คำค้นหา : นโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

คำนี้ค้นหามาแล้ว : 114 ครั้ง
การจำกัดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเพื่อควบคุมผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อความสงบสุข ความปลอดภัย และสุขภาวะของประชาชนโดยรวมจำเป็นแค่ไหน!?
https://cas.or.th/content?id=629

การจำกัดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเพื่อควบคุมผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อความสงบสุข ความปลอดภัย และสุขภาวะของประชาชนโดยรวมจำเป็นแค่ไหน

โดย นางสาวจินตนา จันทร์โคตรแก้ว สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ

กฎหมายได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้เกิดความสงบสุขของคนในสังคมโดยรวม การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็เช่นกัน ปัจจุบันสังคมให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล จนบางครั้งอาจไม่ได้คำนึงถึงความสงบสุขโดยรวมของสังคม เช่นเดียวกันกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นประเด็นในสังคมที่หยิบยกออกมาโต้แย้งว่า ประเทศไทยมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลโดยใช้นโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากจนเกินไปจนไปลิดรอนสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ทั้งการจำกัดสถานที่ห้ามดื่มและห้ามขาย จำกัดเวลาการขาย การห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บทความนี้จะฉายภาพให้เห็นอีกด้านของผลกระทบและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในสังคม

ขอบเขตและสิทธิเสรีภาพของบุคคลในรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยฉบับพุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๕ ระบุไว้ว่า สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะ ในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจํากัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะทําการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่านั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น นั่นแสดงให้เห็นว่าการมีสิทธิเสรีภาพมีขอบเขต บุคคลมีสิทธิในการกระทำใดใด หากการกระทำดังกล่าวไม่ไปกระทบเสรีภาพของบุคคลอื่น ดังนั้นจึงขอไล่เรียงข้อโต้แย้งในคำกล่าวที่ว่า การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลิดรอนสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเกินความจำเป็นดังนี้

  • การจำกัดสถานที่ห้ามขายและห้ามดื่มเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลหรือไม่ สังคมจะเป็นเช่นไร หากสามารถขายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ทุกที่ หากสังคมเป็นเช่นนั้น การกระทำของบุคคลเพียงคนหรือสองคนอาจจะทำให้คนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนชายหาด ซึ่งชายหาดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่คนทั่วไปใช้ชีวิตเพื่อพักผ่อนและใช้เวลาร่วมกัน แต่หากมีกลุ่มคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วส่งเสียงดังทะเลาะวิวาท การเรียกร้องสิทธิแบบนี้มีความยุติธรรมกับคนที่ใช้พื้นที่ดังกล่าวจริงหรือ เช่นเดียวกัน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถโดยสารสาธารณะ ซึ่งรถโดยสารสาธารณะเป็นสถานที่สำหรับผู้เดินทางและคนในสังคมต้องการความปลอดภัยในชีวิต หากมีเพียงคนเดียวดื่มและส่งเสียงดัง อาจจะทำให้ผู้ร่วมโดยสารคนอื่นๆ รู้สึกไม่ปลอดภัย จากหลักฐานเชิงประจักษ์ การควบคุมสถานที่ห้ามขายและห้ามดื่มเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (1) นอกจากนี้การจำกัดใบอนุญาตในการห้ามขายก็มีความจำเป็นเนื่องจากจำนวนใบอนุญาตที่มากขึ้นนำไปสู่การดื่ม (2) และปัญหาที่ตามมา (3) ประเทศนิวซีแลนด์เป็นตัวอย่างในการจำกัดใบอนุญาตการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะร้านที่มีที่นั่งดื่ม โดยการที่จะมีร้านที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้นั้นจะต้องได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการหลากหลายภาคส่วน ในกระบวนการออกใบอนุญาตขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น จะต้องมีการติดประกาศเพื่อให้ทราบล่วงหน้าว่า กำลังจะมีร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เปิดขึ้น และประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงสามารถคัดค้านการเปิดได้หากมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจากร้านที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดังกล่าว (4) นอกจากนี้ ในสหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย ได้มีความพยายามในการจำกัดจำนวนของร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะร้านแบบนั่งดื่ม (5, 6) เช่น ผับบาร์ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งเสียงและการทะเลาะวิวาทที่ตามมา เพื่อรักษาความสงบของพื้นที่ที่อยู่อาศัย ดังนั้น การจำกัดพื้นที่ห้ามดื่มและห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และจำนวนใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จึงจำเป็น เพราะการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้กระทบเพียงคนดื่ม แต่กระทบความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยรวม
  • การจำกัดเวลาห้ามขายในบางช่วงเวลาเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลหรือไม่ การควบคุมเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความจำเป็น เพราะบางช่วงเวลามีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น จากข่าวกรณีที่มีคนขับรถกลับจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงใกล้รุ่งแล้วรถพุ่งชนนักปั่นจักรยานสองคนเสียชีวิต (7) เป็นกรณีตัวอย่างของผลกระทบว่า การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ทำให้เกิดผลที่ตามมาซึ่งไปกระทบสิทธิของผู้อื่น บางคนอาจจะมองว่า ประเทศอื่นมีการเปิดผับถึงตี 4 แต่หากไปดูสถิติในการลงทุนกับการรักษาความปลอดภัยโดยรวมนั้น ประเทศไทยยังห่างไกลจากประเทศเหล่านั้นอยู่มาก เช่น อัตราการสุ่มตรวจระดับแอลกอฮอล์ในผู้ขับขี่ในประเทศนิวซีแลนด์ โดยเฉลี่ยแล้ว ใน 1 ปีพลเมืองที่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์มีโอกาสถูกตรวจระดับแอลกอฮอล์จากลมหายใจอย่างน้อย 1 ครั้ง (8, 9) ซึ่งประเทศชาติต้องลงทุนกับมาตรการดังกล่าวมหาศาลเพื่อทำให้คนไทยมีความปลอดภัยในชีวิตจากการดื่มและขับ และประเทศไทยเองก็มีปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องเร่งแก้ไขมากมาย แล้วเราจะมีทรัพยากรเพียงพอเท่าประเทศเหล่านั้นเพื่อรักษาชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ให้ได้รับผลกระทบจริงหรือ นอกจากการดื่มแล้วขับ ยังไม่ได้รวมถึงผลกระทบอื่น ๆที่ ตามมา เช่น การส่งเสียงดังและทะเลาะวิวาท คดีอาชญากรรม
  • การห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นการลิดรอนสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับพุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๓๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจํากัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน  การควบคุมโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นหากพิจารณาตามสิทธิส่วนบุคคล อาจจะเป็นการลิดรอนสิทธิในระยะสั้น แต่รัฐไม่ควรพิจารณาเพียงสิทธิเสรีภาพระยะสั้น เพราะการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลกระทบในระยะยาว เพราะการโฆษณาทำงานกับสมอง โดยการสร้างเนื้อหา ภาพและเสียงเพื่อกระตุ้นให้สมองมีการรับรู้และการเปิดรับผลิตภัณฑ์และแบรนด์ นำไปสู่การรู้สึกเป็นเจ้าของในแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์นั้น และหากสินค้าดังกล่าวเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รัฐจึงควรเข้ามาปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนจากผลกระทบในระยะยาว ปัจจุบันสื่อและการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้เข้ามาผ่านช่องทางเดิมที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เทคโนโลยีทำให้สื่อและการโฆษณาเข้ามาอยู่ในทุกมุม ทุกกิจกรรมของชีวิต และหากคนกลุ่มที่น่ากังวลและควรปกป้องมากที่สุด คือ กลุ่มเยาวชน จะเลวร้ายแค่ไหนหากเด็กและลูกหลานของเราเห็นโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากคนที่มีชื่อเสียงและคนที่เขายกย่องเป็นประจำ จนมองว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเรื่องปกติและโก้เก๋ นำไปสู่การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเขาต่อมา (10) และเมื่อปรากฏการณ์นั้นเกิดขึ้น ก็ไม่ต่างจากการมอมเมาเด็กและเยาวชน และชี้ทิศทางไปในทางที่เขาไม่ได้เลือกจากสิทธิและเสรีภาพที่เขามีจริง ๆ แต่เกิดจากการที่ผู้ใหญ่หรือบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เรียกร้องสิทธิในการโฆษณาเพื่อผลกระโยชน์ของตนในระยะสั้น แต่ลืมสิทธิและเสรีภาพของลูกหลานในอนาคตที่เขาไม่มีสิทธิเลือก ดังนั้น กฎหมายควบคุมโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นจึงมีความจำเป็นในการจำกัดสิทธิเสรีภาพในระยะสั้น และปกป้องสิทธิเสรีภาพในระยะยาว และสร้างเส้นทางเลือกให้กับสิทธิในการมีสุขภาพดีของลูกหลานประชาชนไทย

สรุป
สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลมีได้ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่านั้น ไม่กระทบกระเทือนความสงบเรียบร้อยและไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น ดังนั้นรัฐจึงมีความชอบธรรมในการจำกัดวัน เวลา และสถานที่ในการขายและดื่ม รวมทั้งการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะสิทธิในการดื่มและขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งการโฆษณากระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและสุขภาวะของสังคมโดยรวม

เอกสารอ้างอิง
1. World Health organization. “Best buys’ and other recommended interventions for the prevention and control of noncommunicable diseases: updated(2017) appendix 3 of the Global Action Plan for the Prevention and Control of Noncommunicable diseases 2013-2020. Geneva: World Health Organization; 2017.
2. Popova S, Giesbrecht N, Bekmuradov D, Patra J. Hours and days of sale and density of alcohol outlets: impacts on alcohol consumption and damage: a systematic review. Alcohol Alcohol. 2009;44(5):500-16.
3. Campbell CA, Hahn RA, Elder R, Brewer R, Chattopadhyay S, Fielding J, et al. The Effectiveness of Limiting Alcohol Outlet Density As a Means of Reducing Excessive Alcohol Consumption and Alcohol-Related Harms. American Journal of Preventive Medicine. 2009;37(6):556-69.
4. Sale and Supply of Alcohol Act 2012, (2012).
5. Wilkinson C, MacLean S, Room R. Restricting alcohol outlet density through cumulative impact provisions in planning law: Challenges and opportunities for local governments. Health & Place. 2020;61:102227.
6. Pliakas T, Egan M, Gibbons J, Ashton C, Hart J, Lock K. Do cumulative impact zones reduce alcohol availability in UK high streets? Assessment of a natural experiment introducing a new licensing policy. The Lancet. 2016;388:S94.
7. เดลินิวส์. ซ่อนเหล้า? หนุ่มวัย 26 ซิ่งเสยกลุ่มนักปั่นเสือภูเขากวาดยกแก๊งดับ2เจ็บ5. เดลินิวส์,. 2567 10 มีนาคม 2567.
8. Police across New Zealand performed more than three million breath screening tests (BSTs) in 2023, more than 26% above 2022 figures, and the most in a decade [Internet]. National News. 2024 [cited March,17, 2024]. Available from: https://www.police.govt.nz/news/release/breath-screening-tests-exceed-3-million-2023.
9. New Zealand Transport Agency. Driver licence holders dataset & API 2024 [Available from: https://opendata-nzta.opendata.arcgis.com/search?q=license%20holder.
10. Padon AA, Rimal RN, Siegel M, DeJong W, Naimi TS, JernFigan DH. Alcohol brand use of youth-appealing advertising and consumption by youth and adults. J Public Health Res. 2018;7(1):1269.

ทะเบียน พ.ร.บ. แอลกอฮอล์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2551
https://cas.or.th/content?id=12

พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551

  1. พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551  PDF
  2. Alcoholic Beverage Control Act B.E. 2551 (A.D. 2008)  PDF

กฎกระทรวง 

  1. กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแสดงภาพสัญลักษณ์เพื่อประกอบการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2553 PDF

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2551 PDF
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. 2555 PDF
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง พ.ศ. 2555 PDF
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ พ.ศ. 2555 PDF
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขาย หรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสวนสาธารณะของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ พ.ศ. 2556 PDF
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2558 PDF
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 PDF
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานีขนส่ง พ.ศ. 2558 PDF
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางรถไฟ พ.ศ. 2558 PDF
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในท่าเรือโดยสารสาธารณะ พ.ศ. 2558 PDF
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง พ.ศ. 2558 PDF
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ที่อยู่ในกำกับดูแลและใช้ประโยชน์ของราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ พ.ศ. 2558 PDF
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2558 PDF
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา พ.ศ. 2558 PDF
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 PDF
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 PDF
  17. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวิธีการหรือลักษณะห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการใช้เครื่องจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณร้านค้าสะดวกซื้อ พ.ศ. 2561 PDF
  18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การเลือกและแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 PDF
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะการขายทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 PDF
  20. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF
  21. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้แทนองค์กรเอกชนเป็นกรรมการในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF
  22. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัย ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2566  PDF
  23. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้แทนองค์กรเอกชนเป็นกรรมการในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  PDF NEW!
  24. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัย ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2566  PDF NEW!

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

  1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการคัดเลือกกรรมการในคณะกรรมการ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 PDF

ประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  1. ประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง รูปแบบของข้อความคำเตือนประกอบภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือภาพสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2557 PDF
  2. ประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับฉลากของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2558 PDF

ระเบียบคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  1. ระเบียบคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 PDF
  2. ระเบียบคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 PDF
  3. ระเบียบคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับการสนับสนุนเพื่อการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2567  PDF NEW!

คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  1. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง การมอบหมายให้ดำเนินการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 PDF
  2. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง การมอบหมายให้ดำเนินการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) PDF
  3. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 1/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาการกระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 PDF
  4. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 1/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านวิชาการในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF
  5. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 2/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF
  6. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 3/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการรณรงค์และการสร้างภาคี PDF
  7. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 4/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่างและแก้ไขปรับปรุงกฎหมายหรืออนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF
  8. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 1/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านวิชาการในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF
  9. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 2/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF
  10. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 3/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการรณรงค์และการสร้างภาคี PDF
  11. คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 4/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานด้านวิชาการในการสนับสนุนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ PDF

คำสั่งคณะกรรมการนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ

  1. คำสั่งคณะกรรมการนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ที่ 5/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 PDF

ระเบียบกรมควบคุมโรค

  1. ระเบียบกรมควบคุมโรค ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2555 PDF
  2. ระเบียบกรมควบคุมโรค ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 PDF

ประกาศกรมควบคุมโรค

  1.  ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง หลักเกณฑ์การแบ่งเงินรางวัลหรือวิธีปฏิบัติในการจ่ายเงิน และแบบการขอรับเงินสินบนรางวัล ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 PDF NEW!
  2. ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามระเบียบกรมควบคุมโรคว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 PDF

คำสั่งกรมควบคุมโรค

  1. คำสั่งกรมควบคุมโรค ที่ 1071/2555 เรื่อง การมอบหมายในการหักค่าปรับและการอนุมัติสั่งจ่ายเงินสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 PDF
  2. คำสั่งกรมควบคุมโรค ที่ 2172/2566 เรื่อง กำหนดผู้เป็นหัวหน้าองค์คณะในการปรับเป็นพินัย PDF NEW!
ข้อห่วงใยต่อปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ในกาสิโน ผลสืบเนื่องจากความพยายามผลักดัน พ.ร.บ. Entertainment complex ของไทย
https://cas.or.th/content?id=898

ข้อห่วงใยต่อปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ในกาสิโน ผลสืบเนื่องจากความพยายามผลักดัน พ.ร.บ. Entertainment complex ของไทย

โดย ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ 
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

จากความพยายามอย่างเร่งรีบของพรรคร่วมรัฐบาลในการผลักดัน พ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร หรือที่เราเรียกสั้น ๆ ว่า พ.ร.บ.กาสิโน ในช่วงรอบสองสัปดาห์ที่ผ่านมา สังคมได้รับข้อมูลความคิดเห็นทั้งจากฝั่งสนับสนุนและคัดค้านจำนวนมากซึ่งถือเป็นข้อดีของสังคมเสรีที่ความคิดเห็นและข้อมูลสื่อสารและถ่ายทอดอย่างรวดเร็ว ข้อมูลจากฝั่งสนับสนุน ที่เชื่อว่าจากฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่เป็นประเทศที่มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว หากมีการเปิดกาสิโนได้จริงจะเป็นเครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ทั้งเอกชน ภาคการท่องเที่ยวมีรายได้มากขึ้น ส่วนรัฐบาลก็เก็บภาษีเพิ่มขึ้นเช่นกัน ในขณะที่ฝ่ายคัดค้านนั้นเชื่อว่าเบื้องหลังของโมเดลนี้ มีการซ่อนต้นทุนทางสังคมและเศรษฐกิจที่ใหญ่หลวงไม่แพ้กัน

ในฐานะนักวิชาการด้านนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เราพบว่าในร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มีเรื่องคาบเกี่ยวกับพื้นที่ทางวิชาการที่หน่วยงานเราได้ทำข้อมูลตลอดมานั่นคือ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว จะยกเว้นกาสิโนจากกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบ ซึ่งหมายความว่าผู้เข้าไปเล่นในกาสิโนจะมีอิสระอย่างเต็มที่ในการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องประหลาดแต่อย่างใดหากนับว่าในอบายมุขสถานจะให้อิสระมากที่สุดเพื่อเอื้อให้เกิดความบันเทิงอย่างที่สุดแก่ผู้ใช้บริการและนำมาซึ่งการจับจ่ายใช้สอยมากยิ่งขึ้น “อบายมุขเมื่อรวมตัวกัน จะสร้างความต้องการซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น” ข้อความนี้ไม่ได้มาจากความรู้สึกนึกคิดส่วนตัวของผู้เขียนแต่มาจากงานวิจัยที่สะสมข้อมูลจากหลายแหล่ง

  • การพนัน – เหล้า

​การศึกษาของ Cronce และ Corbin ในปี 2010 (1) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเหล้าและการพนัน โดยเฉพาะขนาดของวงเงินเดิมพันและความเร็วในการสูญเสียเงินทุน ​โดยในการศึกษาดังกล่าวได้แบ่งผู้เข้าร่วมจำนวน 130 คน เป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งถูกสุ่มให้กินเหล้าจริง และอีกกลุ่มให้ดื่มเหล้าปลอม หลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วม เล่นเกมสล็อตจำลองที่ถูกตั้งโปรแกรมให้มีผลลัพธ์เริ่มต้นที่แตกต่างกัน (ชนะ, เสมอ, หรือแพ้) ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงที่มีการสูญเสียเพิ่มขึ้น ผลการศึกษาพบว่าคนที่ดื่มเหล้าจริงมีแนวโน้มที่จะวางเดิมพันที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และเสียเงินทุนทั้งหมดเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ดื่มเหล้า อันที่จริงเวลาที่เราเข้าไปในกาสิโน จะมีพนักงานบริการที่เสิร์ฟเหล้าฟรีให้เราตลอดเวลา เหมือนอย่างที่เราเคยดูในหนังฮอลีวูดส์ทั้งหลาย ถ้ามีฉากที่มีการดวลกันในกาสิโนยิ่งเป็นกาสิโนหรู ๆ จะมีเด็กเติมเหล้า แชมเปญ ให้กันไม่อั้นเลย นี่เป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้นักพนันหุนหันพลันแล่นและกล้าได้กล้าเสีย และนำมาซึ่งการเพิ่มวงเงินในการเล่นพนันมากยิ่งขึ้น (ซึ่งต้องมากกว่าค่าเหล้าแพง ๆ ที่เขาให้ฟรีแน่นอน)

  • กาสิโน - เหล้าฟรี - อุบัติเหตุจากเมาแล้วขับ

แน่นอนว่าคนขี้สงสัยบางคนสงสัยต่อว่า ถ้ามีกาสิโน และมีการเสิร์ฟเหล้าไม่อั้นแบบนี้ มันจะทำให้อุบัติเหตุจากคนเมาเหล้าเพิ่มขึ้นไหม ซึ่งเราพบว่ามันเพิ่มขึ้นจริง ๆ

การศึกษาของ Chad D. Cotti และ Douglas M. Walker ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Health Economics ในปี 2010 (2) ได้ศึกษาสัมพันธ์ระหว่างการเปิดกาสิโนกับจำนวนอุบัติเหตุทางถนนที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ที่มีผู้เสียชีวิตในสหรัฐอเมริกา ​เพื่อวิเคราะห์ว่าการเปิดกาสิโนในพื้นที่ต่าง ๆ มีผลกระทบต่อจำนวนอุบัติเหตุทางถนนที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์และมีผู้เสียชีวิตหรือไม่​ โดยใช้ข้อมูลจากช่วงเวลา 10 ปีที่มีการเปิดกาสิโนในสหรัฐอเมริกา​ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการมีกาสิโนในเขตพื้นที่ (county) กับจำนวนอุบัติเหตุทางถนนที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ที่มีผู้เสียชีวิต​ ผลการศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการมีกาสิโนในพื้นที่กับจำนวนอุบัติเหตุทางถนนที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ที่มีผู้เสียชีวิต

  • การพนัน - ปัญหาสังคมอื่น ๆ

ความตั้งใจจริงของการเขียนบทความนี้ไม่ได้เขียนเพื่อค้านทุกอย่างทุกประเด็นสำหรับการพัฒนา ผู้เขียนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศย่อมเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกในสังคมและประเทศชาติ และหากข้อเสนอเรื่องกาสิโนจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมจริงแล้ว ผู้เขียนย่อมไม่คัดค้าน แต่กระนั้นก็ตามความกังวลอย่างยิ่งยวดของผู้เขียนไม่ได้อยู่ที่รายละเอียดเนื้อหาใน พ.ร.บ.กาสิโน ที่มีมาตรการควบคุมความเสียหายไว้พอสมควร เช่น การจำกัดคนไทยที่จะเข้าไปเล่นการพนันต้องมีวงเงินฝากไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท หรือต้องเสียค่าเข้ากาสิโนครั้งละ 5,000 บาท เพื่อคัดกรองเฉพาะคนไทยผู้มีรายได้สูงเท่านั้น และเน้นไปที่การดึงดูดนักพนันต่างชาติ เหมือนที่กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ได้สร้างกาสิโนคอมเพล็กซ์ขึ้นมาก่อนหน้านี้ไปแล้ว แต่กระนั้นก็ตามความน่ากังวลจริง ๆ ของผู้เขียนคือสังคมไทยที่โครงสร้างทางสังคมไม่ได้แข็งแรงขนาดนั้น เราจำเรื่องการเร่งผ่านกฎหมายเพื่อผ่อนปรนอบายมุขอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ได้หรือไม่ พ.ร.บ.กัญชา ที่เคยถูกนำเสนอเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ในช่วงเวลาแรกนั้น ณ วันนี้เราพบว่ามันช่วยใครที่เจ็บป่วยด้วยโรคได้จริงหรือไม่ กัญชากลายเป็นสินค้าในธุรกิจการท่องเที่ยวมากกว่าสินค้าทางการแพทย์ และการซื้อกัญชาในประเทศไทยนั้นง่ายกว่าการซื้อเหล้าเบียร์เสียอีก ภาพที่อันตรายสำหรับสังคมคือ การรับกฎหมายให้รวดเร็วแล้วไปแก้ไขหรือออกกฎหมายเพิ่มเพื่อป้องกันทีหลัง ไม่มีประสิทธิภาพจริงในการป้องกันปัญหาทางสังคมจากอบายมุข 

“อบายมุข” ที่แปลว่า ทางแห่งความเสื่อม เป็นคำที่มีอายุนานหลายพันปี เพราะวิวัฒนาการทางสังคมและภูมิปัญญาที่มนุษย์ร่วมกันสร้างพิสูจน์เสมอว่า ท้ายที่สุดแล้วเมื่อสังคมรับความสุขความสนุกจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป มันจะกัดกร่อนและทำลายสังคม การพัฒนาเศรษฐกิจโดยใช้ฐานรากทางอบายมุขและความบันเทิงถือเป็นหลักการพัฒนาที่น่ากังวลใจว่าจะทำให้สังคมแย่ลง มีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ทำในยุคสมัยแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่แล้ว และพิสูจน์ว่า “อบายมุข” ที่ถูกนิยามส่งต่อมานับพันปีและมีคำเตือนให้สังคมหนีห่าง นั้นเป็นข้อความที่เป็นจริง งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลต่อเนื่องยาวนานและทำการวิเคราะห์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ระดับประเทศของสหรัฐ ของ Grinols และ Mustard (2006) (3) ที่ศึกษาข้อมูลจาก 167 มณฑลในสหรัฐอเมริกา ช่วงปี 1977–1996 พบว่าพื้นที่ที่เปิดกาสิโนมีอัตราอาชญากรรมเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8% ภายใน 5 ปีหลังเปิด โดยเฉพาะอาชญากรรมประเภทการปล้น ลักขโมย การทำร้ายร่างกาย และการขโมยรถยนต์ การศึกษานี้ใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบก่อน-หลัง (difference-in-differences analysis) และควบคุมตัวแปรเศรษฐกิจสังคมอย่างละเอียด เพื่อแยกผลกระทบของกาสิโนอย่างแท้จริง นี่คือผลการศึกษาที่สะท้อนให้เห็นว่าการพนันเรื่องเดียวเพิ่มโอกาสในการเกิดอาชญากรรมได้อีกหลายอย่าง

ถึงแม้ในปัจจุบันหลายประเทศในโลกจะอนุญาตให้มีการพนันถูกกฎหมายเกิดขึ้น อังกฤษ อเมริกา หรือ อีกหลายประเทศในโลกตะวันตก การพนันสร้างเศรษฐกิจใหม่ให้กับประเทศเหล่านี้ แต่สิ่งที่พวกเขาต้องเผชิญคือ คนนับแสนนับล้านที่เป็นทาสการพนัน การพนันออนไลน์ทำงาน 24/7 ไม่หยุดไม่หย่อน สิ่งที่รัฐบาลพวกเขาทำได้ตอนนี้คือประนีประนอมกับนักเล่นพนัน เพราะคน 2/3 ของประเทศเล่นการพนันจนเป็นเรื่องปกติไปแล้ว หากรัฐบาลไม่อนุญาตท้ายที่สุดก็จะมีการพนันผิดกฎหมายอยู่ดีจากนักเล่นและเจ้าของบ่อนเถื่อนที่พร้อมเสี่ยงด้วยกัน นี่เป็นสิ่งที่น่ากังวลว่าจะเกิดขึ้นกับประเทศเล็ก ๆ อย่างไทยด้วย เราเริ่มต้นจากการอนุญาตให้เปิดกาสิโนเฉพาะในเมืองท่องเที่ยว วันต่อไปไม่รู้ว่าการพนันออนไลน์ บ่อนตามตำบลอำเภอ จะถูกอนุญาตหรือไม่  หากกาสิโนมีเหตุผลให้เปิดได้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่นานกิจการพนันออนไลน์ บ่อนรายเล็ก ทั้งหลายคงใช้เหตุผลเช่นเดียวกันในการเรียกร้องให้การพนันเป็นเรื่องปกติของสังคม เมื่อคนจำนวนมากถูกมอมเมาเช่นนี้ รัฐคงไปขวางทางน้ำเชี่ยวไม่ทันแล้ว

อ้างอิง (References)
1. Cronce JM, Corbin WR. Effects of Alcohol and Initial Gambling Outcomes on Within-Session Gambling Behavior. Exp Clin Psychopharmacol. 2010 Apr;18(2):145–57.
2. Cotti CD, Walker DM. The impact of casinos on fatal alcohol-related traffic accidents in the United States. J Health Econ. 2010 Dec 1;29(6):788–96.
3. Mustard D, Grinols E. Casinos, Crime, and Community Costs. Rev Econ Stat. 2006 Feb 1;88:28–45.

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.)

Centre for Alcohol Studies (CAS)

สาขาวิชาระบาดวิทยา ชั้น 6 อาคารบริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถนนกาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110

083-5775533

https://www.facebook.com/cas.org.th

เข้าชมแล้ว 0 ครั้ง
Copyright © 2025 CAS All rights reserved.