Infographic, News, ข่าวเด่น, สื่อเผยแพร่

วันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีสากล

วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปีวันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีสากล

_________
งด ลด ดื่มแอลกอฮอล์ = ยุติความรุนแรง

“ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีสากลด้วยการไม่ดื่มแอลกอฮอล์”

นอกจากแอลกอฮอล์จะจัดเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งปี 2030 ในเป้าหมายที่ 3 สุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่แล้วนั้น ยังนับเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายที่ 16 สันติภาพและความยุติธรรม โดยเฉพาะในเป้าหมายที่ 16.1 ลดการใช้ความรุนแรง และการเสียชีวิตจากความรุนแรงทุกรูปแบบ และทุกหนแห่งอีกด้วย ซึ่งสามารถยืนยันได้จากงานวิจัย ดังนี้

  • จากข้อมูลโครงการสำรวจการได้รับผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้อื่นในประเทศไทย1 โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใหญ่ที่มีเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีอยู่ในความดูแล จำนวน 937 คน พบว่า ร้อยละ 24.6 เด็กที่ตนดูแลอยู่ได้รับผลกระทบจากการดื่มของคนอื่น โดยเป็นผลกระทบจากการถูกตีหรือทำร้ายร่างกายร้อยละ 1.7

  • จากการศึกษาลักษณะและผลกระทบของภัยเหล้ามือสองต่อสมาชิกครอบครัวในชนเผ่าลาหู่ในจังหวัดเชียงราย2 พบว่า ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,031 คน มีผู้หญิงและกลุ่มอายุน้อยกว่าและเท่ากับ 15 ปี เคยถูกลวนลามทางเพศร้อยละ 6.0 และร้อยละ 4.5 ตามลำดับ

  • ผลการศึกษาประสบการณ์ (ปัญหา) ของผู้หญิงจากผลกระทบจากการดื่มสุราของสมาชิกใน ครอบครัว3 พบว่า ผู้หญิงได้รับผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ การเงินของครอบครัว และผู้ดื่มสุรายังสร้างความรุนแรงต่อกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ ในบ้านทั้งเด็ก เยาวชน คนชราและผู้พิการ

  • ผลกระทบจากการดื่มสุราที่มีต่อเด็ก ร้อยละ 16 ของประเทศ เคยได้รับผลกระทบจากการดื่มสุราของคนรอบข้าง โดยปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ความรุนแรงในครอบครัวร้อยละ 7.5 ซึ่งความรุนแรงดังกล่าวประมาณร้อยละ 30 – 35 เกิดจากพ่อและแม่ของเด็กที่ดื่มสุราเอง และถ้าคนรอบข้างดื่มหนัก (Binge Drinking) หรือดื่มบ่อย (Regular Drinking) เด็กจะมีโอกาสเกิดผลกระทบเพิ่มสูงขึ้นถึง 4.8 และ 1.9 เท่า ตามลำดับ เมื่อเทียบกับการไม่มีคนรอบข้างดื่มสุรา4

  • จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสามีกับความรุนแรงจากคู่สมรสในผู้หญิงหลังคลอด จำนวน 1,207 คน ในโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย และจังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. 25665 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 4.7 เคยถูกสามีกระทำความรุนแรงขณะตั้งครรภ์ โดยร้อยละ 4.1 เคยถูกกระทำความรุนแรงทางวาจา ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด รองลงมาเป็นการถูกกระทำความรุนแรงทางร่างกายร้อยละ 1.1 และการถูกกระทำความรุนแรงทางเพศร้อยละ 0.9 โดยสามีที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นบางครั้งและดื่มหนัก และสามีที่ดื่มประจำและดื่มหนัก จะเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความรุนแรงต่อภรรยาที่ตั้งครรภ์ถึง 16.9 เท่า และ 12.8 เท่า ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสามีที่ไม่ดื่มเลย

จากข้อมูลข้างต้น สะท้อนให้เห็นผลกระทบในมิติของความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กและสตรีจากการดื่มแอลกอฮอล์ของบุคคลในครอบครัวและบุคคลรอบข้าง โดยแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์ที่ทำให้ผู้ดื่มขาดการยับยั่งชั่งใจ ควบคุมตัวเองไม่ได้ รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการทำร้ายร่างกายและการคุมคามทางเพศนั่นเอง ดังนั้น การงด ลด การดื่มแอลกอฮอล์ จึงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดและยุติความเสี่ยงในการเกิดความรุนแรงต่อคนที่คุณรัก ครอบครัว และสังคม

________
เอกสารอ้างอิง

[1] อรทัย วลีวงศ์ และคณะ. (2558). รายงานโครงการศึกษาวิจัย การศึกษาผลกระทบของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อบุคคลรอบข้างผู้ดื่ม ในประเทศไทย (ระยะที่ 1). ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

[2] ธวัชชัย อภิเดชกุล และคณะ. (2561). ลักษณะและผลกระทบของภัยเหล้ามือสองต่อสมาชิกครอบครัวในชนเผ่าลาหู่. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

[3] ไมซาเร๊าะ ขุนรักษ์ หมานระเด็น และคณะ. (2564). พื้นที่ชีวิตของผู้หญิง (Living Space of Women) : ประสบการณ์การเผชิญสถานการณ์ (ปัญหา) ของผู้หญิงกับบุคคลในครอบครัวที่ดื่มสุรา. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

[4] พลเทพ วิจิตรคุณากร และคณะ. (2564). การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อบุคคลรอบข้างผู้ดื่มในประเทศไทย. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

[5] ไพฑูรย์ สอนทน และคณะ. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสามีกับความรุนแรงจากคู่สมรสในผู้หญิงหลังคลอดในโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

News, ข่าวเด่น, สาระที่น่าสนใจ, สาระน่ารู้

ระบบการคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด


ท่านสามารถเข้าใช้งานระบบการคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดโดยการสแกนคิวอาร์โคด หรือเข้าใช้งานผ่านทางลิงก์ดังนี้
https://www.calconic.com/calculator-widgets/-version-1-1/654bca0be31ac90029ae4a3c?layouts=true

News, ข่าวเด่น

ชำแหละนโยบายขยายเวลาผับ-บาร์ เล็งกระตุ้นเศรษฐกิจมิติเดียว เมินสวัสดิภาพและความปลอดภัยของสาธารณชนส่วนรวม!!

ชำแหละนโยบายขยายเวลาผับ-บาร์ เล็งกระตุ้นเศรษฐกิจมิติเดียว เมินสวัสดิภาพและความปลอดภัยของสาธารณชนส่วนรวม!! นักวิชาการแนะรัฐ ประเมินความคุ้มค่ารอบด้าน พิจารณาทางเลือกอื่นที่ดีกว่า

จากการประชุม ครม. เมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบให้ขยายเวลาเปิดผับ-บาร์จากเวลา 02.00 น. ออกไปเป็นเวลา 04.00 น. โดยทางกระทรวงมหาดไทยวางแผนดําเนินการตามมาตรการเคร่งครัดในเรื่องการดูแลความสงบการจัดระเบียบสังคม การควบคุมการใช้อาวุธในสถานประกอบการต่าง ๆ ยังเป็นไปอย่างเข้มงวด รวมทั้งไม่ให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าไปใช้สถานบริการ นอกจากนี้กระทรวงมหาดไทยยังเป็นหน่วยงานหลักในการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับแนวทางการขยายเวลาการเปิดสถานบริการในพื้นที่ท่องเที่ยวในบางพื้นที่ เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยว รวมถึงเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ เล็งออกกฎกระทรวงอนุญาตเป็นรายพื้นที่ในพื้นที่ท่องเที่ยว พร้อมเสนอเข้าที่ประชุม ครม. และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ซึ่งเน้นย้ำพื้นที่ที่ขอมาต้องบริหารจัดการได้ และต้องปฎิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายแต่ในทางกลับกัน นักวิชาการมองว่านโยบายนี้ของรัฐยังขาดการเปรียบเทียบความคุ้มค่าอย่างแท้จริง

ผศ.ดร.สมัย โกรทินธาคม อาจารย์ประจําคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า หากลองเปิดเลนส์การมองเห็นให้กว้างและมองอย่างรอบด้านอีกครั้งการมุ่งเป้าในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการขยายเวลาเปิดผับ-บาร์ สถานบันเทิงก็ไม่ต่างกับการมองลูกเต๋าด้านเดียวเพราะรัฐบาลยังขาดการประเมินความคุ้มค่าให้รอบด้าน ซึ่งจากงานวิจัยของ ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ และคณะ ได้ประมาณมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจในปี 2566 โดยใช้ฐานจากตัวเลขค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจรวมทั้งหมดของไทยในปี 2564 เพื่อประมาณว่า ถ้ารัฐจะผ่อนปรนให้ขยายเวลาขายจนถึงเวลา 04.00 ในแหล่งท่องเที่ยวหลัก ซึ่งเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่กรุงเทพ พัทยา ภูเก็ต และเกาะสมุย มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ จะเพิ่มขึ้นไปอีก 260 ล้านบาทถึงแม้ว่าจะทําให้เพิ่มรายได้จากการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้นก็ตามแต่รายได้เหล่านี้ยังต้องหักค่าซื้อเครื่องดื่มมาบริการ ค่าจ้างพนักงาน ค่าสร้างและดูแลสถานที่ และการจ่ายภาษี ถ้าหักค่าใช้จ่ายข้างต้นนี้แล้ว จะเหลือรายได้สุทธิเป็นวงเงินไม่ถึงครึ่งของยอดขาย ที่จะตกแก่กลุ่มผู้ประกอบการ คนทํางานในสถานบันเทิง ผู้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนผลกระทบด้านลบจากการเจ็บป่วยและเสียชีวิตนั้น เกิดขึ้นแก่กลุ่มคนในวงกว้างต่อผู้ที่ดื่มและไม่ได้ดื่ม ซึ่งภาครัฐและสังคมเป็นผู้แบกรับภาระทั้งหมด นอกจากนี้ ผลการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยว 1,200 คน ในสถานที่ 4 แห่งข้างต้น นักท่องเที่ยว 84% ให้ความเห็นว่า การขยายเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในไทย ไม่ใช่เหตุผลสําคัญที่จะทําให้เขาตัดสินใจว่าจะมาเที่ยว หรือไม่มาเที่ยวเมืองไทยแต่อย่างใด จากผลการศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นว่า สังคมไทยพึงตระหนักถึงข้อเสนอให้มีการขยายเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีวัตถุประสงค์ต้องการเพิ่มรายได้จากด้านท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ เพียงมิติเดียว โดยยังไม่ได้ชั่งน้ำหนักถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัยของสาธารณชนส่วนรวมเลย ยิ่งไปกว่านั้น เรากลับจะต้องเพิ่มมาตรการที่เข้มงวด เพื่อป้องกันและเยียวยาปัญหาที่จะเกิดขึ้น และพิจารณาถึงทางเลือกอื่น ได้แก่

1) ถ้ารัฐต้องการลดปริมาณการดื่ม สามารถทําได้โดยการเพิ่มภาษีสรรพสามิต เพื่อลดปริมาณการดื่ม ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนด้านอุบัติเหตุและค่ารักษาพยาบาล และทําให้รัฐมีรายได้ภาษีเพิ่มมากขึ้น สําหรับนําไปบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดื่ม
2) ถ้ารัฐต้องการสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจยามค่ำคืน สามารถส่งเสริมด้วยกิจกรรมอื่น เช่น กิจกรรมศิลปวัฒนธรรม กีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ ดังตัวอย่างในมหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่กระตุ้นเศรษฐกิจยามค่ำคืน โดยสนับสนุนให้เปิดสถานที่แสดงงานศิลปะ พิพิธภัณฑ์ กิจกรรมการแสดงต่าง ๆโรงภาพยนตร์ โรงละคร ศูนย์การค้า และสวนสนุก ซึ่งสามารถสร้างรายได้แก่พื้นที่ท่องเที่ยวเป็นจํานวนมาก โดยมิได้พึ่งพารายได้จากการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
3) รัฐต้องสนับสนุนให้มีการตั้งด่าน เพื่อสุ่มตรวจลมหายใจของผู้ขับขี่ในเส้นทางต่าง ๆ เป็นประจํา พร้อมแจ้งให้ประชาชนทราบโดยทั่วกันว่า ผู้ขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ มีโอกาสจะถูกสุ่มตรวจได้เสมอ
4) รัฐต้องเพิ่มการกวดขันร้านค้าต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายเรื่องเวลาขาย การห้ามขายให้แก่ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และการขายเพิ่มเติมให้แก่ผู้ดื่ม ซึ่งมีอาการมึนเมาแล้ว
5) รัฐควรกําหนดให้สถานบันเทิง ผับ บาร์ ร้านอาหาร ที่เปิดบริการยามค่ำคืน ให้ความร่วมมือโดยหยุดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง ก่อนเวลาปิดบริการตามกฎหมาย เพื่อให้ลูกค้าได้มีเวลาพักดื่มเตรียมตัวเดินทางกลับ หรือ อาจจัดหาสถานที่และบริการใหลู้กค้าได้พัก เพื่อให้ทุเลาจากอาการมึนเมา ซึ่งจะช่วยลดปัญหาต่อสังคมได้อีกช่องทางหนึ่ง

ผศ.ดร.สมัย โกรทินธาคม กล่าว

News, ข่าวเด่น

เชิญชวนเข้าร่วมประกวดคลิปวิดีโอสั้นในกิจกรรม October Good Health Challenge


ขอเชิญชวนเหล่าคนหัวใจเพชรหรือบุคคลที่สนใจร่วมประกวดสร้างสรรค์วิดีโอสั้น ๆ ในแคมเปญ #OctoberGoodHealthChallenge #งดดื่มตลอดทั้งเดือน

ผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานได้ตรงใจผู้ชมและคณะกรรมการที่สุดจะได้รับประกาศนียบัตร พร้อม Gift Vouchers เป็นบัตรของขวัญโลตัส โดยจะมีทั้งหมด 4 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 3,000 บาท ซึ่งรางวัลจะแบ่งออกเป็น
1) รางวัลชนะเลิศ Best Popular Engagement (ผู้ที่มียอดไลก์และยอดแชร์สูงสุด) จะได้รับบัตรของขวัญโลตัส มูลค่า 1,000 บาท จำนวน 1 รางวัล
2) รางวัลชมเชย Best Popular Engagement จะได้รับบัตรของขวัญโลตัส มูลค่า 500 บาท จำนวน 2 รางวัล
3) รางวัลชนะเลิศ Best Presentation by Director จะได้รับบัตรของขวัญโลตัส มูลค่า 1,000 บาท จำนวน 1 รางวัล

***ท่านสามารถเข้าร่วมแคมเปญได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566 (สิ้นสุดการรับสมัครเวลา 20.00 น.) และจะประกาศผลในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 เวลา 20.00 น.

___

กฎกติกาการเข้าร่วมกิจกรรม
1) กดไลก์ และแชร์โพสต์กิจกรรมการประกวดชาเลนจ์ #OctoberGoodHealthChallenge
2) สร้างสรรค์คลิปวิดีโอสั้น ๆ เกี่ยวกับการแชร์เคล็ดลับในการลดการดื่ม/การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่ม
3) โพสต์คลิปวิดีโอลง Facebook หรือ Reels ของตัวเองพร้อมเปิดโพสต์เป็นสาธารณะ
4) ติดแฮชแท็ก #OctoberGoodHealthChallenge #งดดื่มตลอดทั้งเดือน
5) กดติดตามเพจเฟซบุ๊ก Centre for Alcohol Studies : CAS เพื่อติดตามผลการแข่งขัน

___

เกณฑ์การตัดสิน
1) รางวัล Best Popular engagement ยอดไลค์และยอดแชร์สูงสุด (โดยคิดคะแนนจากยอดไลก์และยอดแชร์ ยอด Like 1 ครั้ง จะคิดเป็น 1 คะแนน และยอดแชร์ 1 ครั้ง จะคิดเป็น 2 คะแนน) รวมทั้งหมดจำนวน 3 รางวัล โดยแบ่งเป็น รางวัลชนะเลิศ (ผู้ที่มียอดไลก์และยอดแชร์สูงสุด) จำนวน 1 รางวัล และรางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล
2) รางวัล Best Presentation by Director ตัดสินโดยกรรมการ (การตัดสินจะคำนึงถึงเนื้อหา โดยเนื้อหาต้องเกี่ยวข้องกับการลดการดื่ม/การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มสุรา รวมถึงคำนึงด้านความสร้างสรรค์และความสวยงาม)

***ทั้งนี้การตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

___

หมายเหตุ:
1) คลิปวิดีโอของท่านจะต้องเป็นไปตามกฎกติกาที่ตั้งไว้
2) ห้ามมิให้เนื้อหาวิดีโอเป็นไปในทางส่งเสริมหรือเชิญชวนให้ดื่ม และห้ามมิให้เห็นโลโก้สินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
3) ห้ามมิให้มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมหรือสื่อไปในทางลามกอนาจาร
4) การตัดสินรางวัลของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ซึ่งเงื่อนไขการตัดสินรางวัลเป็นไปตามที่ผู้จัดกำหนด
5) ขอสงวนสิทธิ์ในการนำคลิปวิดีโอของผู้ที่เข้าร่วมประกวดและผู้ที่ได้รับรางวัลไปใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมและนำไปเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น

___

#OctoberGoodHealthChallenge #งดดื่มตลอดทั้งเดือน

1 2 8 9 10 11 12 80 81
Privacy Settings
We use cookies to enhance your experience while using our website. If you are using our Services via a browser you can restrict, block or remove cookies through your web browser settings. We also use content and scripts from third parties that may use tracking technologies. You can selectively provide your consent below to allow such third party embeds. For complete information about the cookies we use, data we collect and how we process them, please check our Privacy Policy
Youtube
Consent to display content from - Youtube
Vimeo
Consent to display content from - Vimeo
Google Maps
Consent to display content from - Google
Spotify
Consent to display content from - Spotify
Sound Cloud
Consent to display content from - Sound

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors