บทความ

บทความสาระน่ารู้ในอดีตที่ควรค่าแก่การอ่านซ้ำไว้เป็นคลังปัญญา

การศึกษาเปรียบเทียบผลของการรณรงค์งดเหล้าในงานเทศกาลงานบุญประเพณี: สงกรานต์ ปีใหม่ ลอยกระทง งานแข่งเรือ บุญบั้งไฟ และกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเทศกาลดังกล่าว

1 2 3 4 5 6 7 8
กลับไปหน้าสาระน่ารู้
Infographic, News, ข่าวเด่น

ถาม-ตอบ ประเด็นร้อน!! จะเกิดอะไรขึ้น? หากมีการลดภาษีไวน์และสุราชุมชน กับ ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ


ถาม-ตอบ ประเด็นร้อน!! จะเกิดอะไรขึ้น? หากมีการลดภาษีไวน์และสุราชุมชน

โดย ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ
อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
___________


Q: ตามที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังมีแนวคิดในการลดอัตราภาษีไวน์และสุราชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการชอปปิงและท่องเที่ยว อาจารย์คิดว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งผลอย่างไร และมีข้อห่วงใยต่อเรื่องนี้อย่างไร

A: ก่อนอื่นเราคงต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มิได้เป็นสินค้าปกติ แม้จะให้อรรถประโยชน์จากการบริโภคแต่ก็ส่งผลกระทบทางสุขภาพต่อผู้บริโภคและต้นทุนสังคมดังเช่นหน่วยงานสากลชี้ให้เห็นประเด็นดังกล่าว งานวิจัยที่ผ่านมาของไทยพบว่าต้นทุนจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปี 2564 สูงถึงร้อยละ 1 ของ GDP ในขณะที่องค์การสหประชาชาติกำหนดให้การลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเป้าหมายหนึ่งของ SDG และทางการไทยได้ดำเนินการในแนวทางลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างยาวนาน ทั้งมาตรการภาษีและไม่ใช่ภาษี อย่างไรก็ตาม เราพบว่ามาตรการด้านภาษีเป็นมาตรการที่มีประสิทธิผล

ประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างไวน์กับการดึงดูดนักท่องเที่ยวเป็นเรื่องที่ยังไม่มีหลักฐานแน่นชัด การบริโภคไวน์ในประเทศมักจะจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้สูงและร้านอาหารต่างชาติที่มักดื่มไวน์ควบคู่กับอาหาร ราคาไวน์ที่ลดลงจะส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวเพิ่มขึ้นได้อย่างไรยังเป็นคำถามที่น่าสงสัย ในขณะที่ การลดภาษีสรรพสามิต และภาษีนำเข้าด้วยย่อมส่งผลให้ราคาไวน์ลดลง ผู้บริโภคซึ่งรวมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมีแนวโน้มจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้น

ในเชิงโครงสร้างของภาษี งานวิจัยที่ผ่านมาของคณะวิจัยที่ผมร่วมอยู่พบว่าไวน์นำเข้ามีค่าความยืดหยุ่นต่อราคาสูง การลดราคาไวน์จะส่งผลให้การบริโภคเพิ่มขึ้นมากกว่าโดยเปรียบเทียบกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่น ในขณะที่ไวน์เป็นสินค้าที่เป็นคู่แข่งกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผู้ผลิตรายย่อย เช่น สุราขาว สุราสี และเบียร์รายย่อย มีความพยายามที่จะผลิต ซึ่งการลดภาษีไวน์น่าจะขัดแย้งกับข้ออ้างของรัฐบาลที่จะส่งเสริมผู้ผลิตรายย่อยและชุมชน

กรณีของสุราชุมชนที่ทางกระทรวงการคลัง จะดำเนินการลดภาษีสรรพสามิตอาจจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างตลาด ซึ่งปัจจุบันสุราที่อนุญาตให้ชุมชนผลิตได้เป็นสุราขาว ถูกครอบงำตลาดโดยผู้ผลิตรายใหญ่ และเสียภาษีในอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทอื่น ในขณะที่รายใหญ่มีความสามารถในการลดราคาเพื่อกีดกันผู้ผลิตรายย่อยหน้าใหม่เข้าสู่ตลาด หากทางการต้องการเพิ่มผู้ประกอบประการรายย่อยควรดำเนินมาตรการอื่น

โดยสรุป ผมมีความเห็นว่าภาครัฐยังควรดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอันไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพ และสังคม เครื่องมือทางภาษีเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การปรับปรุงโครงสร้างภาษีควรดำเนินการอย่างรอบคอบ โครงสร้างภาษีควรจะมีลักษณะที่ง่าย และมีเป้าหมายเพื่อลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยไม่บิดเบือนพฤติกรรมการบริโภค มิใช่เพียงการประเมินปริมาณภาษีจะจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นหรือลดลง

News, ข่าวเด่น

รองผู้อำนวยการ ศวส. ห่วง เปิดผับตีสี่ ไม่ได้มีแค่อุบัติเหตุ แต่เพิ่มผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อบุคคลรอบข้าง จีัรัฐ!! ก่อนปีใหม่นี้ ต้องยืนยันได้ว่ามาตรการนี้ไม่เพิ่มอุบัติเหตุและมีความคุ้มค่า


รศ.ดร.นพ.พลเทพ วิจิตรคุณากร รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) กล่างถึงกรณีที่รัฐบาลกำลังจะดำเนินการนโยบายขยายเวลาเปิดสถานบริการถึง 04.00 น. ใน 5 พื้นที่นำร่อง ได้แก่ สถานบริการในท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดภูเก็ต จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ และท้องที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และตามกฎกระทรวงฉบับนี้จะขยายเวลาให้สถานบริการในทุกท้องที่ทั่วประเทศสามารถเปิดบริการในคืนส่งท้ายปีเก่า 31 ธันวาคม ไปจนถึงเวลา 06.00 น. ของวันปีใหม่ 1 มกราคม 2567 โดยตนเองเป็นห่วงว่านโยบายนี้อาจส่งผลให้เกิดผลกระทบเชิงลบตามมามากกว่าความคาดหวังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องอุบัติเหตุจราจรที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนในช่วงเวลาดังกล่าว และยังเพิ่มการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มเยาวชนอีกด้วย ซึ่งยังไม่เห็นมาตรการที่ชัดเจนในการควบคุมหรือจัดการกับผลกระทบเชิงลบ รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ และระบบเยียวยาหรือดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบ

รศ.ดร.นพ.พลเทพ กล่าวต่อว่า นอกจากการดื่มแล้วขับที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจราจรแล้วนั้น แอลกอฮอล์ยังมีฤทธิ์ทำให้ผู้ดื่มลดหรือขาดความยับยั้งชั่งใจ และการตัดสินใจบกพร่อง ที่อาจนำไปสู่การคุกคามทางเพศ โดยมีงานวิจัยชี้ชัดว่า บทบาทของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการล่วงละเมิดทางเพศมีความสำคัญมาก ประมาณ 50% ของการล่วงละเมิดทางเพศ กระทำโดยผู้ชายที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งไม่ว่าการคุกคามทางเพศจะเกิดขึ้นในระหว่างหรือหลังการดื่มหรือไม่ก็ตาม เหยื่อหรือผู้ถูกกระทำไม่ได้มีส่วนที่ทำให้เกิดการคุกคามทางเพศนี้ขึ้นมา แต่ผู้กระทำคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบการกระทำของตนเองทั้งทางกฎหมายและศีลธรรมจรรยา นอกจากนี้พฤติกรรมการดื่มสุรายังสัมพันธ์กับจำนวนและความรุนแรงในสังคม และเวลาในการให้บริการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานบันเทิงมีความเชื่อมโยงกับสถิติช่วงเวลาการเกิดอาชญากรรม เช่น การทำร้ายร่างกาย การทะเลาะวิวาท การทำลายข้าวของและทรัพย์สินสาธารณะ เป็นต้น ซึ่งการควบคุมเวลาในการขายและการให้บริการของสถาบันเทิงสามารถช่วยป้องกันและลดปัญหาอาชญากรรมลงได้ เพราะอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดเป็นปัญหาที่ป้องกันและควบคุมได้ ดังนั้น ก่อนปีใหม่นี้ รัฐต้องแสดงให้เห็นว่าหลังจากที่มีการขยายเวลาแล้ว อุบัติเหตุจราจรไม่เพิ่มขึ้น และมาตรการที่ดำเนินการอยู่มีความคุ้มค่า โดยหลังจากวันที่ 15 ธันวาคมนี้ไปจนถึงหลังปีใหม่ รัฐต้องติดตามประเมินผลของมาตรการเป็นระยะและนำเสนอผลที่เกิดขึ้นต่อสาธารณชน เพื่อช่วยในการปรับปรุงมาตรการให้เหมาะสมต่อการปกป้องสุขภาพและชีวิตของประชาชน โดยความเสี่ยงนี้ไม่ควรรอนาน

News, ข่าวเด่น

การดื่มแอลกอฮอล์ แม้ไม่ได้เมา แต่มีข้อมูลวิชาการชี้ชัด!! ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ทำให้การตัดสินใจบกพร่อง


จากกระแสข่าวของอดีตนักกีฬาชื่อดัง ถูกเยาวชนอายุ 17 ปี เข้าแจ้งความว่าถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนของข้อเท็จจริงจากการสืบสวน แต่ข้อมูลที่ทราบแน่ชัดแล้วนั้น คือ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีการดื่มแอลกอฮอล์จากสถานบันเทิงก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ตามที่เป็นข่าว

โดยจากการทบทวนเอกสารวิชาการในประเทศและต่างประเทศ มีข้อมูลที่ชี้ชัดว่า บทบาทของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการล่วงละเมิดทางเพศมีความสำคัญมาก แม้ว่าความรุนแรงทางเพศมักถูกจะประเมินต่ำไปเสมอ เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรายงาน แต่ประมาณร้อยละ 50 ของการล่วงละเมิดทางเพศที่ได้รับการรายงานนั้น กระทำโดยผู้ชายที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้ว่าผู้ชายก็อาจจะประสบกับความรุนแรงทางเพศที่เกี่ยวข้องกับการดื่มของผู้อื่นได้ด้วยก็ตาม แต่การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์นี้พบยากมาก ผู้ชายน้อยกว่าร้อยละ 5 รายงานว่า เคยถูกบังคับหรือกดดันทางเพศเนื่องจากการดื่มที่มีปัญหาของสมาชิกในครอบครัว

ซึ่งฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ทำให้ผู้ดื่มลดหรือขาดความยับยั้งชั่งใจ ผู้ชายบางคนจึงมักจะดื่มสุราเพื่อให้ตนเองรู้สึกว่า ได้ปลดปล่อยการควบคุมตนเอง มีอำนาจมากขึ้น ตื่นเต้นกระชุ่มกระชวย หรือท้าทายมากขึ้น หรือดื่มเพื่อย้อมใจตนเองให้มีความกล้ามากขึ้น กลุ่มเพื่อนก็อาจมีส่วนกดดันให้มีพฤติกรรมรุนแรงหลังการดื่มมากขึ้นด้วย ดังนั้น แอลกอฮอล์ทำให้การตัดสินใจบกพร่อง ผู้ที่ดื่มสุราจึงอาจจะคิดว่า เหยื่อที่อาจจะดื่มสุราอยู่ด้วยมีความต้องการทางเพศ หรือยินยอมต่อการกระทำทางเพศนั้นด้วย หรือมองว่าเสื้อผ้า ท่าทางของเหยื่อ แสดงว่าเหยื่อเองก็มีความต้องการทางเพศเช่นกัน จึงพยายามที่จะมีเพศสัมพันธ์กับเหยื่อโดยไม่ได้สนใจว่า เหยื่อนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม และหากเหยื่อของการคุกคามทางเพศเองก็ดื่มสุรา แอลกอฮอล์ทำให้การตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นบกพร่องไป อาจจะไม่ได้คิดว่า ตนเองอยู่ในภาวะที่กำลังจะถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศ และหากเหยื่ออยู่ในภาวะเมาสุราด้วย ก็ยิ่งทำให้ความสามารถในการต่อต้านขัดขืนการล่วงละเมิดทางเพศนั้นลดลง

ไม่ว่าการคุกคามทางเพศจะเกิดขึ้นในระหว่างหรือหลังการดื่มสุราหรือไม่ก็ตาม เหยื่อหรือผู้ถูกกระทำไม่ได้มีส่วนที่ทำให้เกิดการคุกคามทางเพศนี้ขึ้นมา มันไม่ใช่ความผิดของผู้ถูกกระทำ แต่ผู้กระทำคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบการกระทำของตนเองทั้งทางกฎหมายและศีลธรรมจรรยา จะเห็นได้ว่าจากข้อมูลที่กล่าวถึงข้างต้นมีความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ตอนนี้ และอดีตนักกีฬาคือผู้กระทำ ที่สังคมและผู้ถูกกระทำกำลังเรียกร้องให้ออกมารับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งทางกฎหมายและศีลธรรมจรรยา

___________
ที่มา
• อรทัย วลีวงศ์. (2562) ผลกระทบจากการดื่มสุราของผู้อื่น. ใน: สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, สมสมร ชิตตระการ. ข้อเท็จจริงและตัวเลข เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2561. สงขลา: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
https://metoomvmt.org/
• สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, คำนวณ อึ้งชูศักดิ์, บก. (2566). สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ฉบับภาษาไทย. สงขลา : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

News, ข่าวเด่น, สาระที่น่าสนใจ, สาระน่ารู้, สื่อเผยแพร่

เรื่องเหล้ากับหมอโภชนาการ “แอลกอฮอล์ดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่?”

“แอลกอฮอล์ไม่ได้ดีต่อสุขภาพไม่ว่าอายุเท่าไหร่
เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ก็ไม่มีอายุไหนที่ดื่มแอลกอฮอล์แล้วดีต่อสุขภาพ”
______

นพ.กิตติธัช แต้มแก้ว
อาจารย์ประจำหน่วยโภชนศาสตร์คลินิคและโรคอ้วน
สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Infographic, News, ข่าวเด่น, สื่อเผยแพร่

วันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีสากล

วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปีวันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีสากล

_________
งด ลด ดื่มแอลกอฮอล์ = ยุติความรุนแรง

“ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีสากลด้วยการไม่ดื่มแอลกอฮอล์”

นอกจากแอลกอฮอล์จะจัดเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งปี 2030 ในเป้าหมายที่ 3 สุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่แล้วนั้น ยังนับเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายที่ 16 สันติภาพและความยุติธรรม โดยเฉพาะในเป้าหมายที่ 16.1 ลดการใช้ความรุนแรง และการเสียชีวิตจากความรุนแรงทุกรูปแบบ และทุกหนแห่งอีกด้วย ซึ่งสามารถยืนยันได้จากงานวิจัย ดังนี้

  • จากข้อมูลโครงการสำรวจการได้รับผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้อื่นในประเทศไทย1 โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใหญ่ที่มีเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีอยู่ในความดูแล จำนวน 937 คน พบว่า ร้อยละ 24.6 เด็กที่ตนดูแลอยู่ได้รับผลกระทบจากการดื่มของคนอื่น โดยเป็นผลกระทบจากการถูกตีหรือทำร้ายร่างกายร้อยละ 1.7

  • จากการศึกษาลักษณะและผลกระทบของภัยเหล้ามือสองต่อสมาชิกครอบครัวในชนเผ่าลาหู่ในจังหวัดเชียงราย2 พบว่า ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,031 คน มีผู้หญิงและกลุ่มอายุน้อยกว่าและเท่ากับ 15 ปี เคยถูกลวนลามทางเพศร้อยละ 6.0 และร้อยละ 4.5 ตามลำดับ

  • ผลการศึกษาประสบการณ์ (ปัญหา) ของผู้หญิงจากผลกระทบจากการดื่มสุราของสมาชิกใน ครอบครัว3 พบว่า ผู้หญิงได้รับผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ การเงินของครอบครัว และผู้ดื่มสุรายังสร้างความรุนแรงต่อกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ ในบ้านทั้งเด็ก เยาวชน คนชราและผู้พิการ

  • ผลกระทบจากการดื่มสุราที่มีต่อเด็ก ร้อยละ 16 ของประเทศ เคยได้รับผลกระทบจากการดื่มสุราของคนรอบข้าง โดยปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ความรุนแรงในครอบครัวร้อยละ 7.5 ซึ่งความรุนแรงดังกล่าวประมาณร้อยละ 30 – 35 เกิดจากพ่อและแม่ของเด็กที่ดื่มสุราเอง และถ้าคนรอบข้างดื่มหนัก (Binge Drinking) หรือดื่มบ่อย (Regular Drinking) เด็กจะมีโอกาสเกิดผลกระทบเพิ่มสูงขึ้นถึง 4.8 และ 1.9 เท่า ตามลำดับ เมื่อเทียบกับการไม่มีคนรอบข้างดื่มสุรา4

  • จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสามีกับความรุนแรงจากคู่สมรสในผู้หญิงหลังคลอด จำนวน 1,207 คน ในโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย และจังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. 25665 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 4.7 เคยถูกสามีกระทำความรุนแรงขณะตั้งครรภ์ โดยร้อยละ 4.1 เคยถูกกระทำความรุนแรงทางวาจา ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด รองลงมาเป็นการถูกกระทำความรุนแรงทางร่างกายร้อยละ 1.1 และการถูกกระทำความรุนแรงทางเพศร้อยละ 0.9 โดยสามีที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นบางครั้งและดื่มหนัก และสามีที่ดื่มประจำและดื่มหนัก จะเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความรุนแรงต่อภรรยาที่ตั้งครรภ์ถึง 16.9 เท่า และ 12.8 เท่า ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสามีที่ไม่ดื่มเลย

จากข้อมูลข้างต้น สะท้อนให้เห็นผลกระทบในมิติของความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กและสตรีจากการดื่มแอลกอฮอล์ของบุคคลในครอบครัวและบุคคลรอบข้าง โดยแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์ที่ทำให้ผู้ดื่มขาดการยับยั่งชั่งใจ ควบคุมตัวเองไม่ได้ รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการทำร้ายร่างกายและการคุมคามทางเพศนั่นเอง ดังนั้น การงด ลด การดื่มแอลกอฮอล์ จึงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดและยุติความเสี่ยงในการเกิดความรุนแรงต่อคนที่คุณรัก ครอบครัว และสังคม

________
เอกสารอ้างอิง

[1] อรทัย วลีวงศ์ และคณะ. (2558). รายงานโครงการศึกษาวิจัย การศึกษาผลกระทบของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อบุคคลรอบข้างผู้ดื่ม ในประเทศไทย (ระยะที่ 1). ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

[2] ธวัชชัย อภิเดชกุล และคณะ. (2561). ลักษณะและผลกระทบของภัยเหล้ามือสองต่อสมาชิกครอบครัวในชนเผ่าลาหู่. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

[3] ไมซาเร๊าะ ขุนรักษ์ หมานระเด็น และคณะ. (2564). พื้นที่ชีวิตของผู้หญิง (Living Space of Women) : ประสบการณ์การเผชิญสถานการณ์ (ปัญหา) ของผู้หญิงกับบุคคลในครอบครัวที่ดื่มสุรา. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

[4] พลเทพ วิจิตรคุณากร และคณะ. (2564). การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อบุคคลรอบข้างผู้ดื่มในประเทศไทย. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

[5] ไพฑูรย์ สอนทน และคณะ. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสามีกับความรุนแรงจากคู่สมรสในผู้หญิงหลังคลอดในโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

News, ข่าวเด่น, สาระที่น่าสนใจ, สาระน่ารู้

ระบบการคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด


ท่านสามารถเข้าใช้งานระบบการคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดโดยการสแกนคิวอาร์โคด หรือเข้าใช้งานผ่านทางลิงก์ดังนี้
https://www.calconic.com/calculator-widgets/-version-1-1/654bca0be31ac90029ae4a3c?layouts=true

1 2 3 4 5 6 75 76
Privacy Settings
We use cookies to enhance your experience while using our website. If you are using our Services via a browser you can restrict, block or remove cookies through your web browser settings. We also use content and scripts from third parties that may use tracking technologies. You can selectively provide your consent below to allow such third party embeds. For complete information about the cookies we use, data we collect and how we process them, please check our Privacy Policy
Youtube
Consent to display content from - Youtube
Vimeo
Consent to display content from - Vimeo
Google Maps
Consent to display content from - Google
Spotify
Consent to display content from - Spotify
Sound Cloud
Consent to display content from - Sound

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors