับโรคอีโบลาเป็นเฮโรอีน​ กับโรคโควิด-19 เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์)

จากสถิติทางสาธารณสุขของไทยเรา พบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของการสูญเสียคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยอันดับต้นๆ และมีแนวโน้มที่จะคุกคามคุณภาพชีวิตของคนไทยรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อลดภาวะคุกคามนี้

จากการศึกษาทั่วโลกพบว่าการที่จะหยุดยั้งภัยคุกคามนี้ที่มีประสิทธิภาพสูง ต้องใช้สามมาตรการดังต่อไปนี้

๑) การจำกัดการเข้าถึงทางกายภาพ (สถานที่/ วันเวลา/ บุคคล)

๒) การจำกัดการเข้าถึงทางเศรษฐศาสตร์ (ภาษี)

๓) การจำกัดการเข้าถึงทางใจ คือ การไม่ให้มีการโฆษณาสื่อสารการตลาด

ซึ่งจากรายงานวิจัยพบว่าไม่อาจจะทำเพียงมาตรการใดมาตรการหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้ แต่ต้องดำเนินการทุกมาตรการไปพร้อมๆ กัน จึงจะได้ผล แต่อย่างไรก็ดีมาตรการห้ามการโฆษณานี้สำคัญมากเพราะถ้าไม่ดำเนินการห้ามโฆษณาหรือปล่อยให้มีการสื่อสารการตลาดเชิญชวนเชิญเชื่อได้อิสระแล้ว มาตรการอื่นๆ แม้จะทำเต็มที่แล้วก็จะไม่ได้ผลสำเร็จ

จะเห็นได้ว่ามาตรการที่มีประสิทธิภาพเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของคนส่วนหนึ่งบ้าง เพื่อประโยชน์ของมหาชนส่วนรวม จึงมีความจำเป็นต้องตราออกมาเป็นกฎหมายนี้ขึ้น​มา

สำหรับประเด็นที่ขัดรัฐธรรมนูญนั้น ไม่เป็นการขัดรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน เพราะ

๑) กฎหมายฉบับนี้ร่างโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีศาสตราจารย์ทางกฎหมายมหาชน และกฎหมายอาญาระดับแนวหน้าของประเทศร่วมร่างอยู่ด้วย

๒) ร่างกฎหมายนี้ได้ผ่านการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนจากคณะกรรมการกฤษฎีกา

๓) ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้อย่างชัดเจนว่ามิได้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

๔) สำหรับกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ได้จำกัดสิทธิของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ขาย และผู้สูบบุหรี่ไว้มากกว่าที่กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้จำกัดไว้อย่างมาก

จึงขอย้ำว่ากฎหมายนี้ (พรบ​.ควบคุม​เครื่อง​ดื่มแอลกอฮ​อล์)​ ไม่ได้ขัดกับรัฐธรรมนูญ​และหลักสิทธิมนุษยชน​สากลแต่อย่างใด​ ตรงกันข้าม​กลับตรงตามเจตนารมณ์หรือจิตวิญญาณ​ที่แท้จริงอย่างเคร่งครัด​ ดังนี้​

๑) ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และช่วยสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน โดยให้ตระหนักถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งกำหนดมาตรการในการป้องกันเด็กและเยาวชนมิให้เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓๒ เป็นมาตรการหนึ่งในการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้กระทำได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ด้วยเหตุที่อิทธิพลจากการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน แม้ว่าการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะมีผลกระทบต่อการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ประกอบอาชีพดังกล่าว ซึ่งหากฝ่าฝืน มีความผิดและมีโทษทางอาญาอันเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพ อยู่บางส่วนก็ตาม แต่ก็เป็นการจำกัดเสรีภาพภายในขอบเขตตามที่รัฐธรรมนูญ ซึ่งให้อำนาจกระทำได้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นการจัดระเบียบการประกอบอาชีพ และเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค และบทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่จำกัดเสรีภาพเพียงเท่าที่จำเป็น เนื่องจากมิได้ห้ามการโฆษณาโดยเด็ดขาด หากการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์ย่อมสามารถกระทำได้ มิได้กระทบกระเทือน ต่อสาระสำคัญแห่งเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพของบุคคลแต่อย่างใด โดยมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปกับบุคคลที่ขายสินค้าประเภทนั้น และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง อันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ

๒) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนประกอบด้วยข้อความ ๓๐ ข้อ โดยขอยกเพียงสามข้อแรก ก็สนับสนุนกฎหมายนี้อย่างชัดเจน ข้อ ๑ ทุกคนมีศักดิ์ศรี สิทธิ และเสรีภาพเท่าเทียมกัน และต้องปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง ซึ่งถ้าเรามองประชาชนคนไทยเป็นพี่น้องของเรา คงจะไม่โฆษณาเชิญชวนให้ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นสารพิษ สารก่อมะเร็ง สารเสพติด มาดื่มอย่างแน่นอนใช่ไหม? ข้อ ๒ ทุกคนมีสิทธิ และเสรีภาพ อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ซึ่งจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็ชัดเจนแล้วว่ากฎหมายนี้มิได้มีการมุ่งหมายให้ใช้บังคับกับกรณีใดกรณีหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง คือมิได้มีการเลือกปฏิบัตินั่นเอง และ ข้อ ๓ ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิตอยู่ และมีความมั่นคง อันยิ่งชัดเจนว่าการโฆษณาส่งเสริมการขายสารทำลายสุขภาพและชีวิตแบบนี้ย่อมขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนอย่างชัดแจ้ง

ตีแผ่ความจริง การดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ทำให้เกิดผลดีเวลาออกกำลังกาย
https://cas.or.th/content?id=817

แปลและเรียบเรียงโดย ดร.วิทย์ วิชัยดิษฐ

หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ที่มา: แปลมาจากบทความ The Truth About Alcohol and Exercise ของ Yvonne O Brien (https://www.indi.ie/fact-sheets/fact-sheets-on-sports-nutrition/518-the-truth-about-alcohol-and-exercise.html)

ผลของแอลกอฮอล์ต่อการเล่นกีฬา

การดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างออกกำลังกาย อาจทำให้สมรรถภาพในการเล่นกีฬาของคุณเปลี่ยนไป เนื่องจาก…

1. การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ร่างกายขาดน้ำ แอลกอฮอล์เป็นสารขับปัสสาวะ ทำให้ไตผลิตปัสสาวะมากขึ้น การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจึงอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ การออกกำลังกายหลังดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้ร่างกายยิ่งขาดน้ำมากขึ้นไปอีก เพราะออกกำลังกายแล้วเสียเหงื่อ และเมื่อเราขาดน้ำ ก็ทำให้สมรรถภาพร่างกายลดลง หากจะออกกำลังกาย ควรดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อให้เลือดไหลไปทั่วร่างกายให้กล้ามเนื้อได้รับออกซิเจนและสารอาหารได้ดี ทำให้ออกกำลังกายได้เต็มที่

2. แอลกอฮอล์ส่งผลต่อการสร้างพลังงานในร่างกาย แอลกอฮอล์ถูกย่อยสลายในตับ และเมื่อตับเราย่อยสลายแอลกอฮอล์ หน้าที่อื่นๆ ของตับจะกลายเป็นเรื่องรอง ซึ่งรวมถึงการผลิตกลูโคสด้วย และร่างกายเราต้องการกลูโคสเป็นพลังงาน หากตับสร้างกลูโคสไม่พอเนื่องจากต้องขับแอลกอฮอล์ออกไป ร่างกายเราจะอ่อนเพลียและวิ่งตามคนอื่นไม่ทัน

3. แอลกอฮอล์ทำให้ระบบประสาทที่ส่งสัญญาณไปทั่วร่างกายทำงานช้าลง ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งฤทธิ์ในส่วนนี้อาจอยู่ได้สักพักหนึ่ง และทำให้ปฏิกิริยา การเคลื่อนไหว ความแม่นยำและสมดุลของร่างกายต่ำกว่าปกติระหว่างออกกำลังกายและแข่งกีฬา

คืนก่อนออกกำลังกาย และวันหลังออกกำลังกาย

– การดื่มแอลกอฮอล์คืนก่อนออกกำลังกายอาจส่งผลเสียต่อสมรรถภาพของร่างกายในวันต่อมาได้ หากเรามีอาการ “เมาค้าง” หรือแฮงค์ เช่น ขาดน้ำ ปวดหัว เราจะไม่สามารถเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายได้อย่างเต็มที่

– ระหว่างที่ออกกำลังกาย กล้ามเนื้อของเราจะเผาผลาญกลูโคสเพื่อให้ได้พลังงาน ทำให้เกิดกรดแลคติก ซึ่งหากมีกรดแลคติกมากเกินไป จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและเป็นตะคริว หากเราออกกำลังกายหลังดื่มแอลกอฮอล์ ตับจะต้องทำงานหนักเพื่อกำจัดสารพิษจากแอลกอฮอล์ ทำให้กำจัดกรดแลคติกไม่ได้เต็มที่ ทำให้มีโอกาสเป็นตะคริวได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้เราไม่มีแรงหรือรู้สึกเหนื่อยได้ง่ายขึ้นด้วย

– ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ในคืนก่อนออกกำลังกาย โดยเฉพาะหากมีกิจกรรมที่หนักปานกลางหรือหนักมาก อย่างไรก็ดี หากจะดื่ม ควรจำกัดจำนวนแก้วและดื่มระหว่างที่กินอาหาร

– หลังออกกำลังกายก็ไม่ควรดื่มเช่นกัน หากยังไม่ได้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอเพื่อทดแทนน้ำในร่างกายที่หายไปกับเหงื่อ

ผลต่อสุขภาพอื่นๆ

น้ำหนักเพิ่ม

แอลกอฮอล์มีแคลลอรี่สูง กรัมละเจ็ดแคลอรี่ แทบจะมากเท่ากับก้อนไขมัน หากคุณออกกำลังกายเพื่อจัดการน้ำหนัก การดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้คุณได้รับ “แคลลอรี่ไร้ประโยชน์” กลับมาและทำให้ลดน้ำหนักไม่สำเร็จ นอกจากนี้ เมื่อดื่มไปได้สักพัก คุณอาจรู้สึกอยากกินอาหารแคลอรี่สูง ซึ่งยิ่งทำให้การลดน้ำหนักยิ่งมีโอกาสล้มเหลวมากขึ้นอีก

กล้ามเนื้อเติบโตได้น้อย

แอลกอฮอล์ทำให้การนอนไม่เป็นปกติ ซึ่งร่างกายของเราจะหลั่งฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อออกมาในช่วงที่เราหลับสนิท การดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้การนอนหลับไม่เป็นปกติและทำให้กล้ามเนื้อโตได้ช้าลง

อัตราการเต้นหัวใจเปลี่ยนแปลง

เรื่องที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ การดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ ซึ่งความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นมากเมื่อออกกำลังกายภายในสองวันหลังจากดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก ความเสี่ยงนี้แตกต่างกันไปในแต่ละคน การออกกำลังกายทำให้ตัวใจเต้นเร็วขึ้น หากดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก หัวใจยิ่งต้องทำงานหนักยิ่งขึ้นไปอีก

แผลหายช้า

แอลกอฮอล์ทำให้เส้นเลือดที่ผิวหนัง แขน และขา ขยายตัว ทำให้มีเลือดไปหล่อเลี้ยงมากขึ้น เวลาเป็นแผลเลือดจะไหลเยอะและบวมมากกว่าปกติ ทำให้แผลหายช้า

หากเวลาเข้าสังคม ท่านต้องการลด ละ เลิกดื่ม ควรพิจารณาแนวทางต่อไปนี้

– วางแผนล่วงหน้า – คิดดูว่าจะไปไหน ไปเจอใคร และจะดื่มมากแค่ไหน แล้วทำตามแผน

– กินอาหารก่อนหรือระหว่างดื่มแอลกอฮอล์ – การกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากหลังออกกำลังกาย ช่วยชดเชยพลังงานที่กล้ามเนื้อสูญเสียไป การกินอิ่มท้องจึงช่วยทำให้เราดื่มแอลกอฮอล์ช้าลง

– ค่อยๆ ดื่ม – ดื่มแอลกอฮอล์สลับกับเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ หากเราหิวน้ำ เราจะดื่มแอลกอฮอล์เร็ว ดังนั้นจึงควรมีเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ดับกระหายก่อนที่จะเริ่มดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะหลังออกกำลังกาย

– ดื่มช้าๆ ค่อยๆ จิบ อย่าดื่มเป็นอึก จิบแล้วให้วางแก้ว

– เลือกเครื่องดื่มดีๆ เลือกเบียร์ที่มีแอลกอฮอล์ต่ำหรือใช้แก้วขนาดใหญ่ผสมเหล้าเข้ากับมิกเซอร์เยอะๆ

– เป็นคนอาสาขับรถพาเพื่อนกลับบ้าน (designated driver) หากคุณตัดสินใจไม่ดื่มและกลัวว่าจะโดนคนอื่นคะยั้นคะยอ ให้บอกคนอื่นว่าคุณตั้งใจจะเป็นคนที่ช่วยขับรถพาเพื่อนกลับบ้าน

– ดื่มให้หมดทีละแก้ว – อย่าให้คนอื่นเติมแก้วให้ก่อนที่จะดื่มหมดแก้ว หากทำแบบนั้น เราจะไม่รู้ว่าดื่มไปมากเท่าไหร่แล้ว

– ทำโน่นทำนี่ระหว่างดื่ม – เวลาที่เรายุ่งกับเรื่องอื่น เราจะดื่มน้อยลง ออกไปเต้นหรือเดินไปโน่นไปนี่ อย่ามัวแต่นั่งดื่มอย่างเดียว

– ก่อนนอนอย่าลืมดื่มน้ำเยอะๆ การดื่มน้ำก่อนนอนช่วยป้องกันการแฮงค์ได้ การดื่มน้ำเยอะๆ คั่นสลับกับการดื่มแอลกอฮอล์ ก็ช่วยป้องกันการแฮงค์ได้เช่นกัน

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.)

Centre for Alcohol Studies (CAS)

สาขาวิชาระบาดวิทยา ชั้น 6 อาคารบริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถนนกาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110

083-5775533

https://www.facebook.com/cas.org.th

เข้าชมแล้ว 0 ครั้ง
Copyright © 2025 CAS All rights reserved.