ท่านสามารถเข้าใช้งานระบบการคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดโดยการสแกนคิวอาร์โคด หรือเข้าใช้งานผ่านทางลิงก์ดังนี้
https://www.calconic.com/calculator-widgets/-version-1-1/654bca0be31ac90029ae4a3c?layouts=true
ชำแหละนโยบายขยายเวลาผับ-บาร์ เล็งกระตุ้นเศรษฐกิจมิติเดียว เมินสวัสดิภาพและความปลอดภัยของสาธารณชนส่วนรวม!! นักวิชาการแนะรัฐ ประเมินความคุ้มค่ารอบด้าน พิจารณาทางเลือกอื่นที่ดีกว่า
จากการประชุม ครม. เมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบให้ขยายเวลาเปิดผับ-บาร์จากเวลา 02.00 น. ออกไปเป็นเวลา 04.00 น. โดยทางกระทรวงมหาดไทยวางแผนดําเนินการตามมาตรการเคร่งครัดในเรื่องการดูแลความสงบการจัดระเบียบสังคม การควบคุมการใช้อาวุธในสถานประกอบการต่าง ๆ ยังเป็นไปอย่างเข้มงวด รวมทั้งไม่ให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าไปใช้สถานบริการ นอกจากนี้กระทรวงมหาดไทยยังเป็นหน่วยงานหลักในการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับแนวทางการขยายเวลาการเปิดสถานบริการในพื้นที่ท่องเที่ยวในบางพื้นที่ เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยว รวมถึงเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ เล็งออกกฎกระทรวงอนุญาตเป็นรายพื้นที่ในพื้นที่ท่องเที่ยว พร้อมเสนอเข้าที่ประชุม ครม. และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ซึ่งเน้นย้ำพื้นที่ที่ขอมาต้องบริหารจัดการได้ และต้องปฎิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายแต่ในทางกลับกัน นักวิชาการมองว่านโยบายนี้ของรัฐยังขาดการเปรียบเทียบความคุ้มค่าอย่างแท้จริง
ผศ.ดร.สมัย โกรทินธาคม อาจารย์ประจําคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า หากลองเปิดเลนส์การมองเห็นให้กว้างและมองอย่างรอบด้านอีกครั้งการมุ่งเป้าในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการขยายเวลาเปิดผับ-บาร์ สถานบันเทิงก็ไม่ต่างกับการมองลูกเต๋าด้านเดียวเพราะรัฐบาลยังขาดการประเมินความคุ้มค่าให้รอบด้าน ซึ่งจากงานวิจัยของ ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ และคณะ ได้ประมาณมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจในปี 2566 โดยใช้ฐานจากตัวเลขค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจรวมทั้งหมดของไทยในปี 2564 เพื่อประมาณว่า ถ้ารัฐจะผ่อนปรนให้ขยายเวลาขายจนถึงเวลา 04.00 ในแหล่งท่องเที่ยวหลัก ซึ่งเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่กรุงเทพ พัทยา ภูเก็ต และเกาะสมุย มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ จะเพิ่มขึ้นไปอีก 260 ล้านบาทถึงแม้ว่าจะทําให้เพิ่มรายได้จากการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้นก็ตามแต่รายได้เหล่านี้ยังต้องหักค่าซื้อเครื่องดื่มมาบริการ ค่าจ้างพนักงาน ค่าสร้างและดูแลสถานที่ และการจ่ายภาษี ถ้าหักค่าใช้จ่ายข้างต้นนี้แล้ว จะเหลือรายได้สุทธิเป็นวงเงินไม่ถึงครึ่งของยอดขาย ที่จะตกแก่กลุ่มผู้ประกอบการ คนทํางานในสถานบันเทิง ผู้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนผลกระทบด้านลบจากการเจ็บป่วยและเสียชีวิตนั้น เกิดขึ้นแก่กลุ่มคนในวงกว้างต่อผู้ที่ดื่มและไม่ได้ดื่ม ซึ่งภาครัฐและสังคมเป็นผู้แบกรับภาระทั้งหมด นอกจากนี้ ผลการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยว 1,200 คน ในสถานที่ 4 แห่งข้างต้น นักท่องเที่ยว 84% ให้ความเห็นว่า การขยายเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในไทย ไม่ใช่เหตุผลสําคัญที่จะทําให้เขาตัดสินใจว่าจะมาเที่ยว หรือไม่มาเที่ยวเมืองไทยแต่อย่างใด จากผลการศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นว่า สังคมไทยพึงตระหนักถึงข้อเสนอให้มีการขยายเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีวัตถุประสงค์ต้องการเพิ่มรายได้จากด้านท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ เพียงมิติเดียว โดยยังไม่ได้ชั่งน้ำหนักถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัยของสาธารณชนส่วนรวมเลย ยิ่งไปกว่านั้น เรากลับจะต้องเพิ่มมาตรการที่เข้มงวด เพื่อป้องกันและเยียวยาปัญหาที่จะเกิดขึ้น และพิจารณาถึงทางเลือกอื่น ได้แก่
1) ถ้ารัฐต้องการลดปริมาณการดื่ม สามารถทําได้โดยการเพิ่มภาษีสรรพสามิต เพื่อลดปริมาณการดื่ม ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนด้านอุบัติเหตุและค่ารักษาพยาบาล และทําให้รัฐมีรายได้ภาษีเพิ่มมากขึ้น สําหรับนําไปบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดื่ม
2) ถ้ารัฐต้องการสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจยามค่ำคืน สามารถส่งเสริมด้วยกิจกรรมอื่น เช่น กิจกรรมศิลปวัฒนธรรม กีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ ดังตัวอย่างในมหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่กระตุ้นเศรษฐกิจยามค่ำคืน โดยสนับสนุนให้เปิดสถานที่แสดงงานศิลปะ พิพิธภัณฑ์ กิจกรรมการแสดงต่าง ๆโรงภาพยนตร์ โรงละคร ศูนย์การค้า และสวนสนุก ซึ่งสามารถสร้างรายได้แก่พื้นที่ท่องเที่ยวเป็นจํานวนมาก โดยมิได้พึ่งพารายได้จากการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
3) รัฐต้องสนับสนุนให้มีการตั้งด่าน เพื่อสุ่มตรวจลมหายใจของผู้ขับขี่ในเส้นทางต่าง ๆ เป็นประจํา พร้อมแจ้งให้ประชาชนทราบโดยทั่วกันว่า ผู้ขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ มีโอกาสจะถูกสุ่มตรวจได้เสมอ
4) รัฐต้องเพิ่มการกวดขันร้านค้าต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายเรื่องเวลาขาย การห้ามขายให้แก่ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และการขายเพิ่มเติมให้แก่ผู้ดื่ม ซึ่งมีอาการมึนเมาแล้ว
5) รัฐควรกําหนดให้สถานบันเทิง ผับ บาร์ ร้านอาหาร ที่เปิดบริการยามค่ำคืน ให้ความร่วมมือโดยหยุดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง ก่อนเวลาปิดบริการตามกฎหมาย เพื่อให้ลูกค้าได้มีเวลาพักดื่มเตรียมตัวเดินทางกลับ หรือ อาจจัดหาสถานที่และบริการใหลู้กค้าได้พัก เพื่อให้ทุเลาจากอาการมึนเมา ซึ่งจะช่วยลดปัญหาต่อสังคมได้อีกช่องทางหนึ่ง
ผศ.ดร.สมัย โกรทินธาคม กล่าว
ครั้งที่ 1 ในวันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ครั้งที่ 2 ในวันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ช่องทาง : ผ่านทาง Zoom Video Conference
ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่นี่ : https://forms.gle/GTGtuAxHcz7L4Jiu5
(ท่านจะได้รับลิงก์สำหรับเข้าร่วมการประชุม Zoom ตอบกลับทางอีเมลหลังจากลงทะเบียนเข้าร่วมงาน)
สาขาวิชาระบาดวิทยา อาคารบริหาร ชั้น 6 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทรศัพท์ : 083-5775533 (เวลาราชการ 08.30 - 16.30 น.)
Copyright © 2019 CAS All rights reserved.