คำค้นหา : เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

คำนี้ค้นหามาแล้ว : 2184 ครั้ง
มาตรการควบคุมการบริโภคและปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
https://cas.or.th/content?id=13

องค์การอนามัยโลกและวงการแพทย์และสาธารณสุขทั่วโลก จัดให้แอลกอฮอล์ เป็นสารเสพติดและเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างไม่มีข้อถกเถียง โดยสามารถ ส่งเสริมให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้กว่า 200 ชนิด ที่สำคัญ เช่น โรคมะเร็งหลอดอาหารจนถึง ลำ ไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งตับ โรคของระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะโรค ตับและโรคตับอ่อน โรคติดเชื้อ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคสมองเสื่อม รวมถึง โรคเก๊าท์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุทำ ให้เกิดการบาดเจ็บทางถนนและเสียชีวิต อีกปีละหลายหมื่นคน ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทและความรุนแรง ดังที่ปรากฎเป็น ข่าวเกือบทุกวัน ประเทศต่าง ๆ จึงถือว่าแอลกอฮอล์ไม่ใช่สินค้าธรรมดา แต่เป็นสินค้า ที่ต้องมีการควบคุมไม่สามารถปล่อยให้ขายแบบเสรีไร้ข้อกำ หนดเหมือนเครื่องดื่ม ต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ดีกระแสประชาธิปไตยที่เติบโตขึ้นในสังคมและประเทศต่าง ๆ ทำ ให้ ผู้ประกอบการผลิต การขาย ได้เรียกร้องให้ลดการควบคุมหรือให้ปล่อยเสรีโดยให้ เหตุผลว่า เป็นความรับผิดชอบของคนดื่มต่างหากที่ต้องดื่มอย่างมีสติและรับผิดชอบ แม้ว่าจะฟังดูดี แต่เนื่องจากผลของแอลกอฮอล์นั้นก่อให้เกิดการเสพติดและไปลด การมีสติสัมปชัญญะโดยตรง ดังนั้นการจะปล่อยให้เป็นความรับผิดชอบของผู้ดื่มฝ่าย เดียวจึงไม่ถูกต้อง และยังเป็นการทำ ให้ผู้ไม่ดื่มต้องพลอยรับผลร้ายไปด้วย เช่น เรื่อง การดื่มแล้วขับจนเกิดเหตุ การเกิดความรุนแรงในสังคมและครอบครัว ซึ่งรัฐมีความ ชอบธรรมในการเข้าไปควบคุม ประเทศไทยเองก็อยู่ในกระแสประชาธิปไตยและกระแส ตลาดเสรี จึงเกิดความขัดแย้งจากมุมของผู้ผลิตที่รู้สึกว่ารัฐควบคุมมากไป ในขณะ เดียวกันนักวิชาการและประชาชนจำ นวนมากก็รู้สึกว่ารัฐยังสามารถทำอะไรได้มากกว่า นี้เพื่อปกป้องประชาชน ดังบทสุดท้ายซึ่งเป็นเจตนารมย์ที่แสดงออกในการประชุม วิชาการสุราแห่งชาติเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา คณะทำ งานด้านวิชาการฯ จึงได้ระดมอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เป็นนักวิจัยด้านแอลกอฮอล์ หารือกัน หลายครั้งและตกลงว่าจะรวบรวมแนวคิดและมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ควรดำ เนินการและได้รวบรวมเพิ่มเติมเป็นเอกสารนี้

ทำไมต้องควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยใช้ผู้มีชื่อเสียง?
https://cas.or.th/content?id=885

การควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านผู้มีชื่อเสียง เป็นมาตรการสำคัญในการลดผลกระทบด้านสุขภาพและสังคมที่เกิดจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การที่ผู้กำหนดนโยบายให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและลดโอกาสที่เยาวชนจะเข้าสู่พฤติกรรมเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มติการประชุม คณะทำงานด้านวิชาการในการสนับสนุนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
https://cas.or.th/content?id=889

มติการประชุม คณะทำงานด้านวิชาการในการสนับสนุนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
ภายใต้อนุกรรมการวิชาการ คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ความเสี่ยงในการแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือประกาศที่ใช้บังคับในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568

1) การยกเลิกกำหนดเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยการให้โรงแรมที่จดทะเบียนสามารถขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือการขยายเวลาขายให้สถานประกอบการคล้ายสถานบริการขายได้ถึงตีสี่:

        ปัจจุบันมีโรงแรมที่จดทะเบียนประมาณ 15,000 แห่ง แขกในโรงแรมสามารถดื่มจากสินค้าที่วางขายในห้องอยู่แล้ว หากครอบคลุมไปถึงร้านค้า ร้านอาหารในโรงแรม มาตรการนี้จะทำให้เกิดการบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างมาก แขกและลูกค้าภายนอกของโรงแรมสามารถเข้ามาใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง จะเกิดการดื่มแล้วขับทำให้บาดเจ็บและการตายบนท้องถนนเพิ่มมากขึ้นในหลายจังหวัดอย่างแน่นอน ประมาณ 15-20% เป็นอย่างน้อย ดังปรากฏข้อเท็จจริงว่าในการขยายเวลาให้สถานบริการในพื้นที่ จังหวัดชลบุรีและภูเก็ตที่รวมประมาณ 1,000 สถานบริการ โดยขยายเวลาบริการได้ถึงตีสี่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุในช่วงตีสองถึงเจ็ดโมงเช้าเพิ่มขึ้นทั้งสองจังหวัด เกิดการบาดเจ็บเพิ่ม 900 ราย (เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 14%) และมีการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทั้งสองจังหวัดรวมกัน 37 ราย (เพิ่มขึ้น 25%) โดยแม้แต่พื้นที่นำร่องที่ขยายเวลาฯ ก็ยังไม่ได้ดำเนินการให้เป็นตามมาตรการที่กำหนด ยิ่งไปกว่านั้นในพื้นที่เขตโซนนิ่งมีปัญหาอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ป่าตอง มีเหตุทุกวัน ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว ชาวบ้านในพื้นที่ใช้ชีวิตลำบากมากขึ้น โจรขโมยเยอะขึ้น และแน่นอนว่าเป็นการเพิ่มภาระงานให้กับบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่กู้ภัย และที่พัทยา พบนักท่องเที่ยวโดนคนเมาทำร้าย อย่างไรก็ดีหากโรงแรมที่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศมากและใช้บริการอาหารเที่ยงของโรงแรมมีความประสงค์ขอขยายเวลาการขายในช่วง 14.00-17.00 น. อาจพิจารณาเป็นข้อยกเว้นภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดขึ้น และตรวจสอบรับรองโดยคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของ พ.ร.บ. ฉบับแก้ไขที่กำลังพิจารณาในสภาขณะนี้

2) การห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันสำคัญทางศาสนา:

        การอนุญาตให้ขายในวันสำคัญทางศาสนาเพียง 5 วัน ประชาชนส่วนใหญ่อาจไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะที่นับถือศาสนาพุทธ เนื่องจากมีมิติทางสังคมวัฒนธรรม และเมื่อพิจารณาสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า ประชาชนยังสามารถหาซื้อได้ในร้านขายของชำทั่วไป โดยสามารถซื้อได้ตลอด แม้ว่าเป็นช่วงเวลาห้ามขายก็ตาม สะท้อนให้เห็นถึงการบังคับใช้กฎหมายที่ผ่านมา ไม่มีการตรวจสอบหรือสุ่มตรวจร้านค้า คณะทำงานด้านวิชาการฯ เสนอให้คงการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันสำคัญทางศาสนาไว้ 5 วันคงเดิม และไม่เห็นด้วยที่จะยกเว้นให้ขายได้ในสถานประกอบการคล้ายสถานบริการ เพราะจะไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งจำนวนสถานประกอบการคล้ายสถานบริการมีมากกว่า 1 แสนราย ส่วนสถานบริการตามกฎหมายสถานบริการ 2,000 ราย ควรจะห้ามเช่นเดิม แต่อาจมีข้อยกเว้นให้กับบางพื้นที่เท่านั้น เช่น ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ โรงแรม โดยคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดต้องรับรองตรวจสอบให้มีมาตรการเฝ้าระวัง ติดตาม และป้องกันผลกระทบอย่างจริงจัง

3) การขายออนไลน์:

        ไม่ควรอนุมัติให้มีการยกเลิกกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือประกาศที่ใช้บังคับปัจจุบันเพื่อให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อผู้บริโภคโดยตรงได้ และควรชะลอการตัดสินใจเพื่อสั่งการให้มีคณะศึกษาผลกระทบในเรื่องนี้อย่างละเอียด เนื่องจากปัจจุบันมีร้านค้าที่พร้อมจะขายออนไลน์ เช่น ร้านสะดวกซื้อแบบธุรกิจขนาดใหญ่เกือบสองหมื่นร้าน ร้านอาหาร ผับ บาร์ อีกประมาณสองแสนร้าน หรืออาจเกือบครึ่งหนึ่งจากใบอนุญาตขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 570,000 ใบ ประกอบกับมีแพลตฟอร์มการสั่งซื้อที่สะดวกมากมายหลากหลายที่ไม่มีการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ซื้อ จะทำให้เยาวชนเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ง่ายโดยปราศจากการตรวจสอบอายุตามที่กฎหมายกำหนด ไม่สามารถตรวจสอบตัวตนของผู้ขายและตรวจสอบใบอนุญาตขาย ซึ่งมีความย้อนแย้งกับมติคณะรัฐมนตรีที่ให้ดำเนินการแก้ไขโดยที่ต้องคำนึงถึงการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่เหมาะสมของเยาวชนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อผู้บริโภคโดยตรงนั้นก็ไม่ได้เป็นวิธีการส่งเสริมการท่องเที่ยวแต่อย่างใด และในทางกลับกันอาจกลายเป็นช่องทางที่มีการสั่งสินค้าแอลกอฮอล์จากต่างประเทศได้ ประกอบกับผลจากการบังคับใช้การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ผ่านมา พบว่า มีการสื่อสารโพสต์คอนเทนต์โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และได้ลองดำเนินการแจ้งทางแพลตฟอร์มโซเชียล ก็ไม่ได้รับความร่วมมือ จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินคดีต่อได้

4) ประเด็นอื่น ๆ:

  • การดำเนินงานในแต่ละประเด็น ควรต้องสร้างตัวเลือกในการดำเนินงาน อาจประกอบด้วยแนวทางหลักและแนวทางสำรอง เช่น อาจจะลองดำเนินการในบางพื้นที่ ซึ่งรัฐต้องมีการควบคุม ติดตาม และรายงานผลของนโยบายให้เป็นที่ประจักษ์ เพื่อลดผลกระทบ โดยมาตรการความพร้อมต้องเกิดก่อนออกมาตรการ
  • ควรมีการศึกษาวิจัยมิติทางสังคมที่มาช่วยยืนยันได้ว่า นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวประเทศไทย มาเพราะอยากดื่มเหล้า มาเล่นคาสิโน และมีงานวิจัยต่างประเทศที่ชี้ว่าการส่งเสริมการท่องเที่ยวในการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นไม่ได้ส่งเสริมรายได้ทางเศรษฐานะของประชาชนได้จริง
  • การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ย่อมเพิ่มผลกระทบแน่นอน ส่วนใหญ่จะพบข้อมูลผลกระทบที่เป็นภัยทางถนนเป็นส่วนใหญ่และเห็นแนวโน้มชัดเจน ซึ่งอาจต้องพิจารณาถึงผลกระทบด้านอื่นร่วมด้วย เช่น เหตุทะเลาะวิวาทจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มจนเสียชีวิต การติดสุรา ข้อมูลความรุนแรง เป็นต้น ซึ่งยังไม่ค่อยมีข้อมูลด้านนี้ จึงไม่สามารถนำมาใช้ในการประกอบการพิจารณาได้อย่างรอบด้าน

5) บทสรุป:

        เนื่องจากการยกเลิกมาตรการต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องการให้ขายออนไลน์ ขยายเวลาขายในโรงแรม 24 ชั่วโมง หรือการขยายเวลาให้สถานบริการและสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการจะมีความเสี่ยงทำให้เกิดการเสียชีวิตประมาณ 600-800 ราย จากการดื่มขับ การเร่งรัดแก้ไขให้เสร็จเร็วเพื่อทันเทศกาลสงกรานต์สำหรับการท่องเที่ยวจึงอาจเป็นการละเลยและประมาทในการปกป้องความปลอดภัยของคนไทยตามหน้าที่ของรัฐที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ คณะทำงานด้านวิชาการฯ เสนอให้มีการศึกษาเพื่อพิจารณาความพร้อมต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ไม่ควรรีบดำเนินการเพราะไม่ได้เป็นภาวะฉุกเฉิน

ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่..) พ.ศ... ที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ในวาระ 2 และวาระ 3 เมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2568
https://cas.or.th/content?id=897

ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่..) พ.ศ... ที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ในวาระ 2 และวาระ 3 เมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2568

แจกเงิน 10,000 บาท แต่เปิดช่องให้ซื้อเหล้า? เสี่ยงสุขภาพเยาวชนหรือไม่?
https://cas.or.th/content?id=899

เสียงเตือนจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ

การประกาศแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทให้ประชาชนอายุ 16-20 ปี ถือเป็นมาตรการที่รัฐบาลคาดหวังว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือเยาวชนในการใช้จ่ายเพื่อการศึกษาและพัฒนาตนเอง แต่เมื่อมีข่าวว่า รัฐบาลไม่ได้กำหนด Negative List หรือข้อห้ามในการใช้เงิน แต่จะกำกับดูแลการลงทะเบียนของร้านค้าแทนด้วยการกำหนดข้อห้ามว่าร้านค้าที่ไม่ให้เข้าร่วมจะเป็นลักษณะใด เช่น ร้านทอง ร้านที่ขายเหล้าโดยเฉพาะ แต่ไม่ได้ห้ามตรวจสินค้า ยกตัวอย่าง หากนำไปใช้ในร้านโชห่วยที่มีสินค้าหลากหลาย ก็สามารถซื้อได้ทุกประเภท ทำให้เกิดข้อถกเถียงในวงกว้างว่า เงินจำนวนนี้สามารถนำไปซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้หรือไม่? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพฤติกรรมของเยาวชนไทยในระยะยาว

ทะเบียน พ.ร.บ. แอลกอฮอล์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2551
https://cas.or.th/content?id=12

พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551

  1. พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551  PDF
  2. Alcoholic Beverage Control Act B.E. 2551 (A.D. 2008)  PDF

กฎกระทรวง 

  1. กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแสดงภาพสัญลักษณ์เพื่อประกอบการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2553 PDF

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2551 PDF
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. 2555 PDF
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง พ.ศ. 2555 PDF
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ พ.ศ. 2555 PDF
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขาย หรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสวนสาธารณะของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ พ.ศ. 2556 PDF
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2558 PDF
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 PDF
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานีขนส่ง พ.ศ. 2558 PDF
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางรถไฟ พ.ศ. 2558 PDF
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในท่าเรือโดยสารสาธารณะ พ.ศ. 2558 PDF
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง พ.ศ. 2558 PDF
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ที่อยู่ในกำกับดูแลและใช้ประโยชน์ของราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ พ.ศ. 2558 PDF
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2558 PDF
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา พ.ศ. 2558 PDF
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 PDF
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 PDF
  17. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวิธีการหรือลักษณะห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการใช้เครื่องจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณร้านค้าสะดวกซื้อ พ.ศ. 2561 PDF
  18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การเลือกและแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 PDF
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะการขายทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 PDF
  20. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF
  21. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้แทนองค์กรเอกชนเป็นกรรมการในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF
  22. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัย ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2566  PDF
  23. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้แทนองค์กรเอกชนเป็นกรรมการในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  PDF NEW!
  24. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัย ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2566  PDF NEW!

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

  1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการคัดเลือกกรรมการในคณะกรรมการ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 PDF

ประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  1. ประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง รูปแบบของข้อความคำเตือนประกอบภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือภาพสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2557 PDF
  2. ประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับฉลากของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2558 PDF

ระเบียบคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  1. ระเบียบคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 PDF
  2. ระเบียบคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 PDF
  3. ระเบียบคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับการสนับสนุนเพื่อการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2567  PDF NEW!

คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  1. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง การมอบหมายให้ดำเนินการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 PDF
  2. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง การมอบหมายให้ดำเนินการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) PDF
  3. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 1/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาการกระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 PDF
  4. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 1/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านวิชาการในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF
  5. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 2/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF
  6. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 3/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการรณรงค์และการสร้างภาคี PDF
  7. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 4/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่างและแก้ไขปรับปรุงกฎหมายหรืออนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF
  8. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 1/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านวิชาการในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF
  9. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 2/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF
  10. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 3/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการรณรงค์และการสร้างภาคี PDF
  11. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 4/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานด้านวิชาการในการสนับสนุนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF

คำสั่งคณะกรรมการนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ

  1. คำสั่งคณะกรรมการนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ที่ 5/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 PDF

ระเบียบกรมควบคุมโรค

  1. ระเบียบกรมควบคุมโรค ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2555 PDF
  2. ระเบียบกรมควบคุมโรค ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 PDF

ประกาศกรมควบคุมโรค

  1.  ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง หลักเกณฑ์การแบ่งเงินรางวัลหรือวิธีปฏิบัติในการจ่ายเงิน และแบบการขอรับเงินสินบนรางวัล ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 PDF NEW!
  2. ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามระเบียบกรมควบคุมโรคว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 PDF

คำสั่งกรมควบคุมโรค

  1. คำสั่งกรมควบคุมโรค ที่ 1071/2555 เรื่อง การมอบหมายในการหักค่าปรับและการอนุมัติสั่งจ่ายเงินสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 PDF
  2. คำสั่งกรมควบคุมโรค ที่ 2172/2566 เรื่อง กำหนดผู้เป็นหัวหน้าองค์คณะในการปรับเป็นพินัย PDF NEW!
ข้อห่วงใยต่อปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ในกาสิโน ผลสืบเนื่องจากความพยายามผลักดัน พ.ร.บ. Entertainment complex ของไทย
https://cas.or.th/content?id=898

ข้อห่วงใยต่อปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ในกาสิโน ผลสืบเนื่องจากความพยายามผลักดัน พ.ร.บ. Entertainment complex ของไทย

โดย ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ 
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

จากความพยายามอย่างเร่งรีบของพรรคร่วมรัฐบาลในการผลักดัน พ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร หรือที่เราเรียกสั้น ๆ ว่า พ.ร.บ.กาสิโน ในช่วงรอบสองสัปดาห์ที่ผ่านมา สังคมได้รับข้อมูลความคิดเห็นทั้งจากฝั่งสนับสนุนและคัดค้านจำนวนมากซึ่งถือเป็นข้อดีของสังคมเสรีที่ความคิดเห็นและข้อมูลสื่อสารและถ่ายทอดอย่างรวดเร็ว ข้อมูลจากฝั่งสนับสนุน ที่เชื่อว่าจากฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่เป็นประเทศที่มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว หากมีการเปิดกาสิโนได้จริงจะเป็นเครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ทั้งเอกชน ภาคการท่องเที่ยวมีรายได้มากขึ้น ส่วนรัฐบาลก็เก็บภาษีเพิ่มขึ้นเช่นกัน ในขณะที่ฝ่ายคัดค้านนั้นเชื่อว่าเบื้องหลังของโมเดลนี้ มีการซ่อนต้นทุนทางสังคมและเศรษฐกิจที่ใหญ่หลวงไม่แพ้กัน

ในฐานะนักวิชาการด้านนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เราพบว่าในร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มีเรื่องคาบเกี่ยวกับพื้นที่ทางวิชาการที่หน่วยงานเราได้ทำข้อมูลตลอดมานั่นคือ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว จะยกเว้นกาสิโนจากกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบ ซึ่งหมายความว่าผู้เข้าไปเล่นในกาสิโนจะมีอิสระอย่างเต็มที่ในการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องประหลาดแต่อย่างใดหากนับว่าในอบายมุขสถานจะให้อิสระมากที่สุดเพื่อเอื้อให้เกิดความบันเทิงอย่างที่สุดแก่ผู้ใช้บริการและนำมาซึ่งการจับจ่ายใช้สอยมากยิ่งขึ้น “อบายมุขเมื่อรวมตัวกัน จะสร้างความต้องการซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น” ข้อความนี้ไม่ได้มาจากความรู้สึกนึกคิดส่วนตัวของผู้เขียนแต่มาจากงานวิจัยที่สะสมข้อมูลจากหลายแหล่ง

  • การพนัน – เหล้า

​การศึกษาของ Cronce และ Corbin ในปี 2010 (1) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเหล้าและการพนัน โดยเฉพาะขนาดของวงเงินเดิมพันและความเร็วในการสูญเสียเงินทุน ​โดยในการศึกษาดังกล่าวได้แบ่งผู้เข้าร่วมจำนวน 130 คน เป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งถูกสุ่มให้กินเหล้าจริง และอีกกลุ่มให้ดื่มเหล้าปลอม หลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วม เล่นเกมสล็อตจำลองที่ถูกตั้งโปรแกรมให้มีผลลัพธ์เริ่มต้นที่แตกต่างกัน (ชนะ, เสมอ, หรือแพ้) ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงที่มีการสูญเสียเพิ่มขึ้น ผลการศึกษาพบว่าคนที่ดื่มเหล้าจริงมีแนวโน้มที่จะวางเดิมพันที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และเสียเงินทุนทั้งหมดเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ดื่มเหล้า อันที่จริงเวลาที่เราเข้าไปในกาสิโน จะมีพนักงานบริการที่เสิร์ฟเหล้าฟรีให้เราตลอดเวลา เหมือนอย่างที่เราเคยดูในหนังฮอลีวูดส์ทั้งหลาย ถ้ามีฉากที่มีการดวลกันในกาสิโนยิ่งเป็นกาสิโนหรู ๆ จะมีเด็กเติมเหล้า แชมเปญ ให้กันไม่อั้นเลย นี่เป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้นักพนันหุนหันพลันแล่นและกล้าได้กล้าเสีย และนำมาซึ่งการเพิ่มวงเงินในการเล่นพนันมากยิ่งขึ้น (ซึ่งต้องมากกว่าค่าเหล้าแพง ๆ ที่เขาให้ฟรีแน่นอน)

  • กาสิโน - เหล้าฟรี - อุบัติเหตุจากเมาแล้วขับ

แน่นอนว่าคนขี้สงสัยบางคนสงสัยต่อว่า ถ้ามีกาสิโน และมีการเสิร์ฟเหล้าไม่อั้นแบบนี้ มันจะทำให้อุบัติเหตุจากคนเมาเหล้าเพิ่มขึ้นไหม ซึ่งเราพบว่ามันเพิ่มขึ้นจริง ๆ

การศึกษาของ Chad D. Cotti และ Douglas M. Walker ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Health Economics ในปี 2010 (2) ได้ศึกษาสัมพันธ์ระหว่างการเปิดกาสิโนกับจำนวนอุบัติเหตุทางถนนที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ที่มีผู้เสียชีวิตในสหรัฐอเมริกา ​เพื่อวิเคราะห์ว่าการเปิดกาสิโนในพื้นที่ต่าง ๆ มีผลกระทบต่อจำนวนอุบัติเหตุทางถนนที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์และมีผู้เสียชีวิตหรือไม่​ โดยใช้ข้อมูลจากช่วงเวลา 10 ปีที่มีการเปิดกาสิโนในสหรัฐอเมริกา​ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการมีกาสิโนในเขตพื้นที่ (county) กับจำนวนอุบัติเหตุทางถนนที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ที่มีผู้เสียชีวิต​ ผลการศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการมีกาสิโนในพื้นที่กับจำนวนอุบัติเหตุทางถนนที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ที่มีผู้เสียชีวิต

  • การพนัน - ปัญหาสังคมอื่น ๆ

ความตั้งใจจริงของการเขียนบทความนี้ไม่ได้เขียนเพื่อค้านทุกอย่างทุกประเด็นสำหรับการพัฒนา ผู้เขียนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศย่อมเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกในสังคมและประเทศชาติ และหากข้อเสนอเรื่องกาสิโนจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมจริงแล้ว ผู้เขียนย่อมไม่คัดค้าน แต่กระนั้นก็ตามความกังวลอย่างยิ่งยวดของผู้เขียนไม่ได้อยู่ที่รายละเอียดเนื้อหาใน พ.ร.บ.กาสิโน ที่มีมาตรการควบคุมความเสียหายไว้พอสมควร เช่น การจำกัดคนไทยที่จะเข้าไปเล่นการพนันต้องมีวงเงินฝากไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท หรือต้องเสียค่าเข้ากาสิโนครั้งละ 5,000 บาท เพื่อคัดกรองเฉพาะคนไทยผู้มีรายได้สูงเท่านั้น และเน้นไปที่การดึงดูดนักพนันต่างชาติ เหมือนที่กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ได้สร้างกาสิโนคอมเพล็กซ์ขึ้นมาก่อนหน้านี้ไปแล้ว แต่กระนั้นก็ตามความน่ากังวลจริง ๆ ของผู้เขียนคือสังคมไทยที่โครงสร้างทางสังคมไม่ได้แข็งแรงขนาดนั้น เราจำเรื่องการเร่งผ่านกฎหมายเพื่อผ่อนปรนอบายมุขอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ได้หรือไม่ พ.ร.บ.กัญชา ที่เคยถูกนำเสนอเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ในช่วงเวลาแรกนั้น ณ วันนี้เราพบว่ามันช่วยใครที่เจ็บป่วยด้วยโรคได้จริงหรือไม่ กัญชากลายเป็นสินค้าในธุรกิจการท่องเที่ยวมากกว่าสินค้าทางการแพทย์ และการซื้อกัญชาในประเทศไทยนั้นง่ายกว่าการซื้อเหล้าเบียร์เสียอีก ภาพที่อันตรายสำหรับสังคมคือ การรับกฎหมายให้รวดเร็วแล้วไปแก้ไขหรือออกกฎหมายเพิ่มเพื่อป้องกันทีหลัง ไม่มีประสิทธิภาพจริงในการป้องกันปัญหาทางสังคมจากอบายมุข 

“อบายมุข” ที่แปลว่า ทางแห่งความเสื่อม เป็นคำที่มีอายุนานหลายพันปี เพราะวิวัฒนาการทางสังคมและภูมิปัญญาที่มนุษย์ร่วมกันสร้างพิสูจน์เสมอว่า ท้ายที่สุดแล้วเมื่อสังคมรับความสุขความสนุกจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป มันจะกัดกร่อนและทำลายสังคม การพัฒนาเศรษฐกิจโดยใช้ฐานรากทางอบายมุขและความบันเทิงถือเป็นหลักการพัฒนาที่น่ากังวลใจว่าจะทำให้สังคมแย่ลง มีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ทำในยุคสมัยแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่แล้ว และพิสูจน์ว่า “อบายมุข” ที่ถูกนิยามส่งต่อมานับพันปีและมีคำเตือนให้สังคมหนีห่าง นั้นเป็นข้อความที่เป็นจริง งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลต่อเนื่องยาวนานและทำการวิเคราะห์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ระดับประเทศของสหรัฐ ของ Grinols และ Mustard (2006) (3) ที่ศึกษาข้อมูลจาก 167 มณฑลในสหรัฐอเมริกา ช่วงปี 1977–1996 พบว่าพื้นที่ที่เปิดกาสิโนมีอัตราอาชญากรรมเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8% ภายใน 5 ปีหลังเปิด โดยเฉพาะอาชญากรรมประเภทการปล้น ลักขโมย การทำร้ายร่างกาย และการขโมยรถยนต์ การศึกษานี้ใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบก่อน-หลัง (difference-in-differences analysis) และควบคุมตัวแปรเศรษฐกิจสังคมอย่างละเอียด เพื่อแยกผลกระทบของกาสิโนอย่างแท้จริง นี่คือผลการศึกษาที่สะท้อนให้เห็นว่าการพนันเรื่องเดียวเพิ่มโอกาสในการเกิดอาชญากรรมได้อีกหลายอย่าง

ถึงแม้ในปัจจุบันหลายประเทศในโลกจะอนุญาตให้มีการพนันถูกกฎหมายเกิดขึ้น อังกฤษ อเมริกา หรือ อีกหลายประเทศในโลกตะวันตก การพนันสร้างเศรษฐกิจใหม่ให้กับประเทศเหล่านี้ แต่สิ่งที่พวกเขาต้องเผชิญคือ คนนับแสนนับล้านที่เป็นทาสการพนัน การพนันออนไลน์ทำงาน 24/7 ไม่หยุดไม่หย่อน สิ่งที่รัฐบาลพวกเขาทำได้ตอนนี้คือประนีประนอมกับนักเล่นพนัน เพราะคน 2/3 ของประเทศเล่นการพนันจนเป็นเรื่องปกติไปแล้ว หากรัฐบาลไม่อนุญาตท้ายที่สุดก็จะมีการพนันผิดกฎหมายอยู่ดีจากนักเล่นและเจ้าของบ่อนเถื่อนที่พร้อมเสี่ยงด้วยกัน นี่เป็นสิ่งที่น่ากังวลว่าจะเกิดขึ้นกับประเทศเล็ก ๆ อย่างไทยด้วย เราเริ่มต้นจากการอนุญาตให้เปิดกาสิโนเฉพาะในเมืองท่องเที่ยว วันต่อไปไม่รู้ว่าการพนันออนไลน์ บ่อนตามตำบลอำเภอ จะถูกอนุญาตหรือไม่  หากกาสิโนมีเหตุผลให้เปิดได้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่นานกิจการพนันออนไลน์ บ่อนรายเล็ก ทั้งหลายคงใช้เหตุผลเช่นเดียวกันในการเรียกร้องให้การพนันเป็นเรื่องปกติของสังคม เมื่อคนจำนวนมากถูกมอมเมาเช่นนี้ รัฐคงไปขวางทางน้ำเชี่ยวไม่ทันแล้ว

อ้างอิง (References)
1. Cronce JM, Corbin WR. Effects of Alcohol and Initial Gambling Outcomes on Within-Session Gambling Behavior. Exp Clin Psychopharmacol. 2010 Apr;18(2):145–57.
2. Cotti CD, Walker DM. The impact of casinos on fatal alcohol-related traffic accidents in the United States. J Health Econ. 2010 Dec 1;29(6):788–96.
3. Mustard D, Grinols E. Casinos, Crime, and Community Costs. Rev Econ Stat. 2006 Feb 1;88:28–45.

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.)

Centre for Alcohol Studies (CAS)

สาขาวิชาระบาดวิทยา ชั้น 6 อาคารบริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถนนกาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110

083-5775533

https://www.facebook.com/cas.org.th

เข้าชมแล้ว 0 ครั้ง
Copyright © 2025 CAS All rights reserved.