News, ข่าวเด่น, สาระที่น่าสนใจ, สาระน่ารู้

กระดกเบียร์หนึ่งเหยือกรวดเดียวทำไมถึงตาย?

เบียร์มีสารประกอบหลักเป็นแอลกอฮอล์ ซึ่งโดยทั่วไปเบียร์จะมีระดับแอลกอฮอล์ประมาณ 5% by volume นั่นคือ 100 mL ของเบียร์จะมีแอลกอฮอล์อยู่ 5 mL และแอลกอฮอล์มีความหนาแน่นประมาณ 0.79 เท่าของน้ำ ดังนั้นในเบียร์ 100 mL จะมีแอลกอฮอล์อยู่ 5×0.79 = 3.95 กรัม โดยในเบียร์หนึ่งเหยือกจะมีปริมาณเบียร์ประมาณ 1000 mL ฉะนั้น แอลกอฮอล์ในเบียร์หนึ่งเหยือกจะเท่ากับ 39.5 กรัม หรือ 3950 มิลลิกรัม คิดเป็น 395 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ (mg%)

โดยทั่วไป นักดื่มมักจะค่อยๆดื่ม ดื่มไปคุยกับเพื่อนไปกินกับแกล้มและเติมเบียร์ไป ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ร่างกายได้ค่อยๆทำลายและขับแอลกอฮอล์ออกจากกระแสเลือดซึ่งนั่นจะทำให้แอลกอฮอล์ไม่คั่งอยู่ในร่างกายของผู้ที่ดื่มมากนัก แต่ในกรณีแข่งดื่มเบียร์เป็นเหยือกในเวลาจำกัดนี้ จะมีลักษณะเหมือนเทแอลกอฮอล์พรวดเข้าไปในกระแสเลือดโดยไม่เว้นช่วงเวลาให้ร่างกายขับแอลกอฮอล์ออก จึงเกิดภาวะที่เรียกว่าแอลกอฮอล์เป็นพิษ (alcohol intoxication) ต่อร่างกาย

หากดูตารางระดับของแอลกอฮอล์ในเลือดที่ส่งผลต่ออาการหรือความผิดปกติต่างๆจะพบว่า ที่ระดับแอลกอฮอล์ 395 mg% อาจทำให้ผู้ดื่มหมดสติ ชีพจรช้าลง การหายใจแย่ลง จนถึงหยุดหายใจได้ ทั้งนี้เนื่องจากแอลกอฮอล์ออกฤทธิ์เป็นสารกดประสาท และในขนาดที่สูงระดับนี้ มันสามารถกดสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการหายใจและการรู้สึกตัวของผู้ที่ดื่มได้ ดังนั้น การดื่มเบียร์ เหล้า หรือไวน์ปริมาณมากในระยะเวลาอันสั้นจึงอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

News, สาระที่น่าสนใจ, สาระน่ารู้

การแข่งขันดื่มเบียร์เร็วหมดเหยือก จนมีผู้ร่วมแข่งขันเสียชีวิตหนึ่งราย แล้วใครคือผู้รับผิดชอบ??

จากกรณีที่มีร้านอาหารจัดการแข่งขันดื่มเบียร์เร็วหมดเหยือก จนมีผู้ร่วมแข่งขันเสียชีวิตหนึ่งราย

ทางศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) ได้สอบถามไปยังนักวิชาการด้านกฎหมาย ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วศิน สุวรรณรัตน์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

ผศ.วศิน ได้ให้ความเห็นว่า “กรณีที่ร้านอาหารจัดการแข่งขันจนทำให้มีผู้เสียชีวิต ตามหลักกฎหมายไทย ผู้ประกอบการ (ร้านอาหารที่จัดการแข่งขัน) อาจจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ฐานกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้ นอกจากนั้น ในทางแพ่ง ก็ถือเป็นการทำละเมิดของร้าน ซึ่งต้องชดใช้ค่าเสียหายด้วย จึงถือว่าเป็นความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาได้”

News, ข่าวเด่น

‘ดื่มหนักเสี่ยงวัณโรค’ ดื่มเหล้าเป็นเหตุคร่าชีวิตผู้คนจาก ‘วัณโรค’ มากกว่าอุบัติเหตุ

อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว
จากข่าวการเสียชีวิตของดาราสาว น้ำตาล เดอะสตาร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้แถลงถึงสาเหตุ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ว่าเกิดจาก “วัณโรคหลังโพรงจมูก” ทำให้คนไทยหลายคนสงสัยถึงสาเหตุการเกิดวัณโรค ซึ่งปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดวัณโรค เช่น ภาวะที่ร่างกายอ่อนแอ การติดเชื้อ HIV การป่วยเป็นเบาหวาน และการอยู่ในพื้นที่แออัดที่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อมากหรือมีคนใกล้ชิดป่วยเป็นวัณโรค

แอลกอฮอล์นำไปสู่การเสียชีวิตจากวัณโรค มากกว่า อุบัติเหตุบนท้องถนน

แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เกิดจากพฤติกรรมซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดวัณโรคที่คนทั่วไปไม่ทราบ หรือมองข้ามไป เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา วารสาร Lancet ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์ชื่อดังระดับโลกได้ตีพิมพ์ รายงานการประมาณการภาระโรคที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์โดยใช้ข้อมูลจาก 195 ประเทศทั่วโลก (Alcohol use and burden for 195 countries and territories, 1990–2016: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2016) พบว่า แอลกอฮอล์ทำให้เกิดการเสียชีวิตทั่วโลกถึง 2.8 ล้านคนต่อปี โดยแอลกอฮอล์ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดการเสียชีวิตจากโรคนั้นๆ ข้อมูลที่น่าตกใจจากรายงานฉบับนี้ คือ โรคที่แอลกอฮอล์มีส่วนเกี่ยวข้องและทำให้เกิดการเสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งทั่วโลก คือ “วัณโรค” ซึ่งสูงกว่าการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนจากแอลกอฮอล์ซึ่งตามมาเป็นอันดับ 2 เสียอีก [1] ประมาณการกันว่า 10% ของการป่วยเป็นวัณโรคทั่วโลกมีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ [2]

ดื่มหนักเสี่ยงวัณโรค 3 เท่า !!!

ก่อนหน้านี้ในปี 2551 ทีมนักวิจัยจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ตีพิมพ์งานวิจัยแบบ systematic review ที่เป็นการรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยหลายๆ ชิ้น และนำมาวิเคราะห์ร่วมกัน โดยได้รวบรวมผลงานวิจัย 21 ชิ้นเกี่ยวกับแอลกอฮอล์และวัณโรคนำมาวิเคราะห์ร่วมกัน พบว่า ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์แบบดื่มหนัก (40 กรัมต่อวันขึ้นไป) มีความเสี่ยงในการเกิดวัณโรคสูงเกือบ 3 เท่าของคนทั่วไป [3]

แอลกอฮอล์ก่อกวนการทำงานของเม็ดเลือดขาว และลดประสิทธิผลยารักษาวัณโรค

สาเหตุที่แอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรควัณโรค เนื่องจากแอลกอฮอล์ไปลดความสามารถในการทำงานของเม็ดเลือดขาวหลายชนิดซึ่งเป็นกลไกของร่างกายที่ใช้ในการกำจัดเชื้อวัณโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ก่อนที่ลุกลามไปจนมีอาการป่วย เม็ดเลือดขาวที่ทำงานด้อยลงหากเราดื่มแอลกอฮอล์ เช่น macrophage, CD 4+ lymphocyte, CD 8+ lymphocyte ในกลุ่ม T cells ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จึงถือเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ นอกจากนี้ สำหรับคนที่ป่วยเป็นวัณโรคและกำลังทานยารักษา การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงเนื่องจากแอลกอฮอล์จะไปรบกวนการทำงานของยา Isoniazid ซึ่งเป็นตัวยาหลักในตำหรับยาที่ใช้รักษาวัณโรค [2]

การดื่มเหล้าดื่มเบียร์ ยังเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่คนทั่วไปกระทำกัน นอกเหนือจากอุบัติเหตุ โรคตับแข็ง มะเร็งตับที่ทุกคนทราบกันดี แอลกอฮอล์ยังก่อให้เกิดโรคที่เราไม่ค่อยนึกถึงกันได้อีกมาก “วัณโรค” ที่เพิ่งคร่าชีวิต น้ำตาล เดอะสตาร์ ไปก็ถือเป็นหนึ่งในโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับการดื่มแอลกอฮอล์ องค์การอนามัยโลกได้จัดให้แอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกว่า 200 โรค [4] รวมไปถึงโรคมะเร็งอันดับหนึ่งในผู้หญิง คือ มะเร็งเต้านม และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งอีกหลายชนิด ได้แก่ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งในช่องปาก มะเร็งกล่องเสียง เป็นต้น การ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำเพื่อลดโอกาสที่จะจากโลกนี้ไปก่อนวัยอันควร

ผู้เขียน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพ. อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยระบบสุขภาพและการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (CE-HSMR) และศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพ. อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว

อ้างอิง

  1. Griswold MG, Fullman N, Hawley C, Arian N, Zimsen SR, Tymeson HD, et al. Alcohol use and burden for 195 countries and territories, 1990–2016: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2016. The Lancet. 2018;392(10152):1015-35.
  2. Rehm J, Samokhvalov AV, Neuman MG, Room R, Parry C, Lonnroth K, et al. The association between alcohol use, alcohol use disorders and tuberculosis (TB). A systematic review. BMC public health. 2009;9:450. Epub 2009/12/08. doi: 10.1186/1471-2458-9-450. PubMed PMID: 19961618; PubMed Central PMCID: PMC2796667.
  3. Lönnroth K, Williams BG, Stadlin S, Jaramillo E, Dye C. Alcohol use as a risk factor for tuberculosis–a systematic review. BMC public health. 2008;8(1):289.
  4. World Health Organization. Global status report on alcohol and health 2014: World Health Organization; 2014.
ข่าวเด่น

กฎหมายควบคุมเหล้าของไอซ์แลนด์ : นโยบายใหม่ที่ไทยควรเรียนรู้

เรียบเรียงโดย กมลพัฒน์ มากแจ้ง และ อรทัย วลีวงศ์
สำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ (สวน.)

กฎหมายควบคุมเหล้าของไอซ์แลนด์

News, ข่าวเก่า, ข่าวเด่น

ทบทวน CSR ของธุรกิจแอลกอฮอล์ทั่วโลก : รับผิดชอบต่อสังคม หรือ กิจกรรมทางการตลาด?

เรียบเรียงโดย รัชพร คงประเสริฐ และ อรทัย วลีวงศ์
สำนักงานวิจัยนโยบายสร้าเสริมสุขภาพ (สวน.)

ทบทวน-CSR-ของธุรกิจแอลกอฮอล์ทั่วโลก

ข่าวเด่น

FCAC กฎหมายระหว่างประเทศเพื่อควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : ข้อเรียกร้องจองนักวิชาการและภาคประชาสังคมโลก

โดย อรทัย วลีวงศ์ สำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ (สวน.)

ข้อเรียกร้องจากนักวิชาการและสังคม

1 2 19 20 21 22
Privacy Settings
We use cookies to enhance your experience while using our website. If you are using our Services via a browser you can restrict, block or remove cookies through your web browser settings. We also use content and scripts from third parties that may use tracking technologies. You can selectively provide your consent below to allow such third party embeds. For complete information about the cookies we use, data we collect and how we process them, please check our Privacy Policy
Youtube
Consent to display content from - Youtube
Vimeo
Consent to display content from - Vimeo
Google Maps
Consent to display content from - Google
Spotify
Consent to display content from - Spotify
Sound Cloud
Consent to display content from - Sound

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors