News, ข่าวเด่น, บทความ

ไหวไหมประเทศไทย กับการเปิดผับบาร์ถึงตี 4 !?


ไหวไหมประเทศไทย กับการเปิดผับบาร์ถึงตี 4 ⁉️

ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ
นักวิชาการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา
อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

_____
เช้านี้ดูข่าวที่น่าหดหู่ใจ กับการเสียชีวิตของหนุ่มนักเที่ยวคนหนึ่ง ที่จังหวัดภูเก็ต เหตุเกิดในช่วงเวลา ตี 4 พอดีเป๊ะ ผู้เสียชีวิตที่เมาหมดสตินอนกลิ้งบนถนน และถูกรถยนต์ที่ขับด้วยความเร็วชนจนเสียชีวิต ทั้ง ๆ ที่รอบข้างนั้นมีเพื่อน ๆ รายล้อมอยู่หลายคน

การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรไม่ว่าด้วยสาเหตุใดล้วนเป็นเรื่องน่าเสียใจ ยิ่งกรณีเช่นนี้ที่มีเพื่อนอยู่ในเหตุการณ์หลายคนคงน่าสะเทือนมากยิ่งขึ้น

การขยายเวลาปิดสถานบันเทิงในไทย ทำให้นักเที่ยวดื่มได้มากขึ้น มีโอกาสเมาเพิ่มขึ้น ยิ่งดึกร่างกายยิ่งเหนื่อยล้า บวกกับฤทธิ์แอลกอฮอล์ โอกาสของอุบัติเหตุและเหตุไม่คาดฝันเพิ่มขึ้นเสมอ ตัวเลขจากการวิจัยในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น ประเทศออสเตรเลีย ไอซ์แลนด์ แคนาดา นอร์เวย์ และเนเธอแลนด์ ล้วนไปในทางเดียวกันว่าการผ่อนคลายให้มีการเพิ่มเวลาในการดื่มแบบนั่งดื่มที่ร้าน มีผลเสียด้านอุบัติเหตุ ความรุนแรง อาชญากรรม เพิ่มขึ้น ไม่รู้ว่าส่วนที่ได้มานั้นคุ้มค่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือไม่

อย่างกรณีที่เอามาเล่าประกอบข่าวนั้น คนขับรถที่ขับรถมาอย่างถูกต้องอย่างน้อยก็ต้องเป็นผู้เสียหาย ในฐานะที่ขับรถชนผู้เสียชีวิตที่เมาหมดสติกลางถนนไปแล้ว เหล้าที่เข้าปากคนหนึ่งคนจึงส่งผลกระทบทั้งต่อคนที่ดื่มและไม่ดื่ม

ถ้าสถานการณ์กลับกัน เป็นคนดื่มเหล้าจนเมามายหมดสติเป็นคนขับรถเสียเอง และไล่ชนชาวบ้านชาวช่องที่ทำมาหากินสุจริตในช่วงเช้าของวัน เรื่องน่าเศร้าจะเศร้าแบบทวีคูณเลยครับ อย่าปล่อยให้ถึงขั้นนั้นเลย สำรวจความพร้อมของบ้านเมืองก่อนได้ไหม ก่อนจะปล่อยให้ผับเปิดถึงตีสี่ทั่วประเทศ


News, ข่าวเด่น

เปิดผับถึงตี 4 ได้แต่ไม่คุ้มเสีย !!!

จากข่าวที่ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเตรียมเสนอรัฐบาลให้มีการขยายเวลาปิดสถานบริการออกไปจนถึง 04.00 น. เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภาคกลางคืน ในอีกด้านหนึ่ง สถานบริการที่เปิดให้บริการช่วงกลางคืนมักจะมีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กันเป็นกิจกรรมหลักในสถานบริการ การขยายเวลาเปิดสถานบริการ ถือเป็นการเพิ่มการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งการเข้าถึงที่เพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดที่สัมพันธ์กับการบริโภคและผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้น

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อสุขภาพก่อให้เกิดโรคกว่า 200 โรค นอกจากนี้ยังถือเป็นยาเสพติดที่ก่อให้เกิดผลกระทบบุคคลอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดื่มโดยตรงมากที่สุด ซึ่งผลกระทบดังกล่าวก็วกกลับไปก่อให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจ เช่น ต้นทุนในด้านการรักษาพยาบาลผ่านสวัสดิการสุขภาพของรัฐ ความเสียหายจากอุบัติเหตุ ต้นทุนด้านการบังคับใช้กฎหมาย ผลิตภาพในระบบเศรษฐกิจที่สูญเสียไปจากการบาดเจ็บและเสียชีวิต เป็นต้น รัฐจึงควรชั่งน้ำหนักให้ดีระหว่างการรายได้ของกิจการในภาคกลางคืนที่เพิ่มขึ้นกับ ต้นทุนที่เกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์

ทางศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) จึงขอนำเสนอข้อมูลผลกระทบทางเศรษฐกิจจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งจัดทำโดย ผศ.ดร.ธัชนันท์ โกมลไพศาล คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการดังกล่าวเป็นการประเมินต้นทุนผลกระทบทางสังคมจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2560 พบว่า ในปีดังกล่าวการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าถึง 86,000 ล้านบาท โดยมูลค่าความเสียหายส่วนใหญ่เกิดจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรคิดเป็น 82,000 ล้านบาท ส่วนต้นทุนที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ต้นทุนในการรักษาพยาบาล และต้นทุนของการังคับใช้กฎหมาย ซึ่งก็ต้องใช้งบประมาณจากภาษีทั้งสิ้น

ดังนั้น รัฐบาลจึงควรตรึกตรองให้ดีว่าการให้สถานบริการเปิดได้ถึงตี 4 และหวังว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้นั้น จะคุ้มค่ากับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากรในวัยทำงานที่เพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อผลิตภาพทางเศรษฐกิจที่ลดลงในระยะยาว ผลกระทบอื่นๆ ที่เกิดจากแอลกอฮอล์สุดท้ายก็กลับมาเป็นต้นทุนของรัฐทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นกรณีค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายในกระบวนการยุติธรรม แบบนี้อาจเป็นการได้ที่ไม่คุ้มเสีย

เอกสารอ้างอิง: ผศ. ดร.ธัชนันท์ โกมลไพศาล, รายงานวิจัยโครงการการประเมินต้นทุนผลกระทบทางสังคมจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยประจำปี พ.ศ.2560

Privacy Settings
We use cookies to enhance your experience while using our website. If you are using our Services via a browser you can restrict, block or remove cookies through your web browser settings. We also use content and scripts from third parties that may use tracking technologies. You can selectively provide your consent below to allow such third party embeds. For complete information about the cookies we use, data we collect and how we process them, please check our Privacy Policy
Youtube
Consent to display content from - Youtube
Vimeo
Consent to display content from - Vimeo
Google Maps
Consent to display content from - Google
Spotify
Consent to display content from - Spotify
Sound Cloud
Consent to display content from - Sound

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors